กระดานสนทนา วัดโฆสิตาราม (บ้านแค) จ.ชัยนาท

ทั่วไทย => พระเกจิอาจารย์จังหวัดชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี => ข้อความที่เริ่มโดย: tongn005 ที่ 02 กันยายน 2009, 03:40:40 PM



หัวข้อ: พระพิมพ์ซุ้มกอ
เริ่มหัวข้อโดย: tongn005 ที่ 02 กันยายน 2009, 03:40:40 PM
หลวงพ่อฟุ้ง ได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นหลายพิมพ์ทรงไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 คือเมื่อ 24 ปีก่อน โดยทั้งหมดได้จัดพิมพ์กันเองภายในวัดสะเดา ซึ่งมีท่านและพระเณรในวัดเป็นผู้ดำเนินการ สำหรับมวลสารต่างๆ ที่ท่านได้นำผสมผสานในการสร้าง ก็ล้วนแต่ทรงคุณวิเศษอเนกอนันต์ อาทิ ผงอิทธิเจ, ผงมหาราช, ผลตรีนิสิงเห, ผงปถมังและผงจินดามณี ที่ท่านได้เขียนและลบเอง นอกจากนี้ยังมีว่าน 108 ชนิด, น้ำพุทธมนต์ 108 วัด, น้ำมันมนต์มหาเสน่ห์ตามตำราคัมภีร์ดำ, ดินสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ, ดิน 7 ป่าช้า, ขี้เถาอังคารของผู้ตายวันเสาร์เผาวันอังคาร ตลอดจนแร่ธาตุต่างๆ อีกมากมาย
   เมื่อการจัดสร้างแล้วเสร็จ ท่านก็ได้ทำพิธีปลุกเสกเคลือบทับอีกเป็นเวลานานปี จึงได้นำมาแจกจ่ายแก่สาธุชนทั่วไป และด้วยอำนาจพุทธคุณอันเข้มขลังที่ท่านได้บรรจุไว้ในวัตถุมงคลอย่างเต็มเปี่ยม ทำให้ผู้ที่มีไว้บูชาสักการะต่างก็ประสบกับอิทธิปาฏิหาริย์ในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะในด้านความเป็นเสน่ห์เมตตามหานิยม และลาภผลเพิ่มพูนนั้น เด่นล้ำจนมีผู้เลื่องลือกันกว้างไกล ทำให้มีผู้เดินทางมาขอรับวัตถุมงคลกันมากขึ้นตามลำดับจวบจนท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อปี 2515




พิมพ์ซุ้มกอดินและว่าน
   พระซุ้มกอ เป็นพระกรุเมืองกำแพงเพชรที่ถูกจัดอยู่ในพระยอดนิยมชุดเบญจภาคี เพราะมีอภินิหารสามารถบันดาลโชคลาภและประสบความสำเร็จในสัมมาอาชีพได้ หลวงพ่อฟุ้งท่านสร้างพระซุ้มกอเอาไว้เหมือนกัน โดยสร้างด้วยเนื้อดินเผาแบบหนึ่ง และแบบเนื้อว่านแบบหนึ่ง พระทั้งสองเนื้อนี้เป็นแม่พิมพ์ตัวเดียวกันหลังจะเรียบไม่มีอักขระใดๆ เหมือนกัน ส่วนด้านหน้านั้นรูปพรรณพิมพ์ทรงแกะล้อศิลปะเดิมของพระซุ้มกอกำแพง เพียงแต่ศิลปะสกุลช่างเทียบกันไม่ได้ แต่การวางรายละเอียดต่าง ๆ เหมือนกันไม่ได้ แต่การวางรายละเอียดต่าง ๆ เหมือนกันหมด คือ องค์พระนั่งขัดสมาธิราบ ปรากฏกำไลข้อเท้า มีรัศมีและกนกด้านข้างเหมือนของกรุจะแตกต่างกันตรงที่ของหลวงพ่อฟุ้งองค์พระเขื่องกว่าพิมพ์ใหญ่ของกรุเก่านิดหน่อย ด้านเนื้อหาองค์ล่าง-บนซ้ายมือเป็นเนื้อว่าน ภาพพระอาจจะออกมาไม่คมชัดนัก เพราะทดลองถ่ายกันเอง เนื้อดินนั้นเป็นดินเผาแบบค่อนข้างละเอียดปรากฏแก้วแกลบบ้างเล็กน้อย วรรณะพระส่วนใหญ่จะออกเป็นสีอิฐ ไม่ค่อยปรากฏแร่กรวดทราย(พระเนื้อดินของหลวงพ่อฟุ้งไม่ใช่ดินล้วนผสมผงพุทธคุณด้วย) ส่วนเนื้อว่านก็ผสมผงพุทธคุณ แต่แก่ว่านลักษณะของเนื้อว่านค่อนข้างตำละเอียด ว่านเกาะตัวกันดี แต่ความสวยงามจะด้อยกว่าเนื้อแก่ดิน รูปพรรณพิมพ์ทรงและรายละเอียดต่าง ๆ เหมือนกันหมด เพราะใช้แม่พิมพ์ตัวเดียวกัน