ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน 27 เมษายน 2024, 01:54:26 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: การบริจาคเงินเข้าวัดโฆสิตาราม (สำคัญโปรดอ่าน) http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=204.0

+  กระดานสนทนา วัดโฆสิตาราม (บ้านแค) จ.ชัยนาท
|-+  ทั่วไทย
| |-+  พระเกจิอาจารย์จังหวัดชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี
| | |-+  ประวัติหลวงพ่อพิมพ์
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติหลวงพ่อพิมพ์  (อ่าน 17076 ครั้ง)
tongn005
Administrator
Hero Member
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,222


singhakhakha@hotmail.com


« เมื่อ: 23 มกราคม 2010, 05:10:04 PM »

ประวัติวัดสนามชัย
เรื่องราววัดสนามชัยในครั้งก่อน  คนเก่าเล่าไว้ไม่แน่นอน  จะตัดตอนเสริมต่อพอเข้าใจ
วัดสนามชัยเป็นวัดเก่าแก่พอสมควรมีพระนอน  ปางไสยาสน์  เก่าแก่อยู่กลางแจ้ง 1  องค์  ไม่มีมณฑปครอบ คำว่า  สนามชัย  คงหมายถึง  สนามแข่งขันในสมัยก่อนนานมาแล้ว วัดสนามชัย  ยังมีอีกวัดหนึ่ง  เป็นวัดที่  สุรพล  สมบัติเจริญนำไปร้องเพลง  วัดสนามชัยนี้อยู่ห่างที่วัดหลวงพ่อกวย ประมาณ  5  กิโลเมตร  ปัจจุบันรอบๆ  วัด  ชาวบ้านจะมีอาชีพทำนาและทำสวนส้มขาวแตงกวา  ที่มีรสหวานยิ่งนัก  สรุปคือไม่ได้ที่มาที่ไปที่แน่นอนจากคนเก่าเลย  ประกอบกับในสมัยของท่าน  ในสรรคบุรีมีเกจีอาจารย์ถึง  2  รูป  คือ  หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ  กับหลวงพ่อกวย  ซึ่งเปรียบเสมือนอาจารย์องค์หนึ่งของท่าน  ท่านจึงไม่จำเป็นต้องสร้างวัตถุมงคลอะไรขึ้นมาเพื่อความดังหรือเพื่อลาภสักการะ  สมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดวิหารทอง  ครั้งใดที่ท่านดำริก่อสร้างอะไรท่านจะจุดธูปบอกเล่า  หลวงพ่อโต  วัดวิหารทอง  เจ้าอาวาสองค์ก่อน  แม้ในใบบอกบุญทอดผ้าป่าท่านก็ให้หลวงพ่อโตเป็นประธาน  ท่านสามารถสร้างเมรุ, สะพานแขวน  โดยให้หลวงพ่อโตเป็นประธาน  และหลวงพ่อโตก็เป็นจริงมรณภาพไปแล้ว  ยังสามารถดลจิตคลใจคนให้นำผ้าป่ามาทอดโดยไม่บอกมาก่อน  ทั้งเมรุและสะพานแขวนข้ามแม่น้ำน้อย  ทำได้สำเร็จ



   ประวัติหลวงพ่อพิมพ์
ท่านเกิดที่บ้านวังขรณ์   ต.โพธิ์ชนไก่  อ.บางระจัน  จ.สิงห์บุรี      เมื่อวันศุกร์  ขึ้น  15  ค่ำ  เดือน  7   ปีเถาะ ตรงกับวันที่  15  มิถุนายน  2458  เป็นบุตรของ  พ่อขวัญ-แม่พัว  อินทอง    ที่บ้านวังขรณ์นี้อยู่ไม่ไกลจากวัดสนามชัย  แต่อยู่คนละฝั่งแม่น้ำ  ชีวิตวัยเรียนจบชั้นประถม  4  ซึ่งถือว่าสมบูรณ์และสูงสุดแล้ว ในวัยหนุ่มท่านเป็นคนใจร้อน  พูดน้อย  ไม่เกรงกลัวผู้ใด  รูปร่างล่ำป้อม  ผิวสีค้อนข้างดำ  แข็งแรง  ทำจริงชอบยิงกระสุน  (คล้ายธนู)  และเรียนกระบี่กระบองจนจบ    พูดจริง     ทำจริง    และไม่เคยข้องแวะกับสตรีเพศเลย    จนกระทั่งบวช    มีชื่อเล่นว่า  นายพลุ เพราะเป็นคนจริง  ลงถ้าโมโหแล้วจะไม่เกรงกลัวผู้ใดเลย  นายพิมพ์ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์  ณ  พัทธสีมาวัดโพธิ์หอม  ต. เชิงกลัด   อ. บางระจัน   จ. สิงบุรี   เมื่อวันที่  15  เมษายน   2479  โดยมีท่านพระครูศรีวิริยะโสภิต  (หลวงพ่อสี)    วัดพระปรางค์     เป็นพระอุปัชฌาย์     มีอาจารย์พัน    เป็นพระกรรมวาจาจารย์และมหากราด   เป็นพระอนุสาวนาจารย์    เป็นพระภิกษุสงฆ์  เวลา  15.00  น.    ได้รับฉายาว่า     สุวณ۪โณและได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์
หอม  1  พรรษา  เพื่อหัด

   ศึกษาวิชาอาคม
หลังจากพรรษาที่  1  ผ่านไป  ท่ามเริ่มที่จะศึกษาวิชาอาคมวิปัสสนากรรมฐาน  โดยไม่ทิ้งเวลาให้สูญเปล่า  ท่านได้เดินทางมาเรียนวิชากับหลวงพ่อกวย    วัดบ้านแค    เพราะท่านเคยเป็นลูกศิษย์หาบสำรับให้หลวงพ่อกวย    ตอนที่หลวงพ่อกวยไปเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิมถึง    7  ปี   (แต่พักจำพรรษาที่วัดบางตาหงาย)     เมื่อพระพิมพ์แจ้งความจำนงว่าจะขอเรียนวิปัสสนาและวิชาอาคม    หลวงพ่อกวยได้ตอบปฏิเสธ     โดยบอกว่าให้ไปเรียนกับอาจารย์ของท่านโดยตรงเลยคือ   หลวงพ่อสีวัดพระปรางค์   หลวงพ่อสีองค์นี้แก่กล้าอาคมยิ่งนัก   สร้างเหรียญไว้  1  รุ่น   ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์  เต็มองค์  สวยงามยิ่งนักสนนราคาแพง  มีลูกศิษย์หลายองค์ล้วนแต่แก่กล้าอาคม   เช่น   หลวงพ่อบัว  วัดแสวงหา    อาจารย์ดำรง    วัดเขาขึ้น    หลวงพ่อฟุ้ง     หลวงพ่อเฟื่อง    วัดแหลมคาง     หลวงพ่อหร่ำ   วัดวังจิก  หลวงพ่อทอง  วัดพระปรางค์   ที่โด่งดังทะลุฟ้า   คือ   หลวงพ่อแพ   วัดพิกุลทอง   และที่เก่งและรักลูกศิษย์เหมือนหลวงพ่อรักลูก  ก็หลวงพ่อกวย  วัดบ้านแค  (ติดอันดับ  1  ใน 9 ยอดเกจิอาจารย์รัตนโกสินทร์ยุค  4)  ขอเงินหมื่นให้เงินหมื่น  ขอเงินแสนให้เงินแสน  ขอเงินล้านให้เงินล้าน  ฯลฯ   อันตัวท่านหลวงพ่อสีนี้  สร้างโบสถ์โดยไม่ได้เรื่อไรใคร   ท่านสามารถเรียกทรัพย์แผ่นดินได้   เป็นเหรียญเงินเก่าสมัย   ร.5,  ร.6   โดยไปตักเอาในบ่อเล็กๆ   ในวันฌาปนกิจศพท่าน     ดาวได้ขึ้นเวลากลางวันซึ่งอัศจรรย์มาก   

  หลังจากที่หลวงพ่อพิมพ์ได้ศึกษาอาคมจากหลวงพ่อสีระยะหนึ่ง   ท่านก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ   ได้พักอยู่วัดปากน้ำภาษีเจริญแต่ท่านไม่ได้เรียนวิชาธรรมกาย  คงยึดมั่นในการปฏิบัติตามแนวของหลวงพ่อสีอยู่เหมือนเดิม    ท่านมาอยู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ  8  ปี    ท่านได้เรียนทางปฏิบัติ    คือ  นักธรรมตรี,  โท   และเอก    แล้วท่านก็กลับมาวัดสนามชัย       การกลับมาครั้งนี้ของท่านปรากฏว่าหลวงพ่อพ่อสี  วัดพระปรางค์   องค์อาจารย์ได้มรณภาพแล้ว  การกลับมาครั้งนี้ท่านได้ปฏิบัติทางจิตอย่างจริงจัง    หลังจากฉันเช้าแล้ว    ท่านก็เข้าไปนั่งสมาธิในป่าช้า   จนมืดค่ำดึกดื่น   จะว่าท่านเรียนวิปัสสนากรรมฐานได้ช้า   ไม่เหมือนศิษย์พี่  คือ  หลวงพ่อกวย  ก็ไม่เชิง  เพราะหลวงพ่อกวยมีหลักฐานว่าเรียนวิปัสสนากรรมฐานเพียงปีเดียวสำเร็จ  โดยพักที่วัดหนองตาแก้ว   ได้ขุดสระศักดิ์สิทธิ์เอาไว้และปลูกต้นสมอเอาไว้    ใครอาบน้ำในสระโดยไม่ตัดไปอาบจะเป็นขี้กลาก  ใครปัสสาวะที่ต้นสมอจะชักดิ้นชักงอ  แต่หลวงปู่พิมพ์ท่านกลับฝึกทางจิต  โดยนั่งสมาธิถ้ามีเวลาว่าง  ท่านปฏิบัติทางจิตจนกระทั่งบั้นปลายของชีวิต   ในบั้นปลายของชีวิตของท่าน  ท่านก็คงแข็งแรง  ไม่กินหยุบกินยา  ล่ำป้อมดำเหมือนเดิม    ถามผมว่า  หลวงพ่อกวยสอนมึงอย่างนั้นหรือ  ผมบอกว่าเปล่า  แต่คาถาของหลวงพ่อกวยกล่าวไว้ว่า  พุทโธ  คือลมหายใจเข้า -ออกของพระพุทธเจ้า  แล้วท่านก็ถามผมต่อ  แล้วใครสอนมึง  ผมตอบว่า  อาจารย์ชา  วัดหนองป่า

   เป็นอุปัชฌาย์
หลวงปู่พิมพ์  ท่านไม่สนใจลาภยศ  ชอบสงบ  ชอบปฏิบัติทางจิต  แต่พอพรรษาที่  9  ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระปลัด  พอพรรษาที่  10  ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นอุปัชฌาย์  ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ  ชื่อ  พระครูสรรคภารวิชิตโดยได้รับคำสั่งจากเจ้าคณะภาคกรุงเทพฯ  ท่านถึงกลับนิ่งอึ้งไป  เพราะท่านไม่ได้ยินดีในลาภยศตำแหน่งใดๆ  การได้มาซึ่งตำแหน่งยิ่งทำให้ท่านทำตัวสมถะ  และเพื่อเห็นแก่ศาสนาท่านจึงรับไว้   ท่านปกครองพระภิกษุสงฆ์ในอำเภอสรรคบุรีอย่างจริงจัง  ถ้าท่านได้ยินข่าวว่าพระภิกษุยุ่งเกี่ยวกับสีกา  ท่านจะเรียกมาพบ  โดยมากพระภิกษุที่มีเรื่องแบบนี้ท่านมักจะมีสตางค์  ท่านจะเอาปัจจัยข้าวของมาถวายท่านมากมาย  แต่ท่านหลับพูดว่า  ท่านเอาของของท่านกลับไปซะ  แล้วไปหาที่อยู่ไกลๆ  ให้พ้นจากเขตปกครองของจ้า  ไม่อย่างนั้นจะหาว่าข้าไม่ดีไม่ได้นะ  รีบๆ  ไปซะไปให้ไวๆ  ไปให้ไกลๆ  ด้วย  เนื่องจากตบะแล้วความแกกล้าอาคม  ความสันโดษ  ความไม่เกรงกลัวใครนี่เอง  ลูกศิษย์ที่ท่านได้บวชให้ไปได้อนุญาตท่านเปลี่ยนนามสกุล  จากนามสกุลเดิม  “สรรคภารวิชิต”  ได้ขอเปลี่ยนหลายคน

   ของคู่บุญ
หลวงพ่อพิมพ์  ท่านชอบปฏิบัติทางจิต  แต่ไม่ชอบเรียนวิชา  แม้ศิษย์พี่คือหลวงพ่อกวย  จะอยู่ไม่ไกล  (ตอนที่ท่านเป็นอุปัชฌาย์  ท่านต้องไปจำพรรษาอยู่วัดวิหารทอง  ซึ่งอยู่ติดที่ว่าการอำเภอ)  แต่มีสิ่งหนึ่งที่ท่านชอบคือคันกระสุน(คล้ายธนู)  ใช้ลูกดินยิง  คือ  ท่านเคยเรียนกระบี่กระบองมาก่อน  ท่านได้สั่งศิษย์หาไม่ไผ่ป่าที่ล้มอยู่มีโขลงช้างข้ามและมีผีตายทับ  ถ้าได้ช่วยทำให้ท่านสัก  1  อัน  อยู่ต่อมาลูกศิษย์ของท่านได้ไปดูเขายิงเสือ  (คน)  นอนตายทับลำไม้ไผ่เมื่อดูไปดูมา  ได้เห็นรอยเท้าของโขลงช้างเดินข้ามไปมานานแล้ว  ลูกศิษย์ของท่านเลยตัดเองมา  แม้ว่าจะทำได้  2  อันแต่ลูกศิษย์ของท่านกลับทำเพียงอันเดียว  เพื่อให้เป็นของหนึ่งเดียว  คันกระสุนนี่ยาวกว่าของหลวงพ่อกวยเกือบ  1  ฟุต  แต่ของหลวงพ่อกวยไม้แก่กว่า  ไม้แก่มากเกือบเป็นสีแดง  แต่ท่านจะยิงกระสุนวิถีคดได้แบบหลวงพ่อกวยหรือเปล่าไม่รู้เพราะครั้งหนึ่งศิษย์รุ่นเก่าไปกราบท่าน  เห็นท่านถือคันกระสุนอยู่  จึงแกล้งแหย่ท่านว่า  หลวงปู่หันหน้าไปทางโน้น  แล้วยิงให้โดนหัวผมที  ท่านนิ่งเฉย  ท่านพูดว่า  กูไม่ใช่หลวงพ่อกวยนี่หว่า  ภายหลังคันกระสุนนี้ได้ตกมาอยู่กับศิษย์ใกล้ชิดท่านนึง   ปัจจุบันได้มอบให้พิพิธภัณหลวงพ่อกวยไปแล้ว

   ผู้สืบทอดอาจารย์ธรรมโชติ
ที่อำเภอสรรค์บุรีนี้  ถ้าพระองค์ใดเป็นเจ้าคณะอำเภอจะต้องจำพรรษา  หรือเป็นเจ้าอาวาสวัดวิหารทอง  ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้ที่ว่าการอำเภอ  ท่านพระครูพิมพ์ก็เช่นกัน  เดิมก็เป็นเจ้าอาวาสวัดวิหารทอง  อยู่ๆ  ท่านไม่ชอบใจกรรมการวัด  ท่านก็มาจำพรรษาที่วัดสนามชัย  บ้านเกิดของท่าน  เหตุการณ์แบบนี้ได้เกิดขึ้นมา  3  ครั้ง  ตั้งแต่พระครูปัตร,  พระครูปุ่น  ซึ่งสืบเชื้อสายเป็นญาติพี่น้องกันมาทั้ง  3  องค์  ได้มีการจดบันทึกเอาไว้ว่า  สืบเชื้อสายมาจากขุนสรรค์  แต่ตัวพระครูพิมพ์นั้นกลับมีปฏิปทา  เหมือนหนึ่งเป็นหน่อของท่านอาจารย์ธรรมโชติ  คือใครเดือดร้อนของเหรียญรูปท่าน  ท่านก็ให้ไป  แต้ถ้าเป็นทหาร  เป็น  ตชด.  ท่านต้องแจกตะกรุด  เหรียญหันหลังชนกันกับขันสรรค์  ผ้ายันต์  ผ้ายันต์นี้แม้ไม่มีก็จะเขียนให้  จะค้างคือที่วัดก็จะเขียนให้  แม้ผืนขนาดใหญ่  ผู้พันให้ลูกน้องมาขอ  เขียนด้วยปลุกด้วย  3  วัน  3  คืน  เอาไว้ป้องกันบังเกอร์ก็เขียนให้  เงินไม่สำคัญ  ทหารกินข้าววัด

   เป็นผู้มีเชื้อสายของคนจริง  และเทพสังหาร
พระครูพิมพ์  มีชื่อเล่นว่า  นายพลุ  มีศักดิ์เป็นน้องปู่ฉุ่น  อดีตครูใหญ่คนแรกวัดสนามชัย  ภายหลังได้ลาออกและโดนกักบริเวณที่บางขวางเป็นสิบปี  และเป็นน้องของสางฉาว  สางฉาวนี้  คำว่า  สาง  หมายถึงคนที่ตายไปแล้วจะเรียกว่าเสือฉาวก็ได้  เป็นที่ไม่กลัวคน  ไม่ว่ามีดหรือปืน  จะเดี๋ยวหรอหมู่ก็ได้  เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อกวย  วัดบ้านแค  หนังเหนียว  ปืนยิงไม่ออก  แถมล่ำป้อมแบบพระครูพิมพ์  เป็นเสือบุกเดี่ยว  แต่ไม่ปล้นชิงบริเวณบ้าน  เคยติดคุกที่บางขวาง  ที่เกาะตะรุเตา  ก็หนีมาได้  ตอนนั้นสงครามโลกครั้งที่  2  ยังได้รับจ้างทหารญี่ปุ่นซ่อมสะพานพุทธยอดฟ้าฯ  ครั้งสุดท้ายติดคุกที่ชัยนาท  พัศดีสั่งตีตัวแดง  (สั่งตาย)  โดยทั้งไม้ทั้งปืน  ยังแหกคุกที่มีลวดไฟฟ้าออกมาได้  ท่านมีหลาน – เหลน อยู่คนสองคน  คนแรกเป็นกำนัน  ชื่อกำนันใส  กำนันใสนี้ถ้าลูกบ้านทะเลาะกันอย่างรุนแรงท่านก็จะเตียน  ถ้าเตียนไม่ฟัง  แกจะฆ่าคนผิด  โดยไม่คิดสตางค์  และไม่แย้มให้ใครรู้เลย 

   จอมคน
ในสมัยเสือหลังสงครามโลกครั้งที่  2  สุพรรณบุรี  ได้ชื่อว่าเป็นถิ่นเสือปล้น  เสือที่โด่งดังที่สุดที่ขนาดตั้งเป็นชุมเสือได้คือ  เสือฝ้าย  โดยมากก็จะมีของดี  ทราบว่าเสือที่มีของดีและมีคุณธรรมคือ  เสือมเหศวร  ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่  อยู่บ้านไพรนกยูง  อ.หันคา  จ.ชัยนาท  ครั้งหนึ่งเสือฝ้ายได้มาตั้งชุมเสือที่บ้านล่องใหญ่  บ้านเดิมบางนางบวง  สุพรรณบุรี  ได้รู้ข่าวว่า  บ้านนายยอด  เดชมา  (พ่อหมอเฉลียว  เดชมา)  มีปืน  ร.ศ.ปืนพระราม  อยู่  5  กระบอก  จึงได้ให้ลูกน้องมาเอาปืนที่บ้านโยมยอดโยมยอดได้มาบอกหลวงพ่อกวยให้ช่วย แต่หลวงพ่อกวยได้ไปเรียนวิชาเพิ่มเติมกับหลวงพ่อเดิม  วัดหนองโพ  โยมยอดเลยวิ่งแจ้นไปบอกพระครูพิมพ์  พระครูพิมพ์ท่านก็รับกิจนิมนต์ทันที  ท่ารนเดินลัดตัดทุ่งไปทันทีที่หมู่บ้านสามเอก  (ดงเสือ)  ขณะที่ชุมเสือฝ้ายได้ตั้งชุมอยู่  ไม่รู้ว่าท่านพูดอย่างไร  แล้วท่านก็สะพายปืนยาวรุ่นเก่า  5  กระบอก  มาหน้าตาเฉย  เรื่องนี้ท่านไม่ยอมเล่าให้ใครฟังถึงที่ไปที่มา  ยังมีลูกหลานที่ทำนิสัยแบบนี้อีก  คนคนนี้เป็นคนบ้าบิ่น  (โหล่)  ชื่อเชน  (ปิ๊ด)  ฉายาแหวนแขนเรดาร์  บ้านเดิมอยู่หัวเด่น  ขณะบวชอยู่กับหลวงพ่อกวย  วัดบ้านแค  ปรากฏว่ามีพวกเสือได้วิ่งไล่จะปล้ำคุณยายม่าย  (เป็นคนจีนเตี่ยเอามาขาย  2  คนพี่น้อง)  ยายม่ายได้วิ่งมาหวังพึ่งหลวงพ่อกวย  พอดีเจอพระเชนพอดี  พระเชนโดดเหน็บมีดหมอหลวงพ่อกวย  ห่มผ้าไปส่งยายม่าย  พระเชนได้พูดว่า  “ถ้ามันกล้าปล้ำผู้หญิงต่อหน้ากู  กูก็ขาดจากพระวันนี้แหละวะ”

     เกียรติคุณปรากฏ
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่  2  หลังสงครามได้มีเสือตั้งชุมปล้นสะดมทรัพย์สิน  วัวควาย  ฯลฯ  เอาไปเป็นจำนวนมาก  ชาวบ้านสนามชัยได้รวมตัวกันเข้าไปกราบพระครูพิมพ์  เล่าเรื่องให้ฟัง  ท่านได้ถามว่า  แล้วพวกมึงจะยอมเขาหรือจะสู้เขา  ชาวบ้านสนามชัยได้ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าสู้  พอท่านได้ยินคำว่าสู้  ท่านก็ไปขุดหัวว้านขมิ้นอ้อย  ที่ท่านปลูกเอาไว้  เอามาล้างน้ำ  เสกและจารโดยฝานตรงยอกบนออก  แล้วท่านก็ฝานเป็นแว่นๆ  ให้กับชาวบ้านอมใส่ปากไว้  ชาวบ้านสนามชัยมีแค่ปืนแก๊ป  ปืนลูกซอง  ปืนไทยประดิษฐ์  (เมดอินไทยแลนด์) พร้า  ดาบ  ฯลฯ  แล้วท่านก็ยังสั่งว่า  เมื่อตามไปทันให้โห่ร้อง  แล้วสู้ประจัญบานกับมัน  ผลคือผู้นำชาวบ้านคือนายพวง  โดนเสือเล็กยิงแต่ยิงไม่ถูก  นายพวงได้ยิงมัน  โดนเสือเล็กตัดขั้วหัวใจตายเลย  ผลการสู้รบในวันนั้น  เสือโดยการนำของเสือเล็กบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก  แต่ชาวบ้านสนามชัยแค่บาดเจ็บเล็กน้อย  เรื่องนี้โด่งดังมาก  เพราะปืนที่ต่อสู้กันเป็นปืนคนละชนิดและพระครูพิมพ์ก็เพิ่งจะอายุไม่มาก  อายุประมาณ  30  ปีเศษ  เรื่องนี้ผู้เขียนเรื่องราวของหลวงพ่อพิมพ์ คือ คุณสมจิต เทียนวัน หรือคุณเฒ่า สุพรรณ ได้รับคำบอกเล่าและการสั่งเสียจากปู่ฉุน  ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่ชายของพระครูพิมพ์  ปู่ได้พูด  2-3  ครั้งว่าเมื่โตขึ้น อย่าลืมไปหาพระครูพิมพ์    ไปขอเรียนวิชาขมิ้นจากท่านให้ได้     ตอนนั้นคุณสมจิตยังเรียนอยู่ประถม  4  และย่าฉวนได้นำไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อกวยแล้ว  ได้รดน้ำมนแล้ว  คุณสมจิตได้แต่คิดในใจว่าพระลงเรียนทั้งมหาเปรียญและเรียนอาคมด้วย เป็นพระครูแบบนี้ถึงจะเก่งอย่างไร  คิดว่าก็ไม่เท่าไรหรอก  ขณะนั้น  ครั้งหนึ่งคุณสมจิตไปกราบท่านที่วัดสนามชัย  เตรียมขมิ้นอ้อยไปด้วย  กะจะไปขอเรียนวิชาตามที่ปู่สั่ง  เมื่อท่านเสกให้เสร็จ  ได้อ่านดูภาษาขอม ที่ท่านจาร อ่านได้ว่า  “นะโมพุทธายะ”  จึงถามท่านว่า  หลวงปู่ไปเรียนวิชาขมิ้นนี้มาจากไหน  ท่านตอบว่า  แลกเปลี่ยนวิชากัน  ตอนไปอยู่รับใช้หลวงพ่อกวย  ตอนที่หลวงพ่อกวยไปเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิม  คุณสมจิตได้เรียนถามว่า  หลวงปู่แลกเปลี่ยนวิชากับใคร  ท่านตอบว่า  “ท่านอินทร์  วัดเกาะหงษ์” 

   ผลงานสำคัญ
หลวงพ่อพระครูพิมพ์  เป็นพระที่สมถะ  มักน้อย  สันโดษ  ฉันอาหารมื้อเดียว  ชอบภาวนา  ไม่ชอบการสร้างวัตถุมงคลเพื่อหวังเงินทอง  อายุประมาณ  30  พรรษา  ได้สร้างอุโบสถร่วมกับหลวงพ่อเชื้อ  น้องชายหลวงปู่เย็น  วัดสระเปรียญ  โดยได้ทำแหวนนิ้วตามตำราของหลวงพ่อสี  วัดพระปรางค์  เพื่อสมนาคุณให้กับผู้ทำบุญพระอุโบสถหลังนี้คือ  พระอุโบสถวัดวังขรณ์  ซึ่งที่วัดวังขรณ์นี้เดิมเป็นโรงเรียนปริยัติธรรม  แหวนนิ้วที่เหลือนี้ยังได้ฝังไว้ที่วัดวังขรณ์  จำนวน  2  ไห  ใต้ท้องวงเขียนว่า  “อิ ติ”  เป็นภาษาขอม  นอกจากอุโบสถที่วัดวังขรณ์แล้ว  ที่วัดวิหารทอง  ท่านก็สร้างเมรุเผาศพ  แลพสะพานแขวน  ราคาหลายล้านบาท  ภายหลังท่านมาอยู่วัดสนามชัย  ท่านก็สร้างกุฏิกรรมฐาน

   มรณภาพ
หลวงพ่อพิมพ์  เป็นพระที่มีสุขภาพแข็งแรง  ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน  คนในตระกูลนี้ตั้งแต่  ชวด,  ปู่ชวด  ถ้าเป็นผู้ชายเวลาตายจะตายง่ายๆ  เช่น  เป็นลมตาย  นอนตายเฉยๆ  หลวงพ่อพิมพ์ท่านได้ถึงแก่มรณภาพตอนเช้า  เวลา  08.00  น.  ของวันที่  4  กรกฎาคม  2536  ก่อนที่ท่านจะไปบาชนาคที่  ต.หัวกรด  โดยก่อนไปท่านได้เขียนจดหมายทิ้งไว้บนโต๊ะ  ถึงสมุห์แจ่ม  เจ้าอาวาส  โดยเขียนเป็นทำนอง  ให้อยู่ดูแลวัดต่อไป  มีงานอะไรก็ให้เร่งทำ  เวลาของชีวิตเรานั้นไม่ยาวนัก  แล้วท่านก็เอาหินทับไว้  ขณะที่ท่านนั่งรถมาถึงหน้าวัดสกุณาราม  ห่างจากวัดสนามชัย  ประมาณ  7  กิโลเมตร  ศีรษะของท่านก็งุ้มลงไปข้างหน้าผิดสังเกต  หลวงพ่อประเทืองซึ่งนั่งรถไปด้วยกับท่านก็ตกใจบอกให้รถหยุด  มาจับดูตัวเองจึงได้รู้ว่าท่านมรณภาพ  หลวงพ่อประเทืองจึงให้รถวิ่งกลับวัด  ได้ตะระฆังบอกให้พระ-เณรและชาวบ้านรู้  แล้วให้คนไปนิมนต์พระอุปัชฌาย์เบิ้ม  วัดสระไม้แดง  ให้เป็นอุปัชฌาย์บวชแทนหลวงพ่อพิมพ์  จากนั้นก็เก็บศพไว้  1  ปี  จึงได้ขอพระราชทานเพลิงศพ  สิริรวมอายุ  78 ปี  พรรษา  58  นับเป็นการสูญเสียเกจิอาจารย์เมืองสรรค์ที่เป็นของจริง  อาจเป็นองค์สุดท้ายของเมืองสรรค์ก็ได้

   อัฐิเป็นพระธาตุ
เมื่อท่านมรณภาพไปแล้ว  ทางวัดได้อาบน้ำศพและเปลี่ยนผ้าให้ใหม่  ได้เก็บศพไว้  1  ปี  แต่พอจะขอพระราชทานเพลิงศพก็ได้เปลี่ยนผ้าให้ใหม่  โดยเก็บผ้าที่ท่านครองอยู่ในโลงพับเอาไว้และได้นำไปเผาด้วย  ก่อนเผา  ท่านอาจารย์สมาน  ได้ให้ทางญาติสนิทหักโยกฟันเอาไว้บูชา  ผลปรากฏว่า  ไม่มีใครโยกหักฟันของท่านได้เลย  มีแต่อาจารย์สมาน  (เจ้าอาวาสวัดหัวเด่น  มีศักดิ์เป็นหลานห่างๆ)  ได้โยกฟันมาได้  2  ซี่  คือ  ฟันเขี้ยว  1  ซี่  อีกซี่หนึ่งเล็กมาก  ท่านอาจารย์สมานได้กินซี่เล็ก  เหลือแต่ฟันเขี้ยวแก้ว  (ปัจจุบันเป็นของ  คุณศิริชัย  ชีรวณิชย์กุล)  เมื่อพระราชทานเพลิงศพแล้ว  จึงเปิดดูอัฐิของท่าน  ผลคือ  ผ้าจีวรที่ท่านครองอยู่แล้วนำไปเผาด้วยไม่ไหม้ไฟ   เมื่อหยิบดูปรากฏว่าสะเก็ดของอัฐิเป็นเม็ดสีขาว  เมื่อส่องดูให้ละเอียดจะเป็นเม็ดใสสีขาวเต็มไปหมด  บางท่านว่าเป็นพระธาตุ  นับว่าอัศจรรย์มาก




* phim.jpg (77.52 KB, 400x463 - ดู 10802 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

อะปะจะคะ ปะจะคะอะ จะคะอะปะ คะอะปะจะ
kon chainat
Register Member
Jr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 62



« ตอบ #1 เมื่อ: 21 กันยายน 2011, 02:13:30 PM »

ขอบคุณคับสำหรับความรู้ ชัยนาทเรานี้มีเกจิเก่งๆมากมาย มีอีกหลายองคืที่ไม่รู้จัก ท่านไหนเป็นศิษย์ก็นำมาเผยแผ่ คับ อ่านประวัติหลวงปู่พิม แล้วขนลุกเลย
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.10 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!