ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน 12 พฤษภาคม 2024, 05:02:30 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: เชิญบูชาล็อกเก็ตหลวงพ่อกวย บรรจุมวลสารพิเศษ http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=8540.0

+  กระดานสนทนา วัดโฆสิตาราม (บ้านแค) จ.ชัยนาท
|-+  ทั่วไทย
| |-+  โชว์วัตถุมงคลเกจิอาจารย์ทั่วไทย
| | |-+  ปิดตาเนื้อตะกั่วเก่าของหลวงพ่อมีครับ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ปิดตาเนื้อตะกั่วเก่าของหลวงพ่อมีครับ  (อ่าน 6617 ครั้ง)
goodman
Full Member
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 126



« เมื่อ: 09 ธันวาคม 2007, 10:43:34 AM »

ขออนุญาติเจ้าของเก่าที่นำภาพมาโชว์ครับ ปิดตาหลวงพ่อมี วัดพระทรงครับ สายเพชรบุรี หลวงพ่อมีท่านเป็นเกจิที่เน้นทางด้านกรรมฐาน  พระองค์นี้สภาพนี้ เจ้าของเก่าเคยประกวดติดรางวัลชมเชยครับ มีประสบการณ์หรือเปล่าต้องถามคนในพื้นที่ดูเอาเองครับ ยิ้มกว้างๆ


* Pic_1950_1.jpg (132.3 KB, 880x528 - ดู 653 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
คางเครา
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,475



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2007, 11:10:24 AM »

ดูขลังดีครับ
บันทึกการเข้า

เขามีส่วนเลวบ้าง ข่างหัวเขา  จงเลือกเอาส่วนดี เขามีอยู่
เป็นประโยชน์ แก่โลกบ้าง ยังน่าดู  ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย
goodman
Full Member
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 126



« ตอบ #2 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2007, 08:46:46 PM »

ขอบคุณที่เข้าเยี่ยมชมครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
สำนักจันทร์
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,490


สำนักจันทร์ ๐ ๘ ๑ ๔ ๘ ๒ ๔ ๔ ๔ ๘


« ตอบ #3 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2007, 10:02:19 PM »

ครับดูขลังดี มีจารด้วย รอยจุ่มรักใช่ไหมครับ
บันทึกการเข้า

ศรัทธาในหลวงพ่อ กับ ศรัทธาในวัตถุมงคลหลวงพ่อ เหมือน หรือ ต่าง
goodman
Full Member
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 126



« ตอบ #4 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2007, 10:13:33 PM »

ครับดูขลังดี มีจารด้วย รอยจุ่มรักใช่ไหมครับ
ตัวผมเองยังไม่ได้ส่ององค์จริงเลยครับ พระองค์จริงอยู่ที่บ้านที่กรุงเทพครับ แต่ผมว่าน่าจะเป็นคราบไขสนิมครับ หรือไม่ก็อาจมีคราบรักด้วย แต่ไม่แน่ใจครับผม ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
sidwat
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,483


« ตอบ #5 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2007, 11:09:25 PM »

เข้ามาชมของดีครับ
บันทึกการเข้า
tew.2007
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,110



« ตอบ #6 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2007, 08:32:57 AM »

   ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ เข้ามาศึกษาครับ  ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
goodman
Full Member
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 126



« ตอบ #7 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2007, 02:28:22 PM »

ไครทราบประวัติท่านเพิ่มเติม เชิญร่วมให้ความรู้เพิ่มเติมด้วยครับ ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
tong25
Full Member
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 181


คิดถึงและอาลัย หลวงปู่แล วัดพระทรง


« ตอบ #8 เมื่อ: 11 ธันวาคม 2007, 03:46:46 PM »

ท่านอุปฌาย์ของหลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลักครับ เป็นเพื่อนกับหลวงพ่อแก้ว วัดปากทะเล 
บันทึกการเข้า
tong25
Full Member
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 181


คิดถึงและอาลัย หลวงปู่แล วัดพระทรง


« ตอบ #9 เมื่อ: 11 ธันวาคม 2007, 04:00:16 PM »

พระครูสุวรรณมุนี นามเดิมว่ามี เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ ที่บ้านไร่ทอง ตำบลหนองขนาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี โดยมบิดาชื่อนายมาก โยมมารดาชื่อนางบุญ เมื่ออายุได้ ๑๐ ขวบ ได้มาอยู่วัดพระทรงกับหลวงพ่อทั่ง เจ้าอาวาสวัดพระทรง แล้วบวชเล่าเรียนหนังสือขอมและไทย เมื่ออายุครบบวชอยู่ที่วัดพระทรง ท่านเป็น ผู้มีเมตตากรุณาแก่คนทั่วไป เคร่งขรึมพูดน้อยและมักน้อย แม้ท่านจะเป็นศิษย์หลวงพ่อทั่ง ซึ่งมีฝีมือทางช่างแต่ท่านกลับสนใจเรียนทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จนมีความเชี่ยวชาญในทางวิปัสสนาธุระเป็นที่เลื่องลือและเชื่อถือของคนทั่วไปว่าท่านสามารถหยั่งรู้ใจคนหรือเหตุการณืต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ท่านยังมีชื่อเสียงในด้านการรักษาโรคภัยอีกด้วย ผู้คนเชื่อถือว่าน้ำมนต์ของท่านมีความศักดิ์สิทธิ์สามารถขจัดโรคภัยต่าง ๆ ได้ จึงมีผู้คนมารดน้ำมนต์เพื่อรักษาโรคภัยที่วัดพระทรงกันทุกวัน
เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) มีศรัทธาในคุณธรรมของพระครูสุวรรณมุนีมาก จึงได้ให้ นักโทษตักน้ำมาใส่ตุ่มคอบัวปากกว้างวันละ ๖ - ๗ ตุ่ม ทุกวัน เพื่อทำน้ำมนต์รดคนเจ็บป่วย… ต่อมาสมัยพระยา สุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทียน บุนนาค) ได้ทำประปากังหันน้ำขึ้นต่อท่อน้ำจากแม่น้ำ ส่งน้ำเข้าไปยังเรือนจำ และต่อท่อแยกเข้าไปส่งน้ำในวัดพระทรง ถวายหลวงพ่อมี
พระครูสุวรรณมุนีได้ส่งเสริมการศึกษา วัดพระทรงหรือสำนักพระสุวรรณมุนี (หลวงพ่อมี) เป็นสถานศึกษาสอนให้มีความรู้อ่านเขียนได้ ซึ่งจัดว่าเป็นความรู้ชั้นสูงในสมัยนั้น นอกจากนี้ยังให้ศึกษาภาษาบาลีมูล กัจจายน์ด้วย ชาวเพชรบุรีจึงนิยมส่งลูกหลานมาเล่าเรียนที่นี่
ในด้านการพัฒนาวัด ท่านก็เอาใจใส่ทำนุบำรุงวัดพระทรงให้เจริญก้าวหน้า โดยก่อสร้างถาวรวัตถุในวัดเพิ่มขึ้นอีกจากสมัยหลวงพ่อทั่ง เป็นต้นว่า ก่อภูเขาสร้างมณฑปประดิษฐานพระบาทจำลอง ขุดสระโบกขรณี (ใน พ.ศ. ๒๔๔๕) ก่อกำแพงวัดด้านเหนือทำซุ้มประตูวัด สร้างศาลาการเปรียญ หอไตรทั้งหมดนี้สร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๕๒ นอกจากนี้เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ซึ่งนับถือหลวงพ่อมีเป็นพิเศษ ท่านเจ้าคุณได้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ เพื่อบรรจุอัฐิมารดาของท่านและลูกหลานสกุลบุนนาคในเพชรบุรี โดยสร้างขึ้นด้านหลังโบสถ์ แล้วสร้างหอระฆัง ๒ หลังขนาบข้างอยู่ทางมุมซ้าย-ขวาของโบสถ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ เมื่อเจ้าพระยา สุรพันธ์ฯ ล่วงลับแล้ว บุตรธิดาก็นำอัฐิของท่าน มาบรรจุอยู่ในเจดีย์นี้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรกที่เพชรบุรีเสมอ ได้เคยเสด็จมาเยี่ยมท่านถึงบนกุฏิ และต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครูสุวรรณมุนี พร้อมด้วยสัญญาบัตรพัดยศ เครื่องไทยทาน ได้แก่อาสนะ มีผ้าสักหลาดดำ ปักลายอักษร จ.ป.ร. ๑ ผืน คลุมอาสนะแก่ท่าน นอกจากนี้แล้วยังได้พระราชทานบรมสาทิศลักษณ์ (ภาพสีน้ำมัน) และพระไตรปิฎก นับเป็นเกียรติแก่วัดอย่างยิ่ง และแสดงถึงคุณธรรมของพระครูสุวรรณมุนี ที่เหมาะสมกับสมณศักดิ์นี้
แม้ว่าพระครูสุวรรณมุนีจะไม่เลื่องลือในเชิงฝีมือก็ตาม แต่ท่านก็ส่งเสริมและสนับสนุนงานช่าง จะเห็นได้จากการที่ท่านได้สร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ เพิ่มขึ้นดังที่กล่าวมาแล้วและพระภิกษุในวัดพระทรงเป็นช่างฝีมือที่มีชื่อเสียงหลายรูป เช่น พระอาจารย์เป้า ซึ่งเป็นช่างปั้น ช่างแกะสลักและช่างเขียน มีลูกศิษย์มากทั้งฆราวาสและพระภิกษุ กล่าวกันว่า ช่างแกะสลักในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นลูกศิษย์อาจารย์เป้าและครูหวน ตาลวันนา แม้แต่ขุนศรีวังยศ ก็เป็นช่างวัดพระทรง มีผลงานที่วัดนี้หลายชิ้น เช่น ธรรมาสน์หลังหนึ่งของวัดพระทรง เป็นฝีมือของอาจารย์เป้า และขุนศรีวังยศ ส่วนรูปภาพพระเวสสันดรชาดกที่ศาลาการเปรียญ เป็นฝีมือของอาจารย์เป้า เขียนเมื่อ ร.ศ. ๑๓๑
พระครูสุวรรณมุนี ได้พัฒนาวัดพระทรงจนเจริญรุ่งเรือง เป็นที่ศรัทธานิยมของชาวเพชรบุรี และเป็นที่พึ่งทั้งทางกายทางใจแก่ผู้เจ็บป่วยที่รักษาอาการเจ็บป่วยด้วยการรดน้ำมนต์ ผลงานทางด้านช่างฝีมือ ทั้งที่มีปรากฏในวัดและที่อื่น ๆ แม้จะเป็นฝือของพระภิกษุในวัดพระทรงก็ตามก็ถือว่าท่านมีส่วนในการส่งเสริมพระภิกษุที่เป็นช่างให้ผลิตผลงาน และได้สั่งสอนเผยแพร่วิชาช่างแก่ชาวเพชรบุรีได้สืบทอดต่อกันไป
คุณธรรมและผลงานของท่าน ทำให้ท่านได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์เป็น "พระครูสุวรรณมุนี" และได้รับความเคารพศรัทธาจากชาวเพชรบุรี ตั้งแต่เจ้าเมืองไปจนถึงชาวบ้านทั้งหลาย แม้เมื่อท่านถึงแก่มรณภาพ ศิษยานุศิษย์และผู้นับถือทั้งหลายต่างพากันรำลึกถึงคุณความดีของท่าน จึงได้ร่วมกันหล่อรูปของท่านด้วยทองสัมฤทธิ์ประดิษฐานอยู่ในศาลา ที่ประดับลวดลายปูนปั้นอย่างงดงาม อยู่ด้านหลังโบสถ์เพื่อไว้เคารพบูชา และในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ของทุกปีก็จะจัดปีระลึกถึงพระคุณท่าน พระครูสุวรรณมุนี ถึงแก่มรณภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ รวมอายุได้ ๖๗ ปี
บันทึกการเข้า
tong25
Full Member
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 181


คิดถึงและอาลัย หลวงปู่แล วัดพระทรง


« ตอบ #10 เมื่อ: 11 ธันวาคม 2007, 04:05:35 PM »

หลวงพ่อเปี่ยม นามเดิมชื่อ เปี่ยม นามสกุลถาวรนันท์ เมื่ออุปสมบทได้ฉายาว่า จันทโชโต เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดเกาะหลัก ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณธ

หลวงพ่อเปี่ยม เกิดที่บ้านนาห้วย ตำบลเมืองเก่า อำเภอปราณบุรี เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 7 ค่ำ ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 25 พฤษภาคม 2545 เวลา 1 ทุ่ม 19 นาที เป็นบุตรคนสุดท้องของนายแก้ว นางหนูลัภธ์ มีพี่ชายร่วมบิดาคนหนึ่งชื่อนายถนอม และมีน้องสาวต่างมารดาอีกคนหนึ่งชื่อ ละมุน เป็นภรรยาขุนสอนสุขกิจ หรือนายแพทย์ ส. อันตริกานนท์ บิดา มารดา มีอาชีพทำไร่ เมื่ออายุ 3 ขวบ บิดาได้ออกจากบ้านไปค้าขายต่างจังหวัด แล้วไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่อื่นไม่กลับบ้าน ท่านกับพี่ชายและมารดาได้ช่วยกันทำไร่ด้วยความเหนื่อยยาก อายุ 5 ขวบ มารดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับ พระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาสวัดนาห้วย เรียนหนังสือไทยและหนังสือขอม จนอ่านออกเขียนได้เล็กน้อย พออายุ 9 ขวบ ทางบ้านประสบอุบัติเหตุไฟไหม้บ้าน มารดาจึงกลับไปอยู่บ้านเดิม ที่บ้านสระแจง อำเภอหนองจอก จังหวัดเพชรบุรี ท่านได้ไปอยู่กับมารดา ส่วนพี่ชายคงอยู่ที่วัดนาห้วย เรียนหนังสือต่อไปตามเดิม ชีวิตท่านตอนนี้ตกระกำลำบากมาก

ต่อมาเมื่ออายุ 11 ปี ได้เรียนวิชาหมอน้ำมนต์กับหมอเขียว ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงในทางรดน้ำมนต์ และไล่ผี สามารถรดน้ำมนต์คนไข้แทนหมอเขียวผู้เป็นอาจารย์ได้เป็นอย่างดี สมัยนั้น การศึกษาต้องเรียนจากวัดหรืออาจารย์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียง หลวงพ่อเปี่ยมเป็นผู้ที่สนจเรียนวิชาการต่างๆ หลายแขนง เช่น วิชาปลูกสร้างบ้าน วิชาช่างเขียน วิชาช่างปั้น วิชาช่างหยวก และวิชาอ่านเขียนหนังสือ พยายามฝึกฝนอยู่เสมอจนมีความรู้ ความสามารถดีขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้เพราะหลวงพ่อมีความขยันหมั่นเพียร มานะบากบั่นต่อสู้โดยไม่คิดท้อถอย ซึ่งเป็นตัวอย่าง ๆดีควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง

เมื่ออายุครบปีบวช หลวงพ่อได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดลาด อำเภอเมืองเพชรบุรี พ.ศ. 2446 โดยพระครูสุวรรณมุณี วัดพระทรง เป็นพระอุปัชฌา พระปลัดบุญวัดชีประเสริฐ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ จำพรรษาอยู่ที่วัดลาด 5 ปี ระหว่างจำพรรษาได้ศึกษาภาษาบาลี บำเพ็ญสมณกิจด้วยความเคร่งครัด และได้ออกไปจำพรรษาที่วัดนาห้วย

วัดนาห้วยในขณะนั้น มีพระครูสุทธาจารคุณ (อ่ำ) เป็นเจ้าอาวาส ท่านเป็นกำลังสำคัญในการดูแลสร้างโบสถ์วัดนาห้วย จนสำเร็จ ปี พ.ศ. 2458 พระครูสุทธาจารคุณ (อ่ำ) เจ้าอาวาสย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะหลักและเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลวงพ่อเปี่ยมได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์ ให้ไปเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนาห้วย และได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.2459 ระหว่างที่อยู่วัดนาห้วย หลวงพ่อสนใจวิชาโหราศาสตร์ได้ไปศึกษาจากพระสุวรรณมุณี (ชิต)เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี และเริ่มมีชื่อเสียงทางโหราศาสตร์ตั้งแต่นั้นมา

หลวงพ่อเปี่ยม ปกครองพระภิกษุสามเณรภายในวัดด้วยคุณธรรม บูรณะและปฏิสังขรณืวัดปรับปรุงแก้ไขวางผังการสร้างเสนาสนะให้เป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยความสามารถจนปี พ.ศ.2462 ได้รับตราตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอปราณบุรี และอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ปีพ.ศ.2463 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสามัญสัญญบัตร นามว่าพรุครูธรรมโสภิต ในตำแหน่งเดิม หลวงพ่อมีความรุ่งเรืองในสมณเพศ ต่อมาเป็นลำดับ ปี พ.ศ. 2465 ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ปีพ.ศ. 2467 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูสุเมธีวรคุณ เจ้าคณะรอง (รองเจ้าคณะจังหวัด)

เมื่อพระครูสุทธาจารคุณ (อ่ำ) เจ้าอาวาสวัดเกาะหลัก มรณภาพ คณะสงฆ์ได้ย้ายท่านไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะหลักในปี พ.ศ. 2473 และต่อมาปี พ.ศ. 2474 ท่านได้รัยตำปหน่งให้เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปี พ.ศ. 2484 ได้รับพระราชขทานสมณศักดิ์เป็นพระครูเมธีวรคุณ นิบุญคีรีเขตต์ ชลประเวศสังฆวาหะดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และปี พ.ศ. 2484 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะมีราชทินนามว่า พระครูเมธีวรคุณบุณคีรีเขตต์ ชลประเวศสังฆปาโมกข์ในตำแหน่งเดิม

การเป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะหลัก และเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ของหลวงพ่อ ทำให้หลวงพ่อมีโอกาสแสดงออกซึ่งอัจฉริยภาพอย่างเต็มที่ ท่านได้นำความรู้ความสามารถมาใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ มากมาย งานสำคัญที่ท่านได้ทำคือการสร้างพระอุโบสถอันวิจิตรงดงามตระการตา การเปิดโรงเรียนนักธรรมและบาลี การสรางบ่อน้ำ และถังน้ำประปาสำหรับวัด และการปกครองคณะสงฆ์ด้วยคุณธรรม งานทะนุบำรุงและการก่อสร้างสังฆาราม หลวงพ่อเปี่ยมทำไว้มาก มิใช่ทำที่วัดเกาะหลักอย่างเดียว แต่ได้ทำในสถานที่อื่นด้วยเช่น

1. จัดแผนผังวัดเมืองเก่า อำเภอปราณบุรี โดยยกย้ายอุโบสถ และกุฏิ 4 หลังให้เข้ารูปตามแผนผังของวัด เมื่อ พ.ศ.2459

2. สร้างกำแพงแก้วรอบอุโบสถวัดนาห้วย ปูพื้นอุโบสถ สร้างซุ้มพะทธสีมา 8 องค์ แทนของเก่าที่ชำรุด ยกช่อฟ้าอุโบสถ และสรางเสนาสนะอื่นๆ

3.ร่วมกับหมื่นถาวรแพทย์ (เงิน ถาวรนันท์) สถาปนาวัดวังยาว อำเภอกุยบุรี พร้อมทั้งเสนาเสนาะ เมื่อปี พ.ศ.2465

4.จัดแผนผังวัดคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ และสร้างอุโสถ (ปี พ.ศ.2460)

5. สร้างอุโบสถวัดพุ อำเภอปราณบุรี และพระประธาน

6. ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาอุโบสถวัดนาล้อม อำเภอทับสะแก

7. จัดแผนวัดทุ่งประดู่ อำเภอทับสะแก โดยยกย้ายอุโบสถให้เป็นไปตามแผนผัง

หลวงพ่อเปี่ยมนอกจากจะเป็นนักก่อสร้างแล้ว ยังมีความรู้ ความสามารถพิเศษอย่างหึ่ง คือ ความรู้ทางโหราศาสตร์ ดังที่กล่าวข้างต้น หลวงพ่อเปี่ยมเป็นโหราศาสตร์ผู้มีนามอุโฆษในยุคนั้น และความสามารถทางโหราศาสตร์ของหลวงพ่อ ทำให้วัดเจริญรุ่งเรืองเพรนาะเมื่อมีผู้เคารพนับถือเลื่อมใสหลวงพ่อมากมายเพียงใด ก็เป็นประโยชน์ต่อวัดมากเท่านั้น และประชาชนเองก็ได้รับประโยชน์จากหลวงพ่อด้านสุขภาพจิต คือ ช่วยแก้ปัญหาความข้องใจ คือความวุ่นวายทางอารมณ์ได้เป็นอันมาก ความแม่นยำในการพยากรณ์ของหลวงพ่อเปี่ยม เป็นที่ประจักษ์จนเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่วถ้าพูดถึงหลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก ใครๆ ต้องรู้จักหลวงพ่อในฐานะเป็นโหรสำคัญ ตัวอย่าง ความแม่นในการพยากรณ์ของหลวงพ่อตามคำบอกเล่าของลูกศิษย์ที่มีชีวิตอยู่

หลวงพ่อมีหลักธรรมในการทำงานให้เกิดผลสำเร็จ 4 ข้อ คือ

1.จงทำใจให้รักใคร่ในงานที่ทำให้จริงให้ยิ่งที่สุด

2.จงพยายามพากเพียร บากบั่นให้กล้าแข็ง

3.จงใช้ความดำริติตรอง พินิจพิจารณา ในการงาน พอนึกให้มองเห็น

4.อย่าย่อท้อต่ออุปสรรคซึ่งมาปรากฏอยู่เฉพาะหน้า
หลวงพ่อเปี่ยมมรณภาพเมื่อ พ.ศ.2492 สิริรวมอายุได้ 66 ปี ด้วยโรคลำไส้พิการมีการพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อเปี่ยม ณ วัดเกาะหลัก เมื่อ พ.ศ.2506



--------------------------------------------------------------------------------
(ที่มา : สุรินทร์ บัวงาม."บันทึกตำนานเมืองปราณบุรี."ประจวบคีรีขันธ์, สภาวัฒนธรรมอำเภอปราณบุรี, 2544. หน้า 59-62)
บันทึกการเข้า
goodman
Full Member
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 126



« ตอบ #11 เมื่อ: 11 ธันวาคม 2007, 10:18:10 PM »

 ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.10 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!