ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน 20 เมษายน 2024, 02:26:21 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: การใช้งานกระดานสนทนา และวิธีการโพสรูป หรือไฟล์ http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=40.0

+  กระดานสนทนา วัดโฆสิตาราม (บ้านแค) จ.ชัยนาท
|-+  ทั่วไทย
| |-+  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องเเละความรู้ทั่วไป
| | |-+  " พระเก๊ " มาจาก ไหน
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: " พระเก๊ " มาจาก ไหน  (อ่าน 15147 ครั้ง)
1_MAN_U
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,226



« เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2008, 05:15:23 PM »

พอดี  เจอข้อมูล นี้ เลยนำมาฝาก ครับ

ต้อง ขออนุญาติ เจ้าของข้อมูล มา ณ ที่นี้ ด้วยครับ

ขอขอบคุณ เจ้าของข้อมูล ครับ

"พระเก๊มาจากไหน"

--------------------------------------------------------------------------------


ปัจจุบันวงการพระขยายตัวเป็นอย่างมาก ได้รับความนิยมจากบุคคลทุกกลุ่มทุกชนชั้น ทำให้มีศูนย์พระเครื่องชมรมพระเปิดขึ้น ทั้งซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนกันอย่างมาก แม้กระทั่งทางอินเทอร์เน็ตก็มีการเปิดเวบไซต์เกี่ยวกับพระเครื่องเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา

เมื่อมีผู้นิยมพระเครื่องกันมากขึ้นความต้องการในพระเครื่ององค์นั้นๆ ก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้ราคาเช่าหาพระเครื่องในปัจจุบันสูงขึ้นมากเป็นสัจธรรม เมื่อของหายากมีราคาแพง ของปลอมหรือของเลียนแบบย่อมมีเป็นธรรมดา และเมื่อขายได้ราคาสูงของปลอมจึงมีการลงทุนและพัฒนาฝีมือเพิ่มขึ้น

จนปัจจุบันนี้แม้เซียนพระเครื่องในวงการยังออกปากว่า “ของปลอมสมัยนี้ มันทำได้เหมือนมาก เผลอเป็นโดน”

โดยเฉพาะพระยอดนิยม เช่น พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง พระคงลำพูน พระกริ่งคลองตะเคียน ฯลฯ ปัจจุบันนี้พระที่ยกตัวอย่างมานี้ถือได้ว่าเป็นพระที่มีการปลอมได้น่ากลัว มีความเหมือนของจริงมากๆ

ผู้เขียนได้มีโอกาสสนทนาและสอบถามจากผู้รู้หลายๆ ท่าน และจากประสบการณ์ที่ผ่านมา พอจะประมาณได้ว่า พระปลอม เหล่านี้มาจากวิธีการผลิตทั้งหมด ๔ แบบ ซึ่งถ้าเราวิเคราะห์ก็จะได้รายละเอียดดังนี้

๑.พระเครื่องปลอมที่เกิดจากการแกะแม่พิมพ์ใหม่ คือเมื่อนักปลอมแปลงพระต้องการจะปลอมพระเครื่องสักแบบหนึ่งก็ต้องทำแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่ การแกะแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่นี้เป็นวิธีแรกๆ ในการปลอมพระ ความเหมือนของพระปลอมแบบนี้ค่อนข้างจะไม่เหมือนมากนักเพราะการแกะขึ้นใหม่นั้น โอกาสผิดพลาดสูงมาก

พระปลอมจากกรรมวิธีนี้จึงมักจะเป็นพระปลอมที่ผิดพิมพ์ แต่เนื่องจากวิธีการปลอมพระแบบนี้กระทำมาหลายสิบปีแล้ว พระปลอมบางองค์จึงถูกจับต้องสัมผัสจนเกิดมีความจัดขึ้นได้ พระปลอมชุดนี้จึงเป็นพระที่เรามักเรียกว่า "พระเก๊เก่า” หรือที่ท่านอาจจะได้ยินว่า “พระผิดพิมพ์แต่เนื้อเก่า” นั่นเอง

๒.พระเครื่องปลอมที่เกิดจากการถอดพิมพ์ เมื่อวงการพระเครื่องเริ่มมีการพัฒนามากขึ้น พระปลอมมีโอกาสขายได้ราคา การปลอมพระจึงมีการลงทุน โดยการนำพระเครื่องที่แท้และมีความสวยงาม มาถอดแบบแม่พิมพ์ โดยวัสดุที่มากดแบบพิมพ์นี้มีตั้งแต่ ดินเหนียว ปูนพลาสเตอร์ ยางฟันปลอม จนถึงเรซิ่นหรือซิลิโคน ในปัจจุบัน

พระปลอมที่เกิดจากการถอดพิมพ์นี้ความเหมือนของพิมพ์ทรง มีสูงมาก หรือเรียกได้ว่า ถูกพิมพ์เลยทีเดียว แต่ถ้าสังเกตจริงๆ ก็จะมีสรีระบางส่วนที่อาจจะผิดไป ซึ่งมักจะเกิดจากการบิดตัวของวัสดุตอนถอดแม่พิมพ์ และที่สำคัญ เมื่อมีการถ่ายสำเนาเกิดขึ้น ตัวลูกย่อมไม่คมชัดเหมือนต้นฉบับแน่นอน พระปลอมชนิดนี้ก็เช่นกัน ความคมชัดของเส้นสายต่างๆ จะไม่ชัดเจนเท่าของแท้ ตำหนิจุดตาย ไม่ปรากฏให้เห็นเหมือนของจริง เราสามารถสังเกตได้ไม่ยากนัก

๓.พระเครื่องปลอมที่เกิดจากการถอดพิมพ์แล้วตกแต่งแม่พิมพ์ พระปลอมที่เกิดจากกรรมวิธีนี้ ถือได้ว่าน่ากลัวที่สุด ในขบวนการพระปลอมที่พบในปัจจุบันเพราะว่าจากกรรมวิธีนี้ พระปลอมจะขาดความคมชัด ตำหนิจุดตายมักจะไม่ติดหรือติดให้เห็นน้อยมาก นักปลอมพระจึงต้องจึงต้องตกแต่งแม่พิมพ์ในส่วนที่ขาดหายไป

พระปลอมชุดนี้จะปรากฏตำหนิจุดตายครบ แต่เราสามารถสังเกตจริงๆ จังๆ ได้ว่า ตำหนิที่ปรากฏต่างๆ จะมีความเด่นชัดและดูแข็งทื่อ ไม่เป็นธรรมชาติ เหมือนกับพระแท้ ซึ่งข้อนี้สำคัญมาก ต้องพยายามหาของแท้มาสังเกต จดจำกันถึงจะปลอดภัย และที่จะช่วยพิจารณาได้อีกอย่างหนึ่งคือด้านข้างและด้านหลังของพระนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไรประกอบด้วย

โดยมาก พระปลอมโดยการถอดพิมพ์นั้นมักจะปรากฏขอบข้างเป็นสองชั้น ซึ่งเกิดจากของพระแท้นำไปถอดหนึ่งชั้นและขอบจากการตัดขอบของแม่พิมพ์เก๊อีกหนึ่งชั้น พระที่มีของ ๒ ชั้น ต้องพิจารณาดูอย่างละเอียดเพราะอาจจะเป็นพระปลอมถอดพิมพ์มาก็ย่อมได้

๔.พระปลอมที่เกิดจากแม่พิมพ์แท้ การทำพระเครื่องขึ้นแต่ละครั้ง แม่พิมพ์อาจไม่ได้ถูกทำลายก็เป็นได้ เมื่อพระนั้นมีราคาจึงมีการนำกลับมาปั๊มใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งบางครั้งก็สุดวิสัยในการดู แต่มักจะเกิดกับพระเครื่องยุคใหม่ๆ ที่เราเรียกกันว่า “ของเสริม” นั่นเอง แต่ถ้าเป็นพระกรุหรือพระเกจิโบราณ แม่พิมพ์อาจมีการค้นพบ แต่ก็มักจะชำรุดไม่สามารถนำกลับมาทำใหม่ได้อีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม ในวงการพระเครื่องมีคำพูด (ภาษาเซียน) ซึ่งมีความหมายว่า "ปลอม" อยู่หลายคำ เช่น ชุกซัว ซาลูตู้ ดุ๊ย กระตู้ฮู้ พระไม่ถูกพิมพ์แต่เนื้อถึง พระไม่มีพุทธคุณ พระไม่มีพลัง ไม่ถึงยุค อายุไม่ถึง ไม่ถนัดพระเนื้อนี้ ผิดทาง และ พระดูยาก (คำนี้อาจจะใช้ได้ทั้งเก๊ดูยากและแท้ดูยาก) หากใครได้ยินคำเหล่านี้เข้า ก็ขอให้ทำใจเผื่อไว้ล่วงหน้าด้วย

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า พระปลอม นั้นไม่ใช่เรื่องที่จะประมาทได้ พระมีการพัฒนาและลงทุนมากขึ้นทุกขณะ เพื่อให้นักสะสมหลงควักสตางค์กับพระเหล่านี้ เพราะฉะนั้น จึงควรนำหลักการข้างต้นไปประยุกต์ใช้ในการพิจารณาประกอบการตัดสินใจ โอกาสที่ท่านนักสะสมจะพลาดก็น้อยลงด้วย

สิ่งหนึ่งที่อยากฝากเป็นข้อคิด คือ ในส่วนของพระเครื่องที่เป็นมรดกตกทอดจากปู่ ยา ตา ยาย รวมทั้งผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ หากนำพระที่ห้อยอยู่ไปให้เซียนพระดูแล้วบอกว่าเป็นพระไม่ถึงยุค ก็อย่าคิดถอดพระหรือไม่แขวนพระองค์นั้นเลย ให้คิดเสียว่าพระองค์นั้นๆ เป็นของที่ระลึก ผู้ให้มีเจตนาดี พระทุกองค์สามารถใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจได้เสมอ
บันทึกการเข้า

หลวงปู่กวยพูดกับศิษย์ "จะให้กูทิ้งพวกมึงไปได้ยังงัย"
fluke.
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,006



« ตอบ #1 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2008, 06:30:28 PM »

 ยิงฟันยิ้ม ชอบมากครับ ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูล......... ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.10 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!