ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน 29 มีนาคม 2024, 02:48:31 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: เชิญบูชาล็อกเก็ตหลวงพ่อกวย บรรจุมวลสารพิเศษ http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=8540.0

+  กระดานสนทนา วัดโฆสิตาราม (บ้านแค) จ.ชัยนาท
|-+  ทั่วไทย
| |-+  พระเกจิอาจารย์จังหวัดชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี
| | |-+  หลวงพ่อพริ้ง ถาวโร วัดช้างเผือก(โพธิ์ทอง) จ.ชัยนาท
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 3 พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงพ่อพริ้ง ถาวโร วัดช้างเผือก(โพธิ์ทอง) จ.ชัยนาท  (อ่าน 40899 ครั้ง)
ฝุ่นดิน
สืบสานประวัติศาสตร์และส่งเสริมความภาคภูมิใจในระดับท้องถิ่น
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


084-7208460


« เมื่อ: 26 มิถุนายน 2010, 02:20:05 PM »

หลวงพ่อพริ้ง ถาวโร เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2445 ที่บ้านท่าแร่ หมู่ที่ 3ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท บิดาชื่อนายฉิม มารดาชื่องนางกลิ่น เงินแพทย์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 2 คน คือ
1. นายทำ เงินแพทย์
2. นายพริ้ง เงินแพทย์ (หลวงพ่อพริ้ง ถาวโร)
 ในวัยเด็กท่านได้ไปอาศัยอยู่กับอา คือหมออ่อน เงินแพทย์ ซึ่งหมออ่อนผู้นี้ถือได้ว่าเป็นศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่ศุข หลวงปู่ได้พยายามถ่ายทอดวิชาอาคมและมอบตำรายันต์องค์ครูให้แก่หมออ่อนผู้นี้ไว้เป็นจำนวนมาก  เด็กชายพริ้งได้มีโอกาสช่วยหมออ่อนจัดสร้างวัตถุมงคลต่างๆของหลวงปู่ศุข  จึงเป็นเหตุให้เด็กชายพริ้งเกิดความสนใจและคลุกคลีอยู่กับพระเวทย์วิทยาคมต่างๆในสายหลวงปู่ศุขมาตั้งแต่เยาว์วัย ต่อมาเมื่อเจริญวัยพอที่จะเรียนรู้สรรพวิชาต่างๆได้แล้ว นายพริ้งก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาอาคมสายวัดปากคลองฯจากหมออ่อนผู้เป็นอาและด้วยความสนใจใฝ่ศึกษาจึงได้แสวงหาครูอาจารย์เพื่อทำการศึกษาเพิ่มเติมมาโดยตลอด จนกระทั่งได้ชื่อว่าเป็นผู้มีวิชาอาคมในระดับหนึ่ง ด้วยความมั่นใจในวิชาอาคมของตนประกอบกับอุปนิสัยใจร้อนผลุนผลันตามประสาวัยหนุ่มจึงส่งผลให้นายพริ้งใช้ชีวิตในทางโลกๆอย่างโชกโชนตามแบบฉบับลูกผู้ชายในสมัยนั้น กล่าวคือมีนิสัยที่ค่อนไปทางนักเลงเสียหน่อย แต่ถึงกระนั้นท่านก็ถือสัจจะเป็นสำคัญ ไม่รังแกผู้ที่อ่อนแอกว่า และไม่ระรานใครก่อน ในสมัยฆราวาสนั้นท่านก็เคยผ่านการมีชีวิตครอบครัวคือมีภรรยาและมีบุตรด้วยกันเป็นชาย 1 คนชื่อ นายชุบ เงินแพทย์ แต่ภายหลังเมื่อคราวที่ฝีดาษระบาดหนักภรรยาของท่านก็เป็นอีกรายหนึ่งที่เคราะห์ร้ายป่วยเป็นโรคฝีดาษและเสียชีวิตไปในที่สุด ภายหลังเมื่อท่านบวชแล้วลูกชายท่านก็ยังไปมาหาสู่อยู่เสมอ แต่ด้วยความเคร่งครัดและเกรงว่าจะเป็นโลกวัชชะ ท่านถึงกับสั่งลูกชายท่านว่า “อย่าได้มาบ่อยนัก เดี๋ยวชาวบ้านเขาจะหาว่ามาขอเงินข้า” แสดงถึงเจตนาอันบริสุทธิ์และการตัดบ่วงทางใจของท่านได้อย่างเด็ดขาด


* P2030172.jpg (49.29 KB, 500x635 - ดู 21726 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
ฝุ่นดิน
สืบสานประวัติศาสตร์และส่งเสริมความภาคภูมิใจในระดับท้องถิ่น
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


084-7208460


« ตอบ #1 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2010, 02:25:46 PM »

ตลอดเวลาที่ผ่านมานายพริ้งยังคงให้ความสำคัญกับการศึกษาวิชาอาคมเสมอมา นับวันจิตใจของนายพริ้งยิ่งฮึกเหิมในวิชาอาคมต่างๆที่ร่ำเรียนมาจากหลายครูหลายอาจารย์จนไม่อาจควบคุมตนเองได้หรือที่เรียกกันว่า “คลั่งวิชา” จนต้องปลีกตัวเข้าป่าไประยะหนึ่ง ภายหลังท่านได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงพ่อเดิม พุทธสโร เทพเจ้าแห่งวัดหนองโพ จ.นครสวรรค์ ว่าเป็นผู้แก่กล้าวิทยาคม ท่านจึงเดินทางเพื่อไปอาศัยบารมีหลวงพ่อเดิม หลวงพ่อเดิมทำการแก้ไขให้จนกระทั่งนายพริ้งมีจิตที่สงบระงับลงและได้แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องยิ่งขึ้น หลังจากที่ท่านหายเป็นปกติแล้วท่านก็ขอถวายตัวเป็นศิษย์และตัดสินใจขออุปสมบทกับหลวงพ่อเดิม
ท่านเข้าอุปสมบท ณ อุโบสถวัดปากคลองมะขามเฒ่า โดยมีพระครูนิวาสธรรมขันธ์ หรือหลวงพ่อเดิม พุทธสโร เป็นองค์อุปัฌชาย์ ได้รับฉายาในทางพระพุทธศาสนาว่า “ถาวโร”(ไม่ทราบปีที่บวชที่ชัดเจนเพียงแต่สันนิษฐานว่าจะต้องก่อนปีพ.ศ.2492เพราะหลวงพ่อเดิมถูกยกเป็นกิตติมศักดิ์และงดรับนิมนต์ไปในที่ไกลๆในปีพศ.2492 เหตุเพราะหลวงพ่อท่านชราภาพมากแล้วอายุเข้า90ในปีนั้น) หลังจากอุปสมบทแล้วก็ยังติดตามหลวงพ่อเดิมกลับไปยังวัดหนองโพอยู่ปรนนิบัติวัตรฐากจนกระทั่งหลวงพ่อเดิมมรณะภาพลง หลวงพ่อพริ้งเคยกล่าวกับคนใกล้ชิดหลายท่านๆว่าหลวงพ่อเดิมมรณะภาพคาตักท่านเลยทีเดียว
หลังจากที่หลวงพ่อเดิมมรณะภาพแล้วท่านจึงกลับมายังวัดปากคลองฯอีกครั้งเพื่อค้นคว้าศึกษาจากตำราของหลวงปู่ศุขเพิ่มเติม ต่อมาเมื่อหลวงพ่อพริ้งท่านตั้งใจจะออกธุดงค์ท่านได้คัดเอาตำราเล่มสำคัญของหลวงปู่ไปหนึ่งเล่ม ตำราเล่มนี้ไม่ว่าไปไหนมาไหนหลวงพ่อท่านจะเอาติดย่ามอยู่เสมอ ลูกศิษย์ใกล้ชิดท่านหนึ่งจำได้ว่าเป็นสมุดข่อยสีดำเล่มหนาหน้าปกมีลายมือหลวงปู่ศุขเขียนไว้ว่า “มีเวทย์มนต์บ่นไว้บ้างกันช้างไล่  พบต้นไม้ปีนด้วยช่วยคาถา อย่ามัวอวดขลังนั่งนิ่งภาวนา ถ้าประมาทพลาดท่าจะเสียการ”


* P5160028.jpg (58.33 KB, 500x728 - ดู 17856 ครั้ง.)

* P5160029.jpg (57.62 KB, 500x747 - ดู 14728 ครั้ง.)

* P5160030.jpg (55.49 KB, 500x731 - ดู 14242 ครั้ง.)

* P5160031.jpg (58.48 KB, 500x735 - ดู 17204 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
ฝุ่นดิน
สืบสานประวัติศาสตร์และส่งเสริมความภาคภูมิใจในระดับท้องถิ่น
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


084-7208460


« ตอบ #2 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2010, 02:39:35 PM »

ในการธุดงค์นี้ท่านได้เดินทางไปหลายแห่งตั้งแต่เหนือจรดใต้และข้ามไปถึงประเทศใกล้เคียงทั้ง พม่า ลาว เขมร ดังจะเห็นได้ว่าทั้งว่าน ทั้งแร่ธาตุตลอดจนของกายสิทธิ์ต่างๆที่ท่านเสาะหามาเป็นมวลสารในการจัดสร้างพระผงของท่านมีปริมาณมากมายหลายชนิดจริงๆผู้ที่เคยช่วยท่านตำมวลสารเหล่านี้กล่าวกันว่าไม่ใช่แค่ร้อยแปดนะดูท่าจะร่วมพันอย่าง ตอนที่มาอยู่วัดช้างเผือกนี้ท่านว่าพอแล้วไปมาหมดแล้วข้าจะอยู่ที่นี่เป็นที่สุดท้าย และก่อนที่จะมาอยู่วัดช้างเผือกนี้ท่านเคยจำพรรษาที่วัดลาดพร้าวอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาได้ย้ายมาปักกลดในพื้นที่ป่ารกร้างซึ่งอยู่ทางฝั่งตรงกันข้ามกันกับวัดลาดพร้าว ท่านได้ริเริ่มชักชวนชาวบ้านและคณะศรัทธาร่วมกันทำการบุกเบิกสร้างศาสนสถานขึ้นมาและให้ชื่อว่า “วัดราษฎร์สามัคคีธรรม” ต่อมาชื่อเสียงของท่านเริ่มเป็นที่รู้จักผู้คนเริ่มหลั่งไหลกันมาจากทั่วสารทิศ ลาภสักการะมีมาอย่างไม่ขาดสาย พูดตามภาษาชาวบ้านว่า “ประเดี๋ยวปี๊บประเดี๋ยวกระแต๋ง” หมายความว่าแต่ละวันๆมีเงินเข้ามาหาท่านอย่างมากมายแล้วท่านไม่ได้ใส่เซฟใส่ตู้อย่างคนอื่นเขา ได้เงินมาหรือใครทำบุญด้วยท่านก็โยนใส่กระแป๋งบ้างปีบบ้างไปตามเรื่องของท่าน บ้างก็หกเรี่ยราดดูเหมือนของไม่มีค่ายังไงยังงั้นท่านไม่เคยแยแส แต่นั่นก็เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความไม่ยึดติดในลาภยศของท่านได้อีกประการหนึ่ง เรื่องความสมถะของท่านนี้ถึงแม้เมื่อภายหลังวัดเริ่มมีรากฐานที่มั่นคงแล้วก็ตามแต่หลวงพ่อก็ไม่ขอรับตำแหน่งแห่งหนใดใด อาศัยเป็นเพียงพระหลวงตาธรรมดาๆองค์หนึ่งเท่านั้น
  นับวันกิตติศัพท์ของท่านก็ยิ่งขจรขจายไปอย่างทวีคูณ ธรรมดาลาภย่อมมาพร้อมกับความเสื่อมลาภ สรรเสริญย่อมมาพร้อมกับนินทา ในเมื่อการได้ลาภของท่านเป็นการเสื่อมลาภของคนอีกกลุ่มหนึ่ง ยิ่งท่านได้รับการสรรเสริญ ก็ยิ่งทำให้คนอีกกลุ่มหนึ่งนินทา ชาวบ้านและชาววัดเริ่มไม่สามัคคีธรรมตามชื่อ เริ่มแบ่งแยกแตกกันเป็นสองฝักสองฝ่ายเหตุการณ์บานปลายกลายเป็นเหตุขัดแย้งกันอย่างไม่สิ้นสุด หลวงพ่อเคยถูกลอบวางยาอยู่หลายครั้งแต่พิษร้ายของยาก็ไม่อาจทำอันตรายให้กับหลวงพ่อได้ ท่านยังกลับพูดเยาะเย้ยลูกศิษย์ท่านเล่นเสียด้วยซ้ำว่า “พิษยาแค่นี้จะทำอะไรข้าได้” เวลาท่านโดนยาท่านยังเคยอ้าปากให้ลูกศิษย์ท่านดูปรากฏว่าปากท่านมีแผลพุพองและมีอาการเจ่อบวมอยู่บ้าง แต่ซัก2-3วันท่านก็หายเป็นปกติ ถึงแม้ท่านจะไม่ได้ถือโทษโกรธใครแต่ท่านก็มีความเบื่อหน่ายในความวุ่นวายไร้สาระนั่นเต็มที จึงได้ปลีกตัวออกมาและไปจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองแขมได้ระยะหนึ่ง


* P2160321.jpg (58.13 KB, 500x689 - ดู 14103 ครั้ง.)

* P2160322.jpg (56.57 KB, 500x673 - ดู 13950 ครั้ง.)

* P2160352.jpg (57.88 KB, 500x704 - ดู 13918 ครั้ง.)

* P2160353.jpg (53.1 KB, 500x707 - ดู 13899 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
ฝุ่นดิน
สืบสานประวัติศาสตร์และส่งเสริมความภาคภูมิใจในระดับท้องถิ่น
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


084-7208460


« ตอบ #3 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2010, 02:45:03 PM »

ในระหว่างนั้นประมาณปี พ.ศ.2518 คุณลุงสมบัติ เณรพึ่ง ได้อาราธนานิมนต์หลวงพ่อมาในพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ของตนที่บ้านโพธิ์ทอง จ.ชัยนาท กล่าวถึงคุณลุงสมบัติ เณรพึ่ง บุคคลผู้นี้เป็นผู้ที่มีความรู้จักมักคุ้นกับหลวงพ่อมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2515 ในสมัยที่แกบวชพระและได้มีโอกาสพบกับหลวงพ่อในงานปริวาสกรรมที่วัดมวกเหล็กจังหวัดสระบุรีโดยบังเอิญ เมื่อทราบว่าเป็นคนบ้านเดียวกันจึงพูดคุยกันอย่างถูกอัธยาศัย นับแต่นั้นมาลุงบัติก็เกิดเคารพเลื่อมใสในหลวงพ่อและได้ไปมาหาสู่กันอยู่เป็นประจำ ในขณะที่ลุงบัติยังบวชพระอยู่นั้น เมื่อหลวงพ่อท่านมาธุระที่ อ.วัดสิงห์ ท่านก็ยังเลยมาเยี่ยมลุงบัติที่วัดโพธิ์เอน ลุงบัติก็เช่นกันเมื่อมีโอกาสขึ้นไปกรุงเทพฯก็จะต้องแวะหาหลวงพ่อทุกครั้งไป บางครั้งก็อยู่พักกับท่านนานเป็นอาทิตย์ เมื่อหลวงพ่อเดินทางลงมาในงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ของลุงบัติในคราวนั้น เมื่อเลิกงานแล้วท่านก็ยังไม่เดินทางกลับ ท่านพักจำวัดครั้งแรกที่วัดโพธิ์เอนซึ่งเป็นวัดเก่าใกล้ร้างเต็มที (ซึ่งแต่เดิมนั้นตั้งอยู่ทางแถบ ร.ร.โพธิ์ทองในปัจจุบัน) ต่อมาหลวงพ่อได้มาพบกับ ผู้ใหญ่วน อิ่มรัง ผู้ใหญ่บ้านโพธิ์ทองในขณะนั้นและได้ทำการปรึกษาหาสถานที่สร้างวัดทันที ผู้ใหญ่วนเห็นว่าหมู่บ้านนี้มีสภาพแห้งแล้งทุรกันดาร ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ประกอบอาชีพเผาถ่านขายประทังชีวิตไปวันๆ อัตราค่างวดในสมัยนั้นก็เพียงบุ้งกี๋ละ 7 บาทเท่านั้น ด้วยเกรงว่าท่านจะมาตกระกำลำบากเสียปล่าวๆจึงได้ชี้แจงสภาพความเป็นจริงเพื่อทัดทานความตั้งใจของหลวงพ่อไว้บ้าง แต่ก็ไม่เป็นผลท่านตอบแบบลูกทุ่งๆว่า “น้ำพริกถ้วยเดียวข้าก็อยู่ของข้าได้” เมื่อผู้ใหญ่วนเห็นความตั้งใจจริงของหลวงพ่อดังนั้นแล้วจึงพามาดูสถานที่แห่งหนึ่งที่เรียกกันว่า ดอนเด่นช้าง ที่มาของชื่อ “ดอนเด่นช้าง” นี้ก็สืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนมีคนทำถ่านคนหนึ่งชื่อตาฟุ้งเป็นคนพิการมือชิ่งข้างหนึ่ง แกใช้ช้างชักลากต้นไม้เพื่อนำมาเผาถ่านหลังจากเสร็จงานในแต่ละวันแล้วตาฟุ้ง ก็จะผูกช้างเชือกนี้ทิ้งไว้ ณ ที่แห่งนี้ ช้างเชือกนี้จึงเหมือนอยู่ประจำและกลายเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นสังเกตได้ง่ายประกอบกับสภาพพื้นที่เป็นในแถบนี้เป็นพื้นที่ดอนจึงเรียกกันสืบมาว่า “ดอนเด่นช้าง”ภายหลังบางคนก็เรียกเพี้ยนเป็น”ดงเด่นช้าง”บ้าง และตีความหมายของสถานที่พักช้างว่าเป็นที่พักของพวกคาราวานสินค้าที่ใช้ช้างเป็นพาหนะไปบ้างก็มี แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นสถานที่พักช้างหรือผูกช้างของตาฟุ้งนั่นเอง พื้นที่แห่งนี้ในบริเวณวิหารหลวงพ่อพุทธโคดมในปัจจุบันแต่เดิมเป็นพื้นที่โปร่ง ชาวบ้านเล่ากันว่าเวลาพักวัวพักควายตอนเที่ยง พวกเหล่าฝูงวัวฝูงควายไม่เลือกว่าจะเป็นของใครมาจากไหน มักจะหลั่งไหลเฮละโลมารวมตัวกันอยู่ที่นี่และถึงแม้แปลกฝูงกันก็ไม่ทำอันตรายต่อกันเป็นที่อัศจรรย์อย่างหนึ่ง   วันดีคืนดีชาวบ้านก็จะได้ยินเสียงปี่พาทย์ระนาดตะโพนดังมาจากป่าแห่งนี้ ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นป่ารกร้าง เมื่อหลวงพ่อได้พบเห็นสถานที่แห่งนี้แล้ว และท่านคงสัมผัสของท่านได้ทางใดทางหนึ่ง จึงได้สร้างความปีติดีใจให้แก่ท่านเป็นนักหนาถึงขนาดพร่ำพรรณนาเป็นวรรคเป็นเวรว่า “เออ..ที่นี่หละๆเอาที่นี่หละดีจริงๆเหมาะจริงๆข้าจะสร้างวัดของข้าที่นี่ ข้าจะตั้งชื่อวัดของข้าว่า วัดช้างเผือก แล้วข้าจะปั้นพญาช้างเผือกไว้ให้ดูเด่นเป็นสง่า” เมื่อหลวงพ่อท่านตกลงปลงใจเป็นมั่นเป็นเหมาะแล้วว่าจะยึดเอาสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ก่อสร้างวัด ผู้ใหญ่วนก็ดำเนินการออกโฉนดให้เป็นที่ถูกต้องตามกฎหมาย และได้สร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านพักเป็นกุฏิยกพื้นชั้นเดียวพื้นปูด้วยไม้งิ้วหลังคามุงแฝกข้างฝาขัดแตะ


* P2030016.jpg (56.51 KB, 450x338 - ดู 13835 ครั้ง.)

* P5260041.jpg (57.89 KB, 500x375 - ดู 13735 ครั้ง.)

* P2030068.jpg (54.37 KB, 500x497 - ดู 13882 ครั้ง.)

* P2030071.jpg (57.98 KB, 500x524 - ดู 13635 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
ฝุ่นดิน
สืบสานประวัติศาสตร์และส่งเสริมความภาคภูมิใจในระดับท้องถิ่น
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


084-7208460


« ตอบ #4 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2010, 02:50:13 PM »

ในปี พ.ศ.2518 ซึ่งเป็นปีแรกที่ท่านจำพรรษาที่วัดช้างเผือกนี้ท่านยังไปๆมาๆระหว่างกรุงเทพฯกับวัดช้างเผือกอยู่บ่อยครั้ง ยังไม่ได้ตั้งหลักปักฐานที่จะบุกเบิกการก่อสร้างอย่างจริงจัง หากไม่ได้ออกเดินทางไกลไปที่อื่นท่านก็มักจะไปมาหาสู่กับหลวงตาตุ่น วัดทับเสาหออยู่เป็นประจำเนื่องจากหลวงตาตุ่นท่านนี้เป็นเพื่อนท่านตั้งแต่สมัยอยู่วัดปากคลองฯ และหลวงตาตุ่นผู้นี้ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่เคยช่วยจัดสร้างพระพิมพ์ให้กับหลวงปู่ศุข จนเรียกได้ว่าเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในการจัดสร้างพระตามแบบฉบับของวัดปากคลองฯเลยทีเดียว แม้มาในระยะหลังท่านก็ยังคงจัดสร้างเรื่อยมาพระพิมพ์ของหลวงตาตุ่นนี้มักนิยมทำเป็นพิมพ์ตัดชิดเทด้วยเนื้อตะกั่วมีลักษณะบางและส่วนใหญ่จะจารพุทธอุดม้วนโลกไว้ที่ด้านหลัง ท่านทำส่งให้กับวัดต่างๆในละแวกอำเภอวัดสิงห์ เช่น วัดหนองบัว วัดเขาดิน วัดวังน้ำขาว วัดป่าพาณิชย์ เป็นต้นฯ หลวงพ่อพริ้งเองช่วงที่อยู่ที่วัดสามัคคีธรรมก็ได้นำพระพิมพ์ของหลวงตาตุ่นไปปลุกเสกแล้วแจกจ่ายให้กับลูกศิษย์ทางแถบนู้นอยู่เป็นประจำ
เมื่อมาอยู่ที่วัดช้างเผือกนี้แล้วหลวงพ่อพริ้งก็ได้แบ่งแม่พิมพ์มาจากหลวงตาตุ่น 2 แบบด้วยกันคือ 1.แม่พิมพ์แบบเบ้าตัวเมีย คือเบ้าหงายที่มีแม่พิมพ์ด้านหน้าด้านเดียว ซึ่งเป็นพิมพ์ตัดชิดตัวแม่พิมพ์ทำด้วยซีเมนต์เทพระได้คราวละ 2 องค์ และ 2.แม่พิมพ์แบบเบ้าประกบ คือเบ้าที่มีแม่พิมพ์ทั้ง 2 หน้าเวลาเทต้องประกบพิมพ์เข้าด้วยกัน ซึ่งด้านหน้าเป็นพิมพ์ข้างอุ ด้านหลังเป็นแบบยันต์ปรากฎเป็นตัว “อุ” และมีตัว “อุณาโลม” ประทับอยู่ด้านบน ตัวแม่พิมพ์ทำจากปูนปลาสเตอร์ เทพระได้คราวละ 3 องค์


* P5270057.jpg (56.9 KB, 500x353 - ดู 14116 ครั้ง.)

* P5270060.jpg (54.57 KB, 500x378 - ดู 13647 ครั้ง.)

* P2030101.jpg (58.39 KB, 500x460 - ดู 13546 ครั้ง.)

* P2030105.jpg (57.27 KB, 500x375 - ดู 13508 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
ฝุ่นดิน
สืบสานประวัติศาสตร์และส่งเสริมความภาคภูมิใจในระดับท้องถิ่น
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


084-7208460


« ตอบ #5 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2010, 02:57:01 PM »

ถ้าพูดถึงเรื่องสหธรรมมิกของหลวงพ่อเฉพาะทางแถบชัยนาทนี้ยังมีอีกหลายท่านที่ได้ยินได้ฟังมาก็ได้แก่ หลวงพ่ออุ่นและหลวงพ่อหนู วัดบ้านควาย(วิจิตรรังสรรค์),หลวงพ่อย้อย วัดทรงเสวย,หลวงพ่อกวย วัดบ้านแค,หลวงพ่อดัด วัดท่าโบสถ์ (กับหลวงพ่อดัดท่านนี้ลูกศิษย์ใกล้ชิดกล่าวว่าหลวงพ่อพริ้งท่านได้ศึกษาวิชาบางอย่างเพิ่มเติมและแลกเปลี่ยนวิชาอาคมซึ่งกันและกันด้วย) นอกจากที่เป็นพระภิกษุแล้ว ที่เป็นฆราวาสก็เห็นจะเป็นคุณยายเก็บ คิดว่าท่านคงเรียนกับครูบาอาจารย์องค์เดียวกัน ดังจะเห็นว่าเวลาหลวงพ่อจัดงานไหว้ครู คุณยายเก็บก็จะมาช่วยทำบายศรีจัดแจงข้าวของอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในการประกอบพิธี และถ้าคุณยายเก็บไหว้ครูหลวงพ่อพริ้งก็จะไปร่วมด้วยเช่นกัน สำหรับคุณยายเก็บท่านนี้หลวงพ่อเคยบอกกับลูกศิษย์ว่า “ข้าคุยกันทุกวันแหละ” แสดงว่าจิตของท่านสื่อถึงกันได้ คุณยายเก็บเป็นชาวอยุธยาและคงเป็นภรรยาของผู้มียศถาบรรดาศักดิ์กระมัง คนทางแถบนู้นเขาจึงเรียกท่านว่าคุณนายเก็บ ท่านอาศัยอยู่ในบ้านของทางราชการและมีคนรับใช้อยู่หลายคน ในบ้านท่านมีโต๊ะหมู่บูชาขนาดใหญ่และมีบายศรีตั้งอยู่หลายหลัก แสดงว่าต้องเป็นผู้มีวิชาอาคมในระดับหนึ่ง
    ในปี พ.ศ.2519 ท่านได้นำสามเณรที่เคยอยู่กับท่านที่กรุงเทพฯมาอยู่ด้วย 5 รูปเพื่อช่วยเป็นกำลังในการจัดสร้างพระพิมพ์ตามความเชี่ยวชาญของท่าน เรื่องการสร้างพระนี้ดูจะเป็นกิจวัตรที่ท่านถือปฏิบัติมาอย่างสม่ำเสมอ เว้นแต่ช่วงเข้าพรรษาเท่านั้นที่ท่านจะหยุดสร้าง แล้วจะทำการปลุกเสกทุกวันจนกระทั่งตลอดพรรษา ก่อนที่ท่านจะทำพิธีปลุกเสกท่านจะให้ลูกศิษย์จัดเรียงพระให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เมื่อเสกเสร็จองค์ไหนที่กระเด็นออกมาท่านจะให้แยกไว้ต่างหากท่านว่าแบบนี้แหละถึงจะแรงดี เสกอยู่อย่างนี้เรื่อยไปจนสิ้นฤดูพรรษา ลงได้ออกพรรษาแล้วไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหน ถ้าไม่โขลกผงทำพระ ก็จารตะกรุด ลงผ้ายันต์ เขียนผงลบผงของท่านไปเรื่อย ผู้ใกล้ชิดเล่าว่าตอนที่ท่านอยู่ที่วัดสามัคคีธรรมท่านจะตื่นแต่เช้ามืดประมาณตีสอง แล้วก็จะเข้าไปในห้องพระจะออกมาอีกทีก็ประมาณ 08.00 น.เมื่อพระบิณฑบาตกลับ ท่านจะออกจากห้องพระมาพร้อมกับถุงว่านและมวลสารต่างๆเป็นจำนวนมากหลังจากฉันเช้าเสร็จแล้ว ทั้งพระทั้งเณรก็จะมาช่วยกันโขลกช่วยกันตำ บ้างก็กดพิมพ์ บ้างก็ถักตะกรุด สกรีนผ้ายันต์สาระพัดกิจการงานเครื่องรางของท่าน สับเปลี่ยนหมุนเวียนช่วยกันทำอยู่อย่างนั้นจนกระทั่งมืดค่ำจึงได้แยกย้ายกันออกไป
ส่วนในด้านการทำแบบพิมพ์นั้นพระมหาหวอง ช่วยเป็นธุระจัดการให้โดยแกะเป็นแม่พิมพ์ลงไปบนหินรับมีดโกน รูปแบบทรงพิมพ์จึงไม่สู้จะสวยงามนัก แต่ก็แลดูลึกซึ้งไปตามแบบของงานที่ประดิษฐ์ด้วยมือ การแกะแม่พิมพ์บนหินมีดโกนนั้นเป็นการยากและใช้เวลานาน เมื่อความต้องการของคณะศรัทธามีมากขึ้น แม่พิมพ์จึงไม่ทันต่อการผลิตในคราวละมากๆ จึงต้องใช้วิธีการถอดพิมพ์จากองค์พระโดยใช้ปูนปลาสเตอร์เททับแล้วถอดออกเป็นแม่พิมพ์แทน ซึ่งวิธีนี้สามารถทำได้โดยง่ายในระยะเวลาอันเร็ว แม้เมื่อมาอยู่วัดวัดช้างเผือกแล้วพระมหาหวองก็ยังมีส่วนช่วยดูแลเรื่องแม่พิมพ์อยู่
พระผงและเครื่องรางต่างๆของท่านนี้จึงมั่นใจได้ว่าทุกองค์ทุกขั้นตอนผ่านการควบคุมอย่างพิถีพิถันที่สุด ทุกชิ้นงานล้วนถูกรังสรรค์ขึ้นมาด้วยสองมือปล่าวแต่ทว่าเปี่ยมล้นไปด้วยพลังศรัทธา เรื่องการสร้างพระของท่านนี้พวกโรงงานไม่ได้กินเงินท่านเป็นแน่ เว้นเสียแต่วัตถุมงคลประเภทเหรียญ หากเป็นประเภทพระผงแล้วท่านจะกำกับการสร้างด้วยตัวท่านเอง เพราะท่านใส่ใจและให้ความสำคัญในเรื่องของส่วนผสมและรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนว่าจะต้องถูกต้องตามตำราทุกประการ ลุงบัติเคยช่วยท่านทำตะกรุดได้เล่าว่า แม้แต่เชือกที่ใช้เป็นสายคาดตะกรุดนั้นท่านก็จะใช้ผ้าคลุมศพมาตัดเป็นริ้วยาวๆแล้วนำไปลงอักขระจนเต็มผืนต่อจากนั้นจึงนำมาฟั่นเป็นสาย กระทั่งสายที่ใช้ถักหุ้มดอกตะกรุดนั้นท่านก็จะตัดจากผ้าคลุมศพออกเป็นริ้วเล็กๆลงไปอีก แล้วก็ลงอักขระอีกเช่นกัน ลงเสร็จแล้วจึงนำมาฟั่นเป็นสายเล็กๆเพื่อนำไปถักหุ้มตะกรุดต่อไป แม้ปริมาณพระเครื่องและเครื่องรางของท่านจะทำออกมามากมายขนาดไหน แต่ก็ยังไม่พอต่อความต้องการของบรรดาลูกศิษย์และคณะศรัทธาทั้งใกล้และไกล ซึ่งของของท่านก็ไม่ใช่จะต้องทำบุญเสมอไป ใครมาท่านก็แจกจ่ายให้อย่างทั่วถึงไม่ได้แสดงอาการตระหนี่ถี่เหนียวแต่อย่างใด


* P2030089.jpg (57.88 KB, 500x365 - ดู 13612 ครั้ง.)

* P2030111.jpg (56.33 KB, 500x433 - ดู 13492 ครั้ง.)

* P2030107.jpg (49.33 KB, 500x505 - ดู 14240 ครั้ง.)

* P2030109.jpg (57.28 KB, 500x375 - ดู 13395 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
ฝุ่นดิน
สืบสานประวัติศาสตร์และส่งเสริมความภาคภูมิใจในระดับท้องถิ่น
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


084-7208460


« ตอบ #6 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2010, 03:02:44 PM »

เมื่อมาอยู่วัดช้างเผือกย่างเข้าปีที่ 2 คือในปี พ.ศ.2519 ท่านก็เริ่มสร้างพระผงพิมพ์ต่างๆที่เป็นเอกลักษณ์ของวัดช้างเผือกเอง กล่าวคือด้านหลังขององค์พระจะมียันต์พระเจ้าห้าพระองค์ประทับอยู่ ใต้ยันต์นั้นปรากฎเป็นรูปช้างชูดอกบัวบาน และมีชื่อ “วัดช้างเผือก” ประทับไว้เป็นสำคัญ ส่วนรูปแบบทรงพิมพ์นั้นมีอยู่หลายพิมพ์ด้วยกัน เช่นพิมพ์สมเด็จพระพุทธโคดม  พิมพ์สมเด็จ9ชั้น พิมพ์สมเด็จทรงช้าง พิมพ์สมเด็จทรงสิงห์ พิมพ์ป่าเรไลย์เป็นต้นฯ
 เมื่อท่านเริ่มจะทำการก่อสร้างอย่างจริงจังท่านได้ไปปรึกษากับคุณตาจรุญ สมทรัพย์ เจ้าของโรงสีข้าวในหมู่บ้านโพธิ์ทอง คุณตาจรุญยังจำคำของหลวงพ่อที่กล่าวกับแกได้ด้วยความปลาบปลื้มว่า “แกกับข้ามาจับมือกัน จะขึ้นเหวลงห้วยก็ไปด้วยกัน” หลังจากนั้นคุณตาจรุญจึงบอกบุญชาวบ้านในละแวกนั้น ช่วยกันทำการย้ายศาลาวัดโพธิ์เอนซึ่งเป็นวัดร้างมาสร้างหอสวดมนต์ที่วัดช้างเผือกท่ามกลางกระแสดูแคลนของชาวบ้านว่าจะเป็นโล้เป็นพายสักเพียงไหน ด้วยเหตุว่าท่านยังใหม่อยู่มากสำหรับชาวบ้าน แต่ก็ปรากฏว่าไม่ว่าจะเป็นกิจการงานใดพอลงมือทำเข้าแล้ว ผู้คนทั้งถิ่นนี้และถิ่นอื่นแม้ในที่ไกลๆต่างก็หลั่งไหลกันมาช่วยอุดหนุนจุนเจือทั้งกำลังกายกำลังทรัพย์จากทั่วสาระทิศมิได้ขาดสาย ทุกกิจการงานที่สร้างล้วนสำเร็จเสร็จสิ้นลงได้ในระยะเวลาอันเร็วเหนือความคาดคิดของชาวบ้าน เมื่อผลงานเริ่มเป็นที่ประจักษ์แก่สายตา จึงสามารถลบล้างข้อครหานินทาเหล่านั้นลงได้อย่างราบคาบมิหนำซ้ำยังกลับสร้างศรัทธาใหม่ขึ้นมาอีกเป็นทวีคูณ ชาวบ้านจากไม่ค่อยเชื่อมั่นเริ่มหันกลับมาช่วยเหลือคนละไม้คนละมือตามสติกำลังของตน


* P2160304.jpg (56.81 KB, 500x742 - ดู 13656 ครั้ง.)

* P2160305.jpg (56.29 KB, 500x722 - ดู 13275 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
ฝุ่นดิน
สืบสานประวัติศาสตร์และส่งเสริมความภาคภูมิใจในระดับท้องถิ่น
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


084-7208460


« ตอบ #7 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2010, 03:07:05 PM »

ต่อมาหลวงพ่อมีดำริจะสร้างวิหาร การสร้างวิหารของหลวงพ่อนี้ถือได้ว่าเป็นความตั้งใจที่มีมาตั้งแต่อยู่ที่วัดสามัคคีธรรมแล้ว แต่ก็ยังไม่ประสบผล และคงสืบเนื่องมาจากนิมิตมหัศจรรย์ที่ท่านพบอีกประการหนึ่ง ซึ่งท่านได้เล่าให้กับคนใกล้ชิดของท่านฟังว่า เห็นนิมิตเป็นลำแสงสว่างโชติช่วงติดตาตรึงใจเป็นอย่างมาก เป็นทิพยสถานอันงามวิจิตรมีเหล่าเทพเทวดาอารักข์สถิตเสถียรวนเวียนอยู่เต็มไปหมดและยังเห็นว่าเป็นเมืองของชาวลับแลอีกด้วย
เรื่องเมืองลับแลนี้ภายหลังได้มาประจักษ์แก่สายตาชาวบ้านเมื่อครั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันตักบาตรเทโวของวัดช้างเผือกที่ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรก หลวงพ่อท่านกำหนดเอาวันแรมหนึ่งค่ำเป็นวันเทโวของวัดท่าน ทางฝ่ายชาวบ้านก็เห็นว่าวัดเพิ่งจะก่อสร้างยังไม่เป็นที่รู้จักของหมู่บ้านอื่นๆแล้วยังมากำหนดวันจัดงานเทโวไม่สอดคล้องกับวัดอื่นๆอีกจะมีคนมาร่วมงานหรือ แม้มีเสียงคัดค้านกระนั้นหลวงพ่อก็ยังมั่นคงยืนกรานว่าวันที่ท่านกำหนดขึ้นนั้นเป็นวันดีวันมงคลแล้ว ถึงกับเอ่ยปากว่า “ไม่มีใครมา ข้าก็จะบิณฯของข้าคนเดียว” แต่เมื่อถึงวันที่ท่านกำหนดปรากฏว่ามีชาวบ้านแปลกหน้าหลั่งไหลกันมาจากทั่วทุกสาระทิศ ไม่มีใครทราบได้ว่าชาวบ้านเหล่านั้นเป็นใครมาจากไหน ต่างเดินกันมาไม่ขาดสายรูปร่างผิวพรรณการแต่งกายล้วนดูงามตา แต่กลับไม่เป็นที่รู้จักของชาวบ้านในละแวกนั้นเลย จึงเข้าใจกันว่าคงเป็นชาวลับแลดังที่หลวงพ่อพูดถึง
ส่วนดวงไฟที่หลวงพ่อเห็นในนิมิตนี้ แม้แต่ชาวบ้านในละแวกนั้นก็สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า อยู่หลายคน คุณตาจรุญเล่าว่าเป็นดวงกลมๆสัณฐานประมาณปากกระบุงบ้าง บางวันใหญ่เกือบขอบกระด้งก็มี ปรากฏเป็นแสงสีเขียวลอยสูงประมาณยอดต้นมะขาม ลอยขึ้นแล้วก็ค้างอยู่อย่างนั้นสัก 10 นาทีก็ค่อยๆลอยลง ซึ่งจุดที่เกิดขึ้นนั้นตรงกันกับบริเวณที่หลวงพ่อท่านสร้างวิหารครอบไว้นั่นเอง คุณลุงสมบัติก็เล่าว่าตัวแกเองก็เคยเห็นปรากฏเป็นดวงไฟขนาดใหญ่ส่องแสงสว่างเจิดจ้า แล้วก็ค่อยๆหดตัวเล็กลงๆแล้วก็ดับหายไป นอกจากนี้ก็ยังมีชาวบ้านอีกหลายคนที่เคยประสบพบเห็นดวงไฟดังกล่าว บางคนถึงกับขับรถตามมาดูก็มี
ดังนั้นสิ่งก่อสร้างที่ถือว่าเป็นศาสนสถานชิ้นแรกของวัดช้างเผือกก็คือ “วิหารหลวงพ่อพุทธโคดม” ซึ่งท่านเขียนติดไว้ที่ด้านหน้าวิหารว่า “ที่ประชุมพุทธะเทวาสถาน สีดอกไม้เรืองฤทธิ์” และท่านก็สร้างพระพุทธโคดมเป็นพระประธานประดิษฐานไว้ ท่านว่าใครจะลองก็ลองยิงข้ามวิหารหลวงพ่อพุทธโคดมนู้น เคยมีชาวบ้านยิงนกที่เกาะกิ่งไม้ซึ่งจะต้องหันปากกระบอกมาทางวิหารปรากฏว่ายิงอย่างไรก็ยิงไม่ออก ค่อยมาเอะใจทีหลังว่าคงเป็นด้วยอำนาจของหลวงพ่อพุทธโคดมเพราะวิถีกระสุนที่จะยิงออกมานั้นจะต้องพุ่งมาทางวิหาร แม้ภายหลังเมื่อหลวงพ่อมรณะภาพแล้วก็ตาม คราวที่จัดงานวัด เสือเทียน บ้านอยู่หนองสระเมาเข้าไปแล้วก็นึกอวดอุตริอย่างไรไม่ทราบ ลากปืนลูกซองยาว และกล่าวปรามาสในทำนองว่าหลวงพ่อนี่จะแรงซักแค่ไหนว่ะ แล้วก็ยิงปืนขึ้นฟ้าแต่ผลปรากฏว่าไม่ว่าจะเหนี่ยวไกยิงสักกี่ครั้งกระสุนปืนก็ไม่ดังสักนัดมีแต่เสียงนกปืนสับดังแจะๆอยู่อย่างนั้น เสือเทียนถึงกับออกอาการเหรอหราแล้วก็วิ่งเตลิดเปิดเปิงออกไปถึงหมู่บ้านหนองสะเดาซึ่งเป็นระยะทางประมาณ 5-6 กม. อีกเหตุการณ์หนึ่งเคยมีเด็กไปเด็ดดอกไม้ในบริเวณวิหารเล่นก็เกิดอาการปวดท้องและร้องไห้อย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ ผู้เฒ่าผู้แก่จึงแนะนำให้จุดธูปบอกขอขมาลาโทษต่อหลวงพ่อเสีย เมื่อปฏิบัติตามนั้นแล้วปรากฏว่าเด็กก็นิ่งเงียบหายเจ็บปวดในทันที ว่ากันว่าแม้กระทั่งใครไปปัสสาวะในบริเวณนั้นต้องถึงกับองคชาตบวมทุกรายไป  ชาวบ้านทางแถบหันคาเคยเข้ามาจับอึ่งจับกบบริเวณวิหารเมื่อกลับถึงบ้านต่างก็เจอกับอาถรรพ์กันถ้วนหน้า กล่าวคือเมื่อถึงบ้านแล้วเปิดตะข้องที่ใส่อึ่งใส่กบออกดูปรากฎว่าเห็นดวงตาของกบอึ่งเหล่านั้นมีแสงแดงโร่ พราวตะข้องไปหมดเมื่อเห็นดังนั้นเข้าก็ตกใจกลัวเป็นอย่างมากจนต้องรีบเอามาปล่อยคืนทั้งหมด อาจารย์วัฒน์เคยบวชเป็นพระแล้วมาปกครองวัดช้างเผือกอยู่ระยะหนึ่งแล้วก็สึกหาลาเพศไป แต่ตอนไปไม่ได้ไปมือปล่าวดันแอบเอาเล็บของหลวงพ่อติดตัวไปด้วย แกเอาไปได้ไม่นานแล้วคงจะเจอแรงอาถรรพ์อย่างใดอย่างหนึ่งภายหลังจึงต้องเอามาคืน


* P2160335.jpg (56.12 KB, 500x375 - ดู 13433 ครั้ง.)

* P2160331.jpg (52.74 KB, 500x729 - ดู 13137 ครั้ง.)

* P5260041.jpg (57.89 KB, 500x375 - ดู 13064 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
ฝุ่นดิน
สืบสานประวัติศาสตร์และส่งเสริมความภาคภูมิใจในระดับท้องถิ่น
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


084-7208460


« ตอบ #8 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2010, 03:11:09 PM »

ส่วนช้างเผือกด้านหน้าท่านก็พิถีพิถันลงอาถรรพ์ต่างๆเอาไว้ ท่านสู้อุส่าห์เดินทางไปเอามวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่วัดหูช้าง ซึ่งวัดหูช้างนี้ก็เป็นวัดที่มีความเป็นมาเกี่ยวกับช้างเช่นกัน ดังจะมีรูปปั้นช้างที่เล่าลือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์นักหนาชาวบ้านเรียกกันว่า “หลวงพ่อขาว” หลวงพ่อพริ้งได้นำดินผงธูปเทียนดอกไม้บายศรีเครื่องสักการะต่างๆและวัตถุอาถรรพ์หลายอย่างจากวัดหูช้างมาทำพิธีให้กับช้างของท่าน ปรากฎว่าต่อมาภายหลังช้างปูนปั้นตัวนี้เสมือนมีตัวตนอยู่จริง ได้แสดงอภินิหารเป็นตัวเป็นตนให้ชาวบ้านได้พบเห็นจนมาถึงยุคปัจจุบันที่รถบรรทุกอ้อยทุกคันที่ผ่านก็จะต้องบีบแตรให้ บ้างก็โยนอ้อยไว้เป็นเครื่องสักการะ  ชาวบ้านให้ความศรัทธานับถือกันยิ่งนัก ดังจะมีอ้อย กล้วย น้ำ และพวงมาลัยที่ชาวบ้านนำมาเป็นเครื่องสักการะกันอยู่มิได้ขาด บ้างก็บนบานศาลกล่าว บ้างก็ถูกเข้าฝันบันดาลโชค สาระพัดเหตุที่จะเป็นไป 
ในระหว่างที่สร้างวัดอยู่นั้นท่านได้นิมิตเห็นเป็นสมบัติอยู่ที่ดงช้างรำ ซึ่งอยู่ไม่ไกลมากนักจากวัดช้างเผือก หลวงพ่อและหมู่คณะจึงได้พากันไปทำพิธีที่ดงช้างรำ โดยกำชับให้ทุกคนถือศีลแปดให้บริสุทธิ์ เมื่อลงมือขุดก็พบเศษของเก่าถ้วยโถโอชาม ศาสตราวุธเป็นจำนวนมาก และก็พบสมบัติซึ่งเป็นข้าวของเครื่องใช้เครื่องประดับที่ทำจากทองคำตามที่เห็นในนิมิตอยู่จริง แต่ด้วยเห็นว่าพลบค่ำแล้ว จึงนัดหมายให้ในวันรุ่งขึ้นค่อยทำการจัดแจงนำขึ้นมา แต่เมื่อแยกย้ายกันกลับไปแล้วชายผู้หนึ่งที่หลวงพ่อให้วิรัติศีลและนำเข้าพิธีด้วย ดันไปหลับนอนกับภรรยาของตนเสียก่อน พอรุ่งเช้าเริ่มพิธีอีกครั้งทันทีเมื่อชายผู้นี้ก้าวเข้ามาในวงสายสิญจน์ปรากฏว่าอยู่ๆก็เกิดเสียงดังลั่นเหมือนแผ่นดินแยกออกจากกันแล้วทองทั้งหมดก็เคลื่อนที่มุดลงดินไปต่อหน้าต่อตา สร้างความตะลึงงันให้แก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก เมื่อพบว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ภายหลังชาวบ้านจึงจัดให้มีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้าของสถานที่ที่คอยดูแลปกปักษ์รักษาสถานที่และเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของชาวบ้านที่อยู่อาศัยในแถบนั้นด้วย ชาวบ้านได้ร่วมมือกันสร้างศาลขึ้นเรียกกันว่าศาลเจ้าพ่อขุนด่าน(แต่ตามความเชื่อของชาวบ้านนั้นว่ากันว่ามีเจ้าพ่อทั้งหมด 3 องค์คือ เจ้าพ่อขุนด่าน เจ้าพ่อด่านดง เจ้าพ่อพงษ์ด่าน )และจัดให้การทำบุญประจำปีขึ้นเป็นประเพณีในทุกๆเดือนหก ขึ้นหกค่ำของทุกปี เมื่อคราวที่หลวงพ่อไปทำบุญครั้งแรกปรากฏว่าพื้นดินทั้งหมดเต็มไปด้วยมดแดงป่า แต่ที่ที่หลวงพ่อนั่งอยู่นั้นปรากฏว่ามดแดงแหวกทางให้ท่านเป็นวงกลมรอบๆตัวท่านสร้างความอัศจรรย์ให้แก่ชาวบ้านที่อยู่ในพิธีเป็นอย่างยิ่ง


* P2160350.jpg (56.83 KB, 500x667 - ดู 13257 ครั้ง.)

* P2160351.jpg (57.5 KB, 500x667 - ดู 13082 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
ฝุ่นดิน
สืบสานประวัติศาสตร์และส่งเสริมความภาคภูมิใจในระดับท้องถิ่น
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


084-7208460


« ตอบ #9 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2010, 03:15:23 PM »

ด้วยความกระเดื่องในเรื่องฤทธิ์ของท่านนี้เป็นที่เชื่อถือกันมากในแวดวงทหารตำรวจ โดยเฉพาะทหาร ถึงขนาดที่ว่านายทหารยศระดับนายพลท่านหนึ่งของประเทศลาวเคยอาราธนานิมนต์ท่านไปยังประเทศของตน หลวงพ่อพระครูศักดิ์ วัดบ่อแร่เล่าให้ฟังว่าการข้ามไปฝั่งลาวในคราวนั้นสร้างชื่อเสียงให้แก่ท่านเป็นอย่างมาก เหตุเพราะนายพลท่านนั้นทำการทดลองอานุภาพตะกรุดของหลวงพ่อโดยเอาตะกรุดทั้งเส้นพันเข้ากับลูกระเบิดแล้วถอดสลักขว้างออกไป ผลปรากฎว่าระเบิดมือที่มีอานุภาพในการทำลายล้างสูงกลายเป็นลูกน้อยหน่าไปโดยฉับพลัน เมื่อกลไกของลูกระเบิดไม่ทำงาน ลูกระเบิดไม่ดังแต่หลวงพ่อดังยิ่งกว่าระเบิด พระมหาเปรียญของประเทศลาวที่อยู่ในเหตุการณ์ในขณะนั้นถึงกับขอติดตามท่านมายังเมืองไทยเพื่อศึกษาวิชาจากท่าน
ท่ามกลางดงเสือดงจระเข้ในแถบบ้านป่าผาดอนอย่างบ้านโพธิ์ทองในสมัยก่อนนั้น ถ้าหากพระสงฆ์องค์เจ้าที่มาอยู่ไม่แน่จริง เป็นอันต้องเผ่นแนบเป็นแน่แท้ แม้แต่หลวงพ่อตอนที่ท่านมาอยู่วัดช้างเผือกใหม่ๆก็ยังไม่วายที่จะถูกลองดี คงจะเป็นพวกเสือในแถบนั้นมันคงคิดจะลองวิชาท่าน ท่านเล่าให้ผู้ใหญ่วนฟังว่า “เมื่อคืนสงสัยมีคนมาแอบยิงข้าว่ะ เสียงดังเปรี๊ยะๆข้าก็เอาไฟฉายส่อง มันก็วิ่งแน่บไป” ถือว่าหลวงพ่อท่านผ่านด่านแรกไปได้อย่างสบายๆ  ไม่ใช่เฉพาะเรื่องปืนผาหน้าไม้เท่านั้นในด้านความอยู่ยงคงกระพันก็เช่นกันเชื่อกันว่าหลวงพ่อสำเร็จวิชาคงกระพันขั้นสูงเลยทีเดียว เพราะทุกครั้งที่ท่านป่วยไม่ว่าใครก็ไม่สามารถทิ่มเข็มให้ทะลุผิวหนังของท่านได้นอกจากท่านจะฉีดของท่านเอง แม้แต่เส้นผมหนวดเคราท่านก็อยู่คงต่อคมมีดโกนด้วยเช่นกันทุกวันปลงท่านจะต้องทำการปลงผมของท่านเองทุกครั้ง ในสมัยนั้นอาจารย์สักยันต์ที่ไหนดังๆท่านมักจะไปลองเสมอ สุดท้ายอาจารย์สักเหล่านั้นก็ต้องยอมสิโรราบต่อหลวงพ่อถึงกับขอเป็นศิษย์บ้างก็มี เหตุเพราะไม่ว่าจะแทงเข็มสักอย่างไรปลายเข็มอันแหลมคมก็ไม่สามารถทะลุผ่านผิวหนังของท่านไปได้      หลวงพ่อพระครูศักดิ์ วัดบ่อแร่ เล่าว่าสมัยที่หลวงพ่อพริ้งท่านมาจำวัดที่บ่อแร่ท่านเคยแสดงวิชาชักสังวาลย์ให้ดู คาถาของท่านจะออกเสียงเป็นภาษาแขก เมื่อท่านบริกรรมคาถาขนตามเนื้อตามตัวของท่านจะลุกซู่ชูชันอย่างเห็นได้ชัด แม้แต่หมาวัดที่ได้กินข้าวก้นบาตรของท่านก็ยังยิงไม่เข้า เรื่องหมาวัดหนังเหนียวนี้ชาวบ้านหนองไม้แก่นรู้กันดีเพราะได้เคยไล่ยิงกันมาแล้ว แต่ทั้งนั้นก็ด้วยไม่รู้ว่าเป็นหมาของหลวงพ่อนั่นเอง ส่วนทางด้านลาภลอยเล่าลือกันว่าหลวงพ่อก็ฉมังนักในการให้หวย วิธีการให้ของท่านมักจะเป็นการบอกตัวเลขแบบตรงๆเลยไม่ต้องอ้อมค้อมหรือบอกใบ้เป็นนัยๆแบบคณาจารย์ท่านอื่นๆ


* P5260046.jpg (52.29 KB, 500x375 - ดู 12969 ครั้ง.)

* P5260047.jpg (57.51 KB, 500x375 - ดู 13452 ครั้ง.)

* P5260007.jpg (57.7 KB, 500x483 - ดู 12972 ครั้ง.)

* P2030085.jpg (54.9 KB, 500x356 - ดู 12944 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
ฝุ่นดิน
สืบสานประวัติศาสตร์และส่งเสริมความภาคภูมิใจในระดับท้องถิ่น
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


084-7208460


« ตอบ #10 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2010, 03:23:37 PM »

เมื่อครั้งไฟไหม้ตลาดบางกะปิ ตึกรางบ้านช่องถูกอำนาจพระเพลิงเผาผลาญเสียจนราบเป็นหน้ากลอง ที่เหลืออยู่บ้างก็ดำเป็นตอตะโก มีตึกตั้งเด่อยู่เพียงหลังเดียวที่ไม่มีร่องรอยแม้กระทั่งรอยควันไฟ เชื่อกันว่าที่ตึกหลังนี้รอดจากอำนาจแห่งเปลวไฟมาได้ราวกับปาฏิหาริย์นั้นเป็นเพราะอานุภาพแห่งรูปขนาดบูชาของหลวงพ่อที่เจ้าของตึกตั้งไว้บนหิ้งบูชาเพียงรูปเดียว
เรื่องราวเกี่ยวกับไฟนี้เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อลุงบัติมาทำความสะอาดวัด เนื่องจากมีสภาพที่รกมากอย่างกับวัดร้างเลยทีเดียว แกจึงตั้งใจจะเผาปราบหญ้าที่ขึ้นรกรุงรังอยู่นั้นให้ราบไปก่อน พอดีมีกองฟางอยู่กองหนึ่งแกจึงเริ่มด้วยการจุดไฟที่กองฟางนั้นเป็นอันดับแรก สัตกรรมมีลมบ้าหมูพัดเข้ามาแล้วหอบเอาเศษฟางที่กำลังติดไฟอยู่นั้นไปตกกระจายในที่ต่างทั่วบริเวณวัด ด้วยความตกใจและคิดดูแล้วว่าลำพังกำลังของลุงแกคนเดียวยังไงเสียก็ดับไม่ไหว จึงได้บอกกล่าวกับหลวงพ่อให้ช่วยดับไฟด้วย ในขณะที่ลุงบัติมัวแต่ก้มหน้าก้มตาเอาก้านสะเดาดับไฟที่ลุกลามในจุดที่ไกล้ตัวอยู่พักใหญ่ เมื่อเงยหน้าขึ้นมาเพื่อแลดูว่าจุดอื่นๆจะลุกลามมากสักแค่ไหน  เป็นที่อัศจรรย์ไฟในจุดอื่นๆทั่วบริเวณวัดมอดดับลงไปเองอย่างเหลือเชื่อ โดยเฉพาะสิ่งก่อสร้างต่างๆที่เป็นของวัดไม่มีร่องรอยของไฟเข้ามาแผ้วพานเลย ที่สำคัญข้างๆวิหารหลวงพ่อซึ่งเต็มไปด้วยหญ้าแฝกก็รอดพ้นจากเปลวเพลิงไปได้ ด้านหลังวัดมียุ้งถ่านผุๆอยู่หลังหนึ่งซึ่งพร้อมจะเป็นเชื้อไฟได้อย่างดี แต่ก็อัศจรรย์มีรอยไฟลุกลามมาจนจวนจะถึงอยู่แล้วห่างเพียงแค่คืบมือเดียวเท่านั้นก็ดับลง จึงเชื่อกันว่าเรื่องไฟนี่หลวงพ่อน่าจะถนัด
ส่วนเรื่องลมนั้นหลวงพ่อก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเรื่องไฟเลย ในสมัยที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่จัดงานในวัดทีไรเมื่อเลิกงานแล้วก็จะเหลือร่องรอยอารยธรรมไว้ให้เห็นเกลื่อนไปหมดนั่นก็คือพวกเศษขยะ เศษถุง เศษกระดาษสาระพัด พอพวกกรรมการทำท่าจะกวาดท่านกลับบอกห้ามว่า “ไม่ต้องละหนะ..เดี๋ยวลมมันก็พัดของมันไปเองแหละ” ซักประเดี๋ยวก็มีลมพัดหอบเอาไปหมดอย่างท่านว่าของท่านจริงๆ


* P2160306.jpg (56.5 KB, 500x708 - ดู 13420 ครั้ง.)

* P2160312.jpg (58.16 KB, 500x507 - ดู 12921 ครั้ง.)

* P2160313.jpg (57.34 KB, 500x506 - ดู 12854 ครั้ง.)

* P2160314.jpg (58.07 KB, 500x511 - ดู 12937 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
ฝุ่นดิน
สืบสานประวัติศาสตร์และส่งเสริมความภาคภูมิใจในระดับท้องถิ่น
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


084-7208460


« ตอบ #11 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2010, 03:29:21 PM »

เหรียญเสมารูปท่านซึ่งออกในปี พ.ศ.2514 ด้านหลังระบุไว้ว่ารุ่นหนึ่ง เป็นรุ่นที่สร้างไว้ตั้งแต่ท่านยังอยู่ที่วัดสามัคคีธรรม ร่ำรือกันว่าขนาดเด็กที่ห้อยเหรียญของท่านพลาดท่าตกลงไปในลำคลองแต่กลับไม่จมน้ำ จนเป็นเรื่องกล่าวขานกันอย่างกว้างขวาง
เครื่องรางของท่านถือได้ว่าเป็นที่นิยมกันอยู่มากในสมัยนั้น(ช่วงประมาณปี พ.ศ. 2515)  แหวนของท่านร่ำลือกันในเรื่องของแคล้วคลาดนิรันตราย แต่ที่เด่นชัดที่สุดคือเรื่องของเขี้ยวงาชาวบ้านว่ากันว่าชะงัดนัก ผู้ที่นำแหวนของท่านไปบอกบุญเล่าว่าในสมัยนั้นเจ๊กในตลาดวัดสิงห์กล้าทำบุญถึงวงละ 1,000 บาทเลยทีเดียว(มีอยู่ 3 รายที่ซื้อแต่จำได้แค่ร้านทองแม่กิมหรั่น)
ครั้งหนึ่งหลวงพ่อมอบตะกรุดให้ลุงบัติมาสามดอกเพื่อให้มาบอกบุญ ในขณะที่ลุงบัติพักอยู่ที่วัดสิงห์สถิตมีเสือ 2 คนหนีตำรวจเข้ามาหลบซ่อนตัวอยู่ในวัด พอมันรู้ว่าลุงบัติมีตะกรุดหลวงพ่อพริ้งอยู่มันจึงขอทำบุญกันไป 1 ดอกเป็นเงิน 500 บาท หลังจากนั้นไม่นานตำรวจก็ตามมาพบทำการล้อมจับอยู่รอบวัด ไอ้เสือสองตัวรู้ว่าตำรวจล้อมต่างก็ยื้อแย่งตะกรุดกัน ไอ้คนหนึ่งได้ดอก ไอ้คนหนึ่งได้สาย แล้วมันก็วิ่งฝ่าวงล้อมออกไปตำรวจที่ล้อมจับอยู่ก็ระดมยิงใส่ไอ้เสือร้ายทั้งสองตัว สาดกระสุนออกไปเป็นห่าฝนแต่ปรากฏว่าไม่มีกระสุนนัดใดแตะต้องร่างกายของเจ้าเสือสองตัวนั้นได้เลย เสือสองตัวนั้นฝ่าวงล้อมตำรวจหลบหนีไปได้ต่อหน้าต่อตาตำรวจหลายสิบนาย ข่าวนี้แพร่สะพัดออกไปจนทำให้ สส.ประสิทธิ์ ดอนโพธิ์งาม มาขอบูชาไปหนึ่งดอกให้ค่าบูชาไว้ 2,500 บาท และเจ๊กในตลาดวัดสิงห์เอาไปอีกหนึ่งดอกให้ค่าบูชาไว้ 1,000 บาท
ลุงบัติเองไม่เคยได้รับแจกของอะไรจากหลวงพ่อเลย มีอยู่คราวหนึ่งลุงบัติแกโดนหมายเรียกเป็นกองหนุน จึงอยากจะไปขอของดีจากหลวงพ่อเพื่อนำติดตัวไปบ้าง แต่เมื่อก้มลงกราบหลวงพ่อกลับถุยน้ำลายใส่หัว แล้วแถมถีบให้อีกหนึ่งที ลุงบัติโมโหจึงเดินกลับบ้านไปด้วยความไม่พอใจ แต่ทุกครั้งที่ได้เผชิญหน้ากับศัตรู ก็มีเหตุให้แคล้วคลาดอยู่เสมอ ลุงบัติจึงหายโกรธหลวงพ่อ แต่กลับรู้สึกเป็นหนี้ชีวิตต่อหลวงพ่อแทน ที่อุส่าห์ถุยน้ำลายและประเคนฝ่าเท้าให้ในครั้งนั้น


* P5280001.jpg (57.47 KB, 500x753 - ดู 12865 ครั้ง.)

* P5280003.jpg (57.21 KB, 500x707 - ดู 12868 ครั้ง.)

* P2160366.jpg (50.05 KB, 500x434 - ดู 14347 ครั้ง.)

* P2160367.jpg (56.23 KB, 500x477 - ดู 12726 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
ฝุ่นดิน
สืบสานประวัติศาสตร์และส่งเสริมความภาคภูมิใจในระดับท้องถิ่น
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


084-7208460


« ตอบ #12 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2010, 03:36:24 PM »

ส่วนชาวบ้านทั่วๆไปที่ไม่ได้ไปสู้รบปรบมือกับใครและยังไม่มีวิบากกรรมรุนแรงใดใดนั้นก็มักจะได้รับประสบการณ์ทางด้านแคล้วคลาดจากภยันอันตรายต่างๆเป็นส่วนมาก  เมื่อท่านมาอยู่ที่วัดช้างเผือกราวๆปี พ.ศ.2520ท่านได้จัดสร้างรูปถ่ายติดเหรียญบาทแจกจ่ายให้กับชาวบ้าน ก่อให้เกิดประสบการณ์ขึ้นอย่างมากมาย ยกตัวอย่างเช่นประสบการณ์ของนางสาวพายัพลูกสาวผู้ใหญ่บ้านถูกฟ้าผ่าจนกระทั่งล้มทั้งยืน นอนแน่นิ่งไม่ไหวติงชาวบ้านเห็นดังนั้นก็เข้าใจว่าเสียชีวิตอย่างแน่นอนจึงรีบไปตามญาติพี่น้อง เมื่อญาติมาถึงที่เกิดเหตุเห็นร่างของนางสาวพายัพนอนแน่นิ่งอยู่เช่นนั้นต่างก็เศร้าโศกเสียใจถึงกับร้องไห้โฮออกมา ท่ามกลางวงล้อมของความเศร้าโศก ปาฏิหาริย์เหนือธรรมชาติก็เกิดขึ้น เมื่อร่างของนางสาวพายัพค่อยๆขยับ ทันทีที่พอจะรู้สึกตัวบ้างคำแรกที่หลุดออกจากปากคือสิ่งที่เธอนับถือที่สุด นางสาวพายัพร้องออกมาว่า “หลวงพ่อพริ้งช่วยด้วย” ทันใดนั้นนางสาวพายัพก็ได้ฟื้นคืนสติลุกขึ้นมาโดยที่ไม่มีอาการว่าจะได้รับอันตรายทางร่างกายแต่อย่างใดเลย สร้างความตื่นตะลึงให้กับบรรดาญาติและผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง ทุกคนต่างมั่นใจว่าการรอดชีวิตจากพลังอำนาจของสายฟ้าฟาดมาได้ราวปาฏิหาริย์ของนางสาวพายัพนี้เป็นเพราะอานุภาพรูปเหรียญบาทของหลวงพ่อพริ้งที่นางสาวพายัพคล้องติดตัวอยู่เพียงเหรียญเดียว
ในด้านอุปนิสัยใจคอหลวงพ่อท่านเป็นพระที่มีอุปนิสัยที่ค่อนข้างจะหนักไปทางคนจริง คนกล้าในสมัยนั้น กล่าวคือเป็นผู้มีน้ำใจกล้าหาญ รักษาสัจจะพูดคำไหนคำนั้น ตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อมและปราศจากมายา  สันโดษ ไม่ยึดติดในลาภยศ สมถะเรียบง่ายสังเกตได้จากกุฏิที่พักของท่านก็พอใจที่จะอยู่แบบปอนๆเพียงหลังคามุงแฝกส่วนฝาก็เอาใบหูกวางขัดแตะไว้เท่านั้น ถึงแม้ภายนอกท่านจะดูไม่ค่อยนิ่มนวลเท่าไรนัก ซึ่งเป็นอุปนิสัยตามแบบฉบับของพระบ้านนอกทั่วๆไป แต่จิตใจของท่านก็มีเมตตาธรรมเป็นอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นของกินของใช้หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ท่านมี ท่านมักจะหยิบยื่นสิ่งเหล่านี้ให้แก่ชาวบ้านเสมอ  แม้แต่พวกเด็กๆทั้งเด็กที่ครอบครัวยากจนบ้าง เด็กกำพร้าบ้าง และแม้แต่พวกเด็กเกเรไม่เอาถ่าน ท่านก็จะนำมาบวชเณรให้การอุปการะอบรมสั่งสอนและส่งเสริมให้มีการศึกษาจนกระทั่งหลายต่อหลายคนได้ดิบได้ดีในเวลาต่อมา  อีกประการหนึ่งนั้นท่านเป็นผู้ที่ชื่นชอบในความสงบ ชาวบ้านกล่าวว่าส่วนมากมักจะเห็นท่านนั่งเคี้ยวหมาก จารตะกรุด ทำพระ ลงอักขระของท่านเป็นกิจวัตรเวลาท่านทำนั้นถ้าไม่ถามท่านก็จะไม่พูด
จริงๆแล้วการลงยันต์จารตะกรุดเขียนผงลบผงนี้ก็จัดว่าเป็นสมาธิวิธีทางหนึ่งด้วย ที่ท่านถือปฏิบัติก็อาจเป็นเพราะเป็นสมาธิวิธีที่ถูกกับจริตท่าน คือเมื่อท่านถือปฏิบัติแล้วก็ก่อให้เกิดสมาธิจิตได้โดยง่ายท่านจึงถือปฏิบัติเรื่อยมาผู้เขียนไม่ได้เห็นว่าเป็นเรื่องของไสยศาสตร์ความงมงายแต่ถ่ายเดียว
บางคืนท่านก็ไม่ได้จำวัดในกุฏิแต่ท่านมักจะไปปักกลดตามป่าหลังวัด ส่วนกลางวันนั้นก็ไม่เคยเห็นว่าท่านจะจำวัดเลย ส่วนการจำวัดช่วงกลางคืนท่านก็มักจะจำวัดในท่าตะแคงเสมอ เรื่องการขบฉันนั้นก็เป็นเรื่องง่ายๆมีอะไรก็ฉันอย่างนั้นไม่เคยได้ยินคำติบ่นแต่อย่างใด แต่ถ้าจะให้เจริญอาหารสักนิดเป็นที่รู้กันในหมู่คนใกล้ชิดว่าท่านชอบกุ้ง เช่นต้มยำกุ้งหรือไม่ก็กุ้งแช่น้ำปลา แต่เมื่อท่านมาอยู่ที่วัดช้างเผือกซึ่งเป็นบ้านป่าผาดอยนี้ท่านชอบใจใบมะกอกย่างจิ้มน้ำพริกผัด มาในระยะหลังๆท่านไม่ค่อยฉัน คือถ้าฉันก็ฉันน้อยมาก ถ้าฉันเช้าแล้วก็ไม่ฉันเพล หรือถ้าฉันเพลเช้าก็ไม่ฉัน บางวันถึงกับก็ไม่ฉันเลยก็มี มักจะเน้นหนักไปในด้านสวดมนต์นั่งภาวนามากขึ้น ช่วงกลางวันก็มักจะเห็นท่านนั่งบริกรรมนับลูกประคำอยู่เป็นนิจ  เรื่องสวดมนต์หรือการท่องบ่นทั้งมนต์พิธีและมนต์คาถาไม่ว่าจะบทสั้นบทยาวยากง่ายอย่างไรท่านท่องจำได้ทุกบท ในด้านความจำของท่านนั้นถือว่าเป็นเลิศ ก่อนจะจำวัดท่านก็จะสวดด้วยเสียงอันดังฟังชัดนานร่วม 2-3 ชั่วโมงทุกคืนไป


* P5160034.jpg (58.9 KB, 500x612 - ดู 12736 ครั้ง.)

* P5160035.jpg (58.62 KB, 500x647 - ดู 12971 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
ฝุ่นดิน
สืบสานประวัติศาสตร์และส่งเสริมความภาคภูมิใจในระดับท้องถิ่น
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


084-7208460


« ตอบ #13 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2010, 03:39:53 PM »

แม้หลวงพ่อจะชราภาพมากแล้ว แต่ที่เป็นที่น่าสังเกตก็คือเส้นผมของท่านยังคงดำเมี่ยม ฟันก็ไม่โยกไม่หักซักซี่ คำว่าหูฟ่าตาฟางตามประสาคนแก่ไม่มีเกิดขึ้นกับท่าน เพิ่งมาช่วงหลังๆที่ท่านเริ่มมีอาการเหนื่อยง่ายอยู่บ่อยครั้ง จึงได้รับการเข้าตรวจและพบว่าเป็นโรคหัวใจโต แต่ท่านก็ยังคงมุ่งหน้าพัฒนาวัดช้างเผือกโดยไม่ใส่ใจรักษาปล่อยให้เป็นไปตามสภาพของสังขาร ก่อนที่ท่านจะมรณะภาพ ท่านมาหาคุณตาจรุญและบอกให้เอาเงินมาห้าพันบาทเพื่อจะนำไปซื้อโต๊ะหมู่บูชาที่กรุงเทพฯ เมื่อท่านหาซื้อโต๊ะหมู่บูชาได้ดังใจท่านแล้ว ท่านก็เลยไปซื้อแผ่นโลหะเพื่อนำมาทำตะกรุดให้กับศิษย์ของท่าน  แต่และแล้วความตายที่ไม่มีเครื่องหมายบอกเวลา ว่าผู้นั้นจะตายเวลาเท่านั้นในสถานที่นั้น ผู้นี้จะตายในเวลาเท่านี้ในสถานที่นี้ แม้คณาจารย์หลายๆท่านจะสำเร็จฤทธิ์อภิญญาล่วงรู้วันตายได้ แต่อำนาจฤทธิ์ไม่ว่าจะมากมายสักเพียงไหนก็ไม่สามารถจะปฏิเสธหรือแม้แต่จะต่อรองได้ หลวงพ่ออาการกำเริบและมรณภาพกระทันหันเสียตั้งแต่ยังไม่ทันกลับจากกรุงเทพฯ รู้ข่าวอีกทีก็ต่อเมื่อท่านมรณะภาพแล้วที่ รพ.นนทบุรี เมื่อวันที่1ธันวาคม 2522 รวมศิริอายุได้ 77 ปี ศพของท่านตั้งบำเพ็ญกุศลไว้ที่วัดบางขวาง ชาวบ้านโพธิ์ทองและบรรดาลูกศิษย์ต่างรู้สึกใจหายและเสียใจเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าพื้นเพเดิมท่านจะไม่ใช่คนบ้านโพธิ์ทอง ไม่มีรกรากเกี่ยวข้องเป็นเครือญาติกับใครโดยตรง แม้ว่าท่านจะมีความสัมพันธ์กับชาวบ้านเพียงแค่ 5 ปีเศษๆก็ตาม แต่เมื่อทุกคนทราบข่าวการจากไปของท่าน หลายๆคนถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ต่างอาวรณ์อาลัยในอุปการะและพระคุณของท่านที่มีอยู่อย่างเต็มดวงจิตดวงใจของชาวบ้านโพธิ์ทองทุกผู้ทุกนาม ศพของหลวงพ่อเริ่มจะเป็นปัญหาเมื่อญาติของท่านทางแถบอุบลราชธานีก็มีความประสงค์จะนำศพของท่านกลับไปเช่นกัน ในการสวดอภิธรรมคืนที่สี่คุณตาจรุญจึงตัดสินใจใช้วิธีประชาธิปไตยโดยให้แสดงความเห็นโดยการยกมือแล้วพิจารณาเอาเสียงข้างมาก ว่าบรรดาลูกศิษย์ของท่านจะเห็นควรอย่างไรซึ่งลูกศิษยส่วนใหญ่ที่มาร่วมงานในครั้งนั้นได้แก่คณะลูกศิษย์ท่านในกรุงเทพฯ ผลโหวดการแสดงความคิดเห็นเพื่อจะนำศพของหลวงพ่อกลับมาในครั้งนั้น ปรากฏว่าลูกศิษย์เกือบทั้งหมดยินยอมให้นำกลับมาที่วัดช้างเผือก อีกฝ่ายมีเพียง 7 เสียงเท่านั้น จึงเป็นมติเอกฉันท์ว่าศพของท่านจะได้กลับมาคู่บุญคู่บารมีของวัดช้างเผือกอีกครั้งสมดังเจตนารมณ์ของท่าน ซึ่งหลวงพ่อมีความตั้งใจมาแต่เดิมแล้วที่จะให้ศพของท่านอยู่ที่วัดช้างเผือกนี้ ท่านจึงได้สร้างวิหาร 2 ชั้นขึ้นอีกหลังติดกันกับวิหารหลวงพ่อพุทธโคดมทางด้านหลัง โดยด้านบนทำเป็นหลังคาจัตุรมุขกึ่งกลางทำเป็นยอดเจดีย์ตั้งไว้ ชั้นบนนี้แต่เดิมมีพระพุทธรูปโบราณศิลปะเชียงแสนที่นำมาจากวัดปากคลองฯประดิษฐานอยู่ ส่วนชั้นล่างคือชั้นที่ท่านตั้งใจจะเอาไว้ตั้งศพของท่าน


* P2030053.jpg (58.25 KB, 500x687 - ดู 12698 ครั้ง.)

* P2030054.jpg (56.89 KB, 500x376 - ดู 12574 ครั้ง.)

* P2030045.jpg (58.61 KB, 450x588 - ดู 12736 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
ฝุ่นดิน
สืบสานประวัติศาสตร์และส่งเสริมความภาคภูมิใจในระดับท้องถิ่น
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


084-7208460


« ตอบ #14 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2010, 03:42:30 PM »

หลังจากหลวงพ่อมรณะภาพผ่านมาแล้วประมาณ 3 ปีคือในปี พ.ศ.2525 มีชาวบ้านบางกลุ่มมีความเห็นว่าควรจะทำการฌาปนกิจร่างของหลวงพ่อให้เรียบร้อยต้องตามประเพณีนิยมโดยทั่วไป ในครั้งนั้นมีพระครูสำราญ วัดปากคลองฯเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ แต่สิ่งเหลือเชื่อก็เกิดขึ้นท่ามกลางสายตาของชาวบ้าน เมื่อหลวงพ่อสำราญทำการเปิดฝาโลงออกแล้ว พบว่าสภาพศพของหลวงพ่อนั้นไม่เน่าเปื่อยแต่อย่างใดและไม่เปลี่ยนสภาพไปจากเดิมมากนัก ยิ่งไปกว่านั้นผมและเล็บของท่านก็ยังงอกยาวออกมาได้ด้วย สมกับคำที่หลวงพ่อเคยกล่าวกับลูกศิษย์แบบทีเล่นทีจริงไว้ว่า “ถ้ากูตายพวกมึงจะเผากูไม่ไหม้แล้วอย่ามาว่ากันนะ”เมื่อเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของชาวบ้านดังนั้นแล้ว จึงยกเลิกความคิดที่จะฌาปนกิจศพท่าน แต่ด้วยสภาพความยากจนของหมู่บ้านจึงไม่มีใครคิดจะปรนนิบัติต่อศพท่านให้ยิ่งไปกว่านั้น ยังคงใส่โลงไม้แล้วปิดฝาไว้เช่นเดิม
หลังจากที่หลวงพ่อได้มรณะภาพมาแล้วร่วม 15 ปี วัดก็ถูกทิ้งร้าง ไม่มีผู้ดูแลอย่างเป็นกิจจะลักษณะ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2537 ในสมัยพระอาจารย์ธนวัฒน์มาปกครอง ได้ทำการตรวจตราสภาพวัดโดยทั่วๆไป และเมื่อเข้ามายังวิหารหลังที่เก็บศพของหลวงพ่อเห็นว่าฝาโลงถูกเปิดอยู่ก่อนแล้วจึงได้เปิดฝาโลงออกดู และเห็นว่าสรีระของหลวงพ่อมิได้เน่าเปื่อยแต่อย่างไรแต่กลับแห้งและแข็งแทบจะเป็นหินอยู่แล้ว จึงเห็นว่าควรปฏิบัติต่อสรีระของหลวงพ่อให้เหมาะสม ในปี พ.ศ. 2538 จึงได้ทำการเคลื่อนย้ายสรีระของหลวงพ่อมาบรรจุไว้ในโลงแก้วแล้วนำมาตั้งไว้บนศาลา ในช่วงนั้นเกิดเรื่องราวที่ต้องเรียกว่าปาฏิหาริย์เป็นอย่างมาก ผู้คนจากทั่วสารทิศต่างหลั่งไหลกันมาให้ความร่วมมือช่วยเหลือโดยมิได้บอกกล่าว หลายๆคนพูดตรงกันว่าหลวงพ่อไปเข้าฝัน ซึ่งทั้งๆที่ตนไม่เคยรู้จักหลวงพ่อมาก่อน แต่เมื่อมาได้เห็นรูปภาพของหลวงพ่อแล้วต่างก็ยืนยันว่าตรงกันกับภาพนิมิตที่ปรากฏในความฝันของตน วันดีคืนดีก็ปรากฎเป็นดวงไฟซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าลอยวนเวียนบริเวณโลงแก้วและบริเวณใกล้เคียงอยู่หลายครั้งหลายคราว
จึงเชื่อกันว่ายังคงมีพลังอำนาจเหนือธรรมชาติของหลวงพ่อที่คอยปกปักษ์รักษาศาสนสถานวัดช้างเผือกแห่งนี้และยังคอยให้ความอนุเคราะห์ต่อบรรดาศิษยานุศิษย์และคณะศรัทธาทั้งใกล้-ไกลอย่างไม่มีประมาณ ผู้ใดมีความประพฤติปฏิบัติอยู่ในทำนองครองธรรมหลวงพ่อไม่เคยทอดทิ้งท่าน อีกทั้งยังจะคอยอภิบาลรักษาและเกื้อกูลหนุนส่งให้ท่านทั้งหลายประสบพบเจอแต่ความเจริญรุ่งเรืองสืบไป ถึงแม้รูปธรรมของท่านจะแตกดับไปตามธรรมดา แต่นามธรรมอันทรงคุณของท่านยังคงอยู่คู่ “พุทธะเทวาสถาน สีดอกไม้เรืองฤทธิ์”ตามเจตนารมณ์ของท่านอย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย


* P2030032.jpg (100.04 KB, 472x547 - ดู 12513 ครั้ง.)

* P2030038.jpg (58.22 KB, 500x667 - ดู 12635 ครั้ง.)

* P2160335.jpg (56.12 KB, 500x375 - ดู 12384 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
ฝุ่นดิน
สืบสานประวัติศาสตร์และส่งเสริมความภาคภูมิใจในระดับท้องถิ่น
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


084-7208460


« ตอบ #15 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2010, 03:46:13 PM »

                                                 รายการวัตถุมงคล
                                        หลวงพ่อพริ้ง ถาวโร วัดช้างเผือก

1.พระผงผสมว่านรูปเหมือนหลวงพ่อพริ้งพิมพ์ซุ้มประตู ปี 17    จำนวน  250 องค์ บูชาองค์ละ    500   บาท
2.พระผงพิมพ์ฐานพุทโธ                จำนวน    30 องค์ บูชาองค์ละ    300   บาท
3.สมเด็จพิมพ์เล็บมือ หลังปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อ         จำนวน    50 องค์ บูชาองค์ละ    300   บาท
4.สมเด็จฐาน 3 ชั้น    หลังปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อ         จำนวน    73  องค์ บูชาองค์ละ   500   บาท
5.ขุนแผนพิมพ์พลายเล็ก  หลังปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อ      จำนวน     40 องค์  บูชาองค์ละ   200   บาท
6.พระผงเขียวพิมพ์ระฆังหลังฆ้อน   หลังปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อ   จำนวน     40 องค์  บูชาองค์ละ   300   บาท
7.พระผงเขียวทรงเสมาพิมพ์พระประธาน         จำนวน     75 องค์ บูชาองค์ละ    300   บาท
8.พระผงผสมว่านพิมพ์พระสิวลี            จำนวน     25 องค์ บูชาองค์ละ     300  บาท
9.พระผงผสมว่านพิมพ์นางพญา            จำนวน     20  องค์ บูชาองค์ละ    400  บาท
10.พระผงอิทธิเจพิมพ์นางกวัก   หลังปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อ    จำนวน     50  องค์ บูชาองค์ละ    200  บาท
11.พระผงผสมว่านพิมพ์ตรีกาย  หลังปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อ   จำนวน     48  องค์ บูชาองค์ละ     300 บาท
12.สมเด็จพิมพ์คะแนน               จำนวน     18  องค์ บูชาองค์ละ     300 บาท
13.ผ้ายันต์ชายจีวร               จำนวน     20  ผืน   บูชาผืนละ  1,000  บาท
14.ผ้ายันต์สกรีนรูปเหมือน(สะดุ้งกลับ)            จำนวน    128  ผืน   บูชาผืนละ    300  บาท
...
รายได้ทั้งหมดสมทบทุนสร้างพระอุโบสถ วัดโพธิ์ทอง
สนใจติดต่อสอบถาม ได้ที่พระอาจารย์แดง  อนันตจิตโต โทร.089-2202941,088-9260156
ชื่อบัญชี วัดโพธิ์ทอง ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาวัดสิงห์ หมายเลขบัญชี  5482214877 ประเภทออมทรัพย์
บันทึกการเข้า
ฝุ่นดิน
สืบสานประวัติศาสตร์และส่งเสริมความภาคภูมิใจในระดับท้องถิ่น
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


084-7208460


« ตอบ #16 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2010, 03:49:07 PM »

1.พระผงผสมว่านรูปเหมือนหลวงพ่อพริ้งพิมพ์ซุ้มประตู ปี 17 จำนวน  250 องค์ บูชาองค์ละ 500 บาท



* P2030112.jpg (57.35 KB, 500x458 - ดู 12426 ครั้ง.)

* P2030115.jpg (58.55 KB, 500x461 - ดู 12416 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
ฝุ่นดิน
สืบสานประวัติศาสตร์และส่งเสริมความภาคภูมิใจในระดับท้องถิ่น
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


084-7208460


« ตอบ #17 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2010, 03:50:54 PM »

2.พระผงพิมพ์ฐานพุทโธ   จำนวน    30 องค์ บูชาองค์ละ    300   บาท


* P5260015.jpg (56.49 KB, 500x435 - ดู 12354 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
ฝุ่นดิน
สืบสานประวัติศาสตร์และส่งเสริมความภาคภูมิใจในระดับท้องถิ่น
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


084-7208460


« ตอบ #18 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2010, 03:53:26 PM »

3.สมเด็จพิมพ์เล็บมือ หลังปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อ   จำนวน    50 องค์ บูชาองค์ละ    300   บาท


* P5260011.jpg (57.02 KB, 500x474 - ดู 12284 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
ฝุ่นดิน
สืบสานประวัติศาสตร์และส่งเสริมความภาคภูมิใจในระดับท้องถิ่น
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130


084-7208460


« ตอบ #19 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2010, 03:57:16 PM »

4.สมเด็จฐาน 3 ชั้น    หลังปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อ   จำนวน    73  องค์ บูชาองค์ละ   500   บาท


* P5260019.jpg (55.8 KB, 500x424 - ดู 12957 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.10 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!