ปรกโพธิ์เก้า นิยายน้ำเน่าปี๒๕๕๕

(1/9) > >>

tongn005:
ขอสวัสดีปีใหม่ทุกท่าน ต้องขออภัยสมาชิกทุกท่าน ที่ไม่ได้ลงกระทู้มาตั้งนาน เพราะยุ่งหลายอย่าง แต่ก็เข้ามาชมกระทู้ของท่านสมาชิกอยู่เรื่อยๆครับ

กระทู้แรกของปีใหม่ เริ่มต้นปี ๒๕๕๕นี้ จะมาเล่านิยายเรื่องปรกโพธิ์เก้าให้ฟัง ขอเรียกว่านิยายน้ำเน่าแล้วกัน เพราะละครน้ำเน่าฉายซ้ำกี่ครั้ง กี่สมัย ก็ยังมีคนชมเรื่อยๆ เรียกว่าขายได้ตลอด

ปัจจุบันปรกโพธิ์เก้ากลายเป็นพระเครื่ององค์ที่ใหญ่และแพงที่สุดในเมืองไทยไปแล้ว กลายเป็นพระของผู้มีอันจะกินไปแล้ว พระแท้ พระมาตรฐาน ราคาแพงก็มีคนกล้าเช่า เพราะปรกโพธิ์เก้า ครบสมบูรณ์ไปด้วย พุทธศิลป์ พุทธคุณและปริมาณ คือ ขนาดใหญ่ เนื้อหาคุ้มค่าดีครับ

ปรกโพธิ์เก้าที่แท้และเป็นมาตรฐาน ก็มีการเล่นหากันมาช้านานแล้ว ทั้งศิษย์ในพื้นที่และนอกพื้นที่ และก็มีเก๊มานานพร้อมกันด้วย

วันนี้ ลองฟังนิยายน้ำเน่าเรื่องปรกโพธิ์เก้าของผมกัน เริ่มกันด้วย การเลียนแบบคำถามที่เค้านิยมนำมาตั้งกันเพื่อให้เป็นประเด็นขึ้นมา
ปรกโพธิ์เก้า หลวงพ่อสร้างเมื่อไร
มีกี่บล็อก มีกี่พิมพ์
หลวงพ่อสร้างจำนวนอย่างละเท่าไร หยุดสร้างเมื่อไร
จุดตายดูตรงไหน ขนาดกว้างยาวเท่าไร พระหนาเท่าไร
หลวงพ่อผสมอะไรบ้าง ใช้น้ำมันอะไร..........
ไม่ต้องมีใครมาช่วยตอบนะครับ เพราะเห็นที่ทำกัน ถามแบบนี้ พอคนอื่นมาตอบ ตอนท้าย คนถามก็สรุปเองแบบคนรู้ ตกลงรู้หรือไม่รู้กันแน่ กับเรื่องปรกโพธิ์เก้านี่ ผมเองโดนกัดมานาน ตั้งแต่สมัยเวปนี้ แล้วก็ย้ายไปตามเวปต่างๆ คุยเรื่องหลวงพ่อกวยไป ด่าเวปนี้ไป พอได้พรรคพวกก็เล่นไม่หยุดเลย ผมเองก็ไม่เคยไปยุ่งกับเขาเลย ยังคิดอยู่ในใจว่า เราไปทำความเดือดร้อนอะไรให้ครอบครัวเขาหรือเปล่า หรือเขาจะเป็นเจ้ากรรมนายเวรของเรา......

เข้าเรื่องดีกว่า ข้อมูลทั้งหมดที่จะเขียนต่อไปนี้ ถือว่าเป็นประสบการณ์และการเรียนรู้ของผมเอง ไม่บังคับให้เชื่อ อ่านแล้วใช้วิจารณญาณ ท่านใดพบข้อผิดพลาด ก็ท้วงติงหรือแนะนำได้นะครับ

๑. ปรกโพธิ์เก้าสร้างเมื่อไหร่ จากข้อมูลคนเก่าๆ หลวงพ่อเริ่มสร้างเมือปี ๒๕๑๓ น่าจะเริ่มจาก หลังยันต์จม ไม่มี พ.ศ. จากนั้น ได้แก้ไข เพิ่มพ.ศ. จึงทำบล็อกหลังยันต์จม มีพ.ศ. และมีการทำเป็นหลังยันต์นูนมี พ.ศ. พัฒนามาเป็นหลังแม่ธรณีหลังผ้าถุงหยาบและผ้าถุงละเอียดตามลำดับ
๒.ปรกโพธิ์เก้ามีกี่บล็อก คำตอบคือ บล็อกหน้ามีบล็อกเดียว ด้านหลังมี ๕ บล็อก คือ ยันต์จมไม่มีพ.ศ.  ยันต์จมมีพ.ศ.   ยันต์นูนมีพ.ศ.  แม่ธรณีผ้าถุงหยาบ แม่ธรณีผ้าถุงละเอียด จริงแล้ว ไม่มีใครบอกได้แน่ชัดว่าบล็อกไหนมาก่อนหรือหลัง เพราะตอนหลวงพ่อทำพระ บางทีท่านก็ไม่ให้ทำบุญหมด หรือไม่แจกหมด ท่านก็เก็บเอาไว้ ท่านอยากแจกเมื่อใด ท่านก็ให้ พระเก่าๆของท่าน ท่านอาจเอามาแจกตอนปลายอายุท่านก็ได้
เรื่องบล็อกหน้าของปรกโพธิ์ ผมเองนั้นเก็บบูชาพระหลวงพ่อตามความสามารถ แม้จะไม่มีกำลังทรัพย์มากมาย แต่ก็เคยได้ปรกโพธิ์มาเกือบครบ ยกเว้น หลังแม่ธรณีลายผ้าถุงหยาบ ผมก็ใช้วิธีดู การพิจารณาพิมพ์ก็แบบเดียวกันหมด เพราะบล็อกหน้ามีบล็อกเดียว ใช้จุดพิจารณารวมๆแบบเดียวกัน

๓. หลวงพ่อสร้างพิมพ์ละกี่องค์ ไม่จำเป็นต้องรู้หรอกครับ ผมเองไม่เคยสนใจเลย ผมสนใจแต่ว่าพระแท้ เนื้อหาธรรมชาติ อายุความเก่าดี เท่านั้น ไม่มีใครรู้เห็นตอนท่านทำพระหรอกครับ ผมได้คุยกับคนเก่าๆ แก่ ได้แต่บอกว่า สมัยเป็นเด็กๆ หลวงพ่อให้ช่วยตำผงแค่นั้น ใครโดนตำผงให้หลวงพ่อ โชคดีจนน้ำตาไหล ตำผงครกเดียว ต้องตำตั้งแต่เช้าไปจนถึงหกโมงเย็น หลวงพ่อจะเวียนมาดู ท่านจะหยิบเนื้อพระและบอกว่า ยังใช้ไม่ได้ ก็ต้องตำต่อไป ตำจนผงเหนียวเป็นก้อนติดสากขึ้นมา พอใช้ได้ หลวงพ่อท่านก็จะอุ้มครกเข้ากุฏิไปเลย แล้วท่านก็กดพระของท่านเองคนเดียว คุณตาท่านนึงเล่าให้ผมฟังว่า สมัยก่อน หลวงพ่อทำปรกโพธิ์เสร็จ ท่านจะเอาให้ทำบุญองค์ละ ๓๐ บาท เนื้อพระที่เหลือจากการทำปรกโพธิ์ หลวงพ่อจะเอามากดทำพระพิมพ์ต่างๆไว้แจกก็มี ครั้งนึงคุณตาท่านนี้ เคยเดินผ่านกุฏิหลวงพ่อ หลวงพ่อท่านเรียกและโยนพระให้ทางหน้าต่างองค์นึง ท่านบอกว่า มีผงเหลือจากทำปรกโพธิ์ เลยกดพระไว้ เอาไว้ซิ กูให้มึง
การที่บอกว่าพิมพ์ไหนสร้างเท่าไร หาข้อมูลแท้จริงได้ยาก ไม่ใครรู้แน่ชัดหรอกว่า พระอยู่กับเซียนสายหลวงพ่อกวยกี่องค์ อยู่กับศิษย์รุ่นใหญ่ทางภาคเหนือกี่องค์ อยู่กับผู้มีฐานะท่านอื่นๆกี่องค์ กับบุคคลนอกวงการที่ไม่เปิดเผยตัวอีกเท่าไร แล้วก็ไม่รู้แน่ชัดอีกว่า แต่ละท่าน แต่ละคนมีพิมพ์อะไรบ้าง พิมพ์ละกี่องค์ ถ้าท่านจะหาพระแท้ ข้อมูลนี้ ไม่ต้องสนใจหรอกครับ

๔. ท่านหยุดสร้างปรกโพธิ์เมื่อไหร่ ก็ไม่จำเป็นต้องรู้หรอกครับ ที่แน่คือ ท่านทำของท่านจนท่านหยุดสร้างเอง พระมีบล็อกหลังตั้ง ๕ บล็อก ท่านคงไม่ทำครั้งเดียวหมด ท่านอาจทำพระจนถึงเวลาที่ท่านไม่สบาย ทำไม่ไหว จึงเลิกทำ อาจมีคนที่ได้ปรกโพธิ์ในยุคปลายอายุของท่าน เพราะอาจเป็นพระปรกโพธิ์ยุคปลายที่ท่านทำ หรือ เป็นพระที่ท่านทำไว้สมัยที่ท่านแข็งแรง แล้วเอามาแจกภายหลัง ก็เป็นได้ ตอนทำพระ ไม่มีใครเห็นท่านทำหรอกครับ

๕. หลวงพ่อใช้อะไรสร้างพระ คำตอบคือ ปรกโพธิ์เก้า ก็คือ พระผงน้ำมันนั่นเอง ส่วนผสมหลัก คือผงพุทธคุณ มวลสารต่างๆและน้ำมันตังอิ๊ว หลวงพ่อท่านไปมาทั่วแล้ว เหนือก็เคยขึ้น เชียงใหม่ พิษณุโลก กรุงเทพก็มาบ่อย ตลาดพยุหะก็ไปสั่งพระมาประจำ แค่น้ำมันตังอิ๊ว ท่านจะหาไม่ได้เชียวหรือ ผมว่าท่านคงไม่ขัดสนถึงขนาดเอาน้ำมันแปลกๆอะไรมาใส่พระท่านแน่ ยิ่งพระปรกโพธิ์เป็นของสูงด้วย

ปรกโพธิ์เก้ามีความหลากหลายเรื่องมวลสารและสี จะไปยึดติดเรื่องเนื้อพระไม่ได้ สำคัญเป็นพระผงน้ำมัน มวลสารผงต่างๆก็เหมือนกับพระผงน้ำมันทั่วไป แต่อาจมีความโดดเด่นเรื่องมวลสารพิเศษ ที่มีความสะดุดตาบ้างในองค์พระ คือ เกศา เศษพลอยและเศษตะไบ เช่นตะไบนาค ที่อาจมีอยู่ตามเนื้อพระในบางองค์ เรื่องสีก็มีความหลากหลายเช่นกัน องค์ที่แก่ผงก็ออกสีขาว แก่น้ำมันก็ออกสีพิกุลแบบน้ำตาลปี๊บ บางองค์ออกสีเขียวมอย บางองค์เขียวหินมีดโกน บางองค์สีชมพู บางองค์สีแดงแบบปูนกินหมาก ขึ้นอยู่กับมวลสารและสีที่ท่านผสมลงไป สรุป เนื้อและสีของปรกโพธิ์ ไม่ตายตัว ใครที่บอกให้ท่านเอากล้องส่องหาเม็ดเล็กๆในเนื้อพระนั้น ผมว่าอย่าไปเสียเวลากับสิ่งนี้เลย ดูพิมพ์พระให้เป็นก่อนนั้น สำคัญกว่ามากมาย

tongn005:
สังเกตเนื้อหาและสีของพระที่มีความแตกต่างกัน

tongn005:
๖. ขนาดของพระ เรื่องของความกว้าง ยาวและความหนาของพระ เรื่องนี้แหละทื่ผมจะมาเล่าให้ทุกท่านฟัง เชื่อไหม ผมดูปรกโพธิ์มา ผมไม่เคยดูขอบพระ ไม่เคยวัดขนาดพระเลย ไม่เคยเอาปรกโพธิ์มาวัดไม้บรรทัดดูทีละองค์ จำได้แต่ว่า ดูพิมพ์ ดูตำหนิ และสังเกตธรรมชาติของเนื้อพระ แล้วก็สรุปเลยว่าชอบหรือไม่ชอบ ที่บอกว่าชอบหรือไม่ชอบ เพราะเราว่าแท้เราก็ชอบ ในขณะที่คนอื่นอาจไม่ชอบและก็ดูไม่แท้ก็เป็นได้ เพราะผมเองก็ดูได้ แบบพอเอาตัวเองรอดได้ครับ

ที่สำคัญคือ พยายามจำพิมพ์ให้แม่น ตำหนิต่างๆมีไหม ผมดูพระ ไม่ต้องร้อยเต็มร้อย สิบเต็มสิบ ตำหนิบางจุด อาจติดชัดในบางองค์ และอาจติดไม่ชัดในพระบางองค์ ท่านลองคิดดู หลวงพ่อท่านใช้มือกด ใช้แรงท่านกดเอง น้ำหนักในการกด แต่ละครั้งจะเท่ากันหรือไม่ กดสิบครั้ง พระสิบองค์ติดชัดลึกเหมือนกันหรือไม่ ขนาดเหรียญ ใช้เครื่องปั๊มป์ ใช้แรงมหาศาล บางทียังติดไม่ชัด พิมพ์เขยื้อนก็ยังมี

วันนี้ผมจะมาอธิบายเรื่องขอบพระให้ท่านฟังกัน เชื่อไหม โพธิ์เก้าแท้ๆ มีพระหลายองค์ที่มีขอบไม่เท่ากัน ใครที่ยึดขอบพระเป็นจุดตาย ต้องหารอยตัด หาบาร์โค้ต ท่านจะทำยังไง ถ้าเจอปรกโพธิ์เลี่ยมทอง หรือเลี่ยมพลาสติก เจ้าของจะขาย แต่ไม่ให้แกะพระ ท่านกล้าเสี่ยงไหม หรือจะปล่อยให้พระหลุดมือไป เพราะท่านไม่เห็นขอบพระ ไม่ได้วัดขนาดพระที่แน่นอน เลยไม่มั่นใจ

ต่อไปนี้ เป็นภาพประกอบข้อมูลที่นำมาเป็นตัวอย่างให้ชมกันครับ

tongn005:
องค์ซ้าย หลังยันต์นูนมีพ.ศ. องค์กลางหลังแม่ธรณีผ้าถุงละเอียด องค์ขวาสุด หลังยันต์จมไม่มีพ.ศ. ทุกท่านจะเห็นว่า พระสามองค์มีบล็อกหลังแตกต่างกัน เนื้อหาสีสันก็แตกต่างกัน

สังเกตพื้นที่ของขอบล่างของพระ ตรงช่องสีเหลือง จะเห็นว่า ขอบพระไม่เท่ากันทั้งสามองค์
องค์พระ และซุ้ม มีขนาดเท่ากันทั้งสามองค์ สังเกตลูกศรยาวๆตามขวางสามอัน ที่มีความยาวเท่ากันเป็นตัววัด ในขณะที่พื้นที่ขอบพระถัดจากเส้นเหลืองไปทางขวามือ มีพื้นที่ไม่เท่ากัน ยิ่งองค์ขวาสีเขียว ยิ่งสูงไปทางขอบพระด้านบน ขอบพระยิ่งแคบลงกว่าองค์อื่น

tongn005:
สององค์นี้ ต่างเป็นพระแท้ แต่ขอบพระและความหนา ไม่เหมือนกัน น่าแปลกใจไหม

สังเกตซุ้มพระ องค์พระตามเเนวตั้ง อยู่ในระดับเดียวกัน คือ มีขนาดเท่ากัน

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป