ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน 29 เมษายน 2024, 03:53:27 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: การใช้งานกระดานสนทนา และวิธีการโพสรูป หรือไฟล์ http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=40.0

+  กระดานสนทนา วัดโฆสิตาราม (บ้านแค) จ.ชัยนาท
|-+  ทั่วไทย
| |-+  สนทนา, ถาม-ตอบ ทุกเรื่อง
| | |-+  สุนัข พันธุ์ อคิตะ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: สุนัข พันธุ์ อคิตะ  (อ่าน 2726 ครั้ง)
1_MAN_U
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,226



« เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2012, 11:37:25 PM »

พอดีอยากได้ สุนัข พันธุ์ อคิตะมาเลี้ยง  (อยากได้มานานแล้ว)

พี่ๆ เพื่อนๆ ท่านใดอยู่ ญี่ปุ่น บ้าง อยากรบกวนหาให้หน่อย ครับ

ในไทยหาไม่ค่อยมี  มีแต่พันธุ์อเมริกา และพันธุ์ผสม

อยากได้ พันธุ์ญี่ปุ่น อคิตะ อินุ

ขอขอบคุณล่วงหน้า ครับ


* akita1.jpg (9.91 KB, 232x218 - ดู 1019 ครั้ง.)

* akita.jpg (10.52 KB, 206x244 - ดู 810 ครั้ง.)

* akita2.jpg (8.87 KB, 225x224 - ดู 1934 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

หลวงปู่กวยพูดกับศิษย์ "จะให้กูทิ้งพวกมึงไปได้ยังงัย"
1_MAN_U
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,226



« ตอบ #1 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2012, 11:40:18 PM »

เปิดโลก อาคิตะ...ยอดสุนัขผู้ซื่อสัตย์

          ประวัติของ อาคิตะ

          สุนัขสายพันธุ์อาคิตะ เป็นสุนัขประจำชาติของญี่ปุ่น มีถิ่นกำเนิดในเมืองฮอนชู ซึ่งในสมัยก่อนนั้น อาคิตะ จะถูกเพาะสุนัขพันธุ์และเลี้ยงไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นสุนัขอารักขาองค์จักรพรรดิ์ และใช้งานเป็นสุนัขล่าสัตว์ต่าง ๆ เช่น กวาง นก และหมี อีกทั้งยังใช้งานในกกองทัพทหาร
และตำรวจอย่างกว้างขวางอีกด้วย

          ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สายพันธุ์อาคิตะเริ่มเข้าสู่วิกฤตอย่างแท้จริง เนื่องจากจำนวนของสุนัขสายพันธุ์นี้ลดลงเป็นจำนวนมากจากสาเหตุของการขาดแคลนอาหาร นอกจากนี้ ยังมีการสั่งให้จับกุมและคุมขังสุนัขทุกตัว นอกเหนือจากสุนัขสายพันธุ์เยอรมัน เชพเพิร์ด ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในสงคราม ทำให้สุนัขสายพันธุ์ต่าง ๆ ขาดอาหารและล้มตายเป็นจำนวนมาก

          ภายหลังสงครามจบสิ้นลง จึงเริ่มมีการฟื้นฟูสุนัขสายพันธุ์อาคิตะ ขึ้นมาใหม่ ซึ่งในช่วงนี้เองที่อาคิตะถูกชาวอเมริกันที่หลงรักในสุนัขสายพันธุ์นี้นำเข้าไปยังอเมริกาจำนวนมาก และได้รับการพัฒนาสายพันธุ์จนกลายเป็น อเมริกัน อาคิตะ นอกเหนือจากแจแปนนิส อาคิตะ ที่เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิม

          อย่างไรก็ตาม ในภายหลังสมาคมผู้พัฒนาพันธุ์สุนัขของสหรัฐอเมริกาและสมาคมผู้พัฒนาสายพันธุ์สุนัขของแคนาดา ได้ร่วมมือกันทำการวิเคราะห์อเมริกัน อาคิตะ และแจแปนิส อาคิตะ จนได้ข้อสรุปว่า ทั้งสองสายพันธุ์มีลักษณะต่างกัน แต่เป็นสายพันธุ์เดียวกัน ซึ่งต่อมาในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.2006 สมาคมผู้พัฒนาพันธุ์สุนัขของประเทศอังกฤษ จึงได้ข้อสรุปว่า แจแปนนิส อาคิตะ เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมที่ไมีมีการผสมข้ามสายพันธุ์แต่อย่างใด
บันทึกการเข้า

หลวงปู่กวยพูดกับศิษย์ "จะให้กูทิ้งพวกมึงไปได้ยังงัย"
1_MAN_U
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,226



« ตอบ #2 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2012, 11:50:05 PM »

ฮาจิโกะ...ตำนานที่เล่าขานในแดนอาทิตย์อุทัย

          ฮาจิโกะ (Hachiko) เป็นสุนัขสายพันธุ์อาคิตะ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ.1923 ที่เมืองโอดาเตะ จังหวัดอาคิตะ ประเทศญี่ปุ่น และเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1935 ที่ย่านชิบูยะ ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ขณะอายุได้ 11 ปี โดยฮาจิโกะเป็นที่จดจำของผู้คนในฐานะของสัญลักษณ์แห่งความจงรักภักดีที่มีให้กับเจ้านายของมัน จนได้รับการขนานนามว่า ฮาจิโกะ...สุดยอดสุนัขผู้ซื่อสัตย์

          ฮาจิโกะได้พบกับเจ้านายของมันคือ เอซะบุโระ อุเอะโนะ ศาสตราจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยอิมพีเรียล(มหาวิทยาลัยโตเกียวในปัจจุบัน) นับตั้งแต่มันอายุได้เพียง 2 ขวบ ทุกวันที่เจ้านายต้องไปสอนหนังสือ ฮาจิโกะจะคอยส่งเจ้านายถึงประตูหน้าบ้าน โดยอุเอะโนะต้องไปขึ้นรถไฟที่สถานีชิบูยะ จากนั้นเมื่อถึงเวลาเลิกงาน 15.00 น. ฮาจิโกะก็จะมารอพบเจ้านายของมันที่สถานีรถไฟเสมอ ทว่าเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นในวันที่ 21 เดือนพฤษภาคม ค.ศ.1925 เมื่อ ศาสตราจารย์ อุเอะโนะ เกิดอาการเส้นโลหิตในสมองแตก และเสียชีวิตขณะอยู่ที่มหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม ในวันนั้น ฮาจิโกะยังคงมารอเจ้านายของมันที่สถานีรถไฟ โดยไม่มีทางรู้ได้เลยว่า มันจะไม่ได้พบกับเจ้านายของมันอีกแล้ว

          หลังจากที่ศาสตราจารย์เสียชีวิตลง ทุกวันเมื่อถึงเวลา 15.00 น. เจ้าฮาจิโกะยังคงวิ่งไปรอเจ้านายของมันที่สถานีรถไฟไม่เคยขาด ทำให้เรื่องราวความซื่อสัตย์ของมัน เริ่มเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อเรื่องราวของมันถูกตีพิมพ์ลงบนหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นในปี ค.ศ.1932 ทำให้ผู้คนทั่วสารทิศเดินทางมาดู มาเล่นกับเจ้าฮาจิโกะ นอกจากนั้น ชาวญี่ปุ่นยังได้ยกให้เจ้าฮาจิโกะเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเด็ก ๆ อีกด้วย

          ในเดือนเมษายน ค.ศ.1934 อันโดะ เทะรุ ศิลปินชื่อดังจึงได้ทำรูปหล่อทองแดงของเจ้าฮาจิโกะขึ้นมาเพื่อยกย่องในความซื่้อสัตย์ของมัน และนำไปตั้งไว้ที่สถานีรถไฟชิบูยะ จนในเดือนมีนาคม ค.ศ.1935 มีคนพบว่าฮาจิโกะนอนตายยังจุดที่มันคอยมารอเจ้านายของมันทุกวันมานานกว่า 10 ปี ซึ่งข่าวการตายของฮาจิโกะนั้นถือว่าเป็นข่าวใหญ่มาก จนถูกตีพิมพ์ลงบนหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่น ซึ่งร่างของฮาจิโกะนั้นถูกนำไปเก็บรักษาเอาไว้ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ในกรุงโตเกียว

          ต่อมา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นจำเป็นต้องใช้เหล็กและโลหะเป็นอย่างมาก จนถึงกับต้องเอารูปหล่อของเจ้าฮาจิโกะมาหลอม ทว่าในเวลาต่อมาได้มีการจัดทำรูปหล่อของฮาจิโกะขึ้นมาอีกครั้งในเดือน สิงหาคม ค.ศ.1947 และศิลปินผู้รับหน้าที่นี้ก็คือ อันโดะ ทะเคะชิ ลูกชายของ อันโ ดะ เทะรุ ผู้ที่ทำหน้าที่สร้างรูปหล่อฮาจิโกะเมื่อครั้งแรกนั่นเอง

          ทั้งนี้ นอกจากรูปหล่อที่ย่านชิบูยะแล้ว ยังคงมีรูปปั้นที่เตือนให้ระลึกถึงฮาจิโกะอยู่อีกหลายแห่ง เช่น ที่หน้าสถานีรถไฟโอะดะเตะ ในจังหวัดอากิตะ บ้านเกิดของเจ้าฮาจิโกะ เป็นต้น ส่วนเรื่องของเจ้าฮาจิโกะยังคงเป็นที่เล่าขานในญี่ปุ่น ถึงขนาดมีการนำไปสร้างเป็นละคร ภาพยนตร์ การ์ตูน และอื่น ๆ อีกมากมาย จนล่าสุด ได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวูดเรื่อง ฮาชิ (Hachi) นำแสดงโดย ริชาร์ด เกียร์ (ลองหามาชมกันนะครับ ซึ้งมาก กับ ความรักของ สุนัข ตัวหนึ่ง ที่มีความรัก และผูกพันธุ์กับคนเลี้ยง)
บันทึกการเข้า

หลวงปู่กวยพูดกับศิษย์ "จะให้กูทิ้งพวกมึงไปได้ยังงัย"
ต่อ - NG42
Register Member
Jr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 59



« ตอบ #3 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2012, 11:30:34 PM »

ชอบครับ น่ารักดี  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า

ยินดีกับสิ่งที่ได้มา  และยอมรับกับสิ่งที่เสียไป
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.10 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!