ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน 26 เมษายน 2024, 10:34:53 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: เชิญบูชาล็อกเก็ตหลวงพ่อกวย บรรจุมวลสารพิเศษ http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=8540.0

+  กระดานสนทนา วัดโฆสิตาราม (บ้านแค) จ.ชัยนาท
|-+  ทั่วไทย
| |-+  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องเเละความรู้ทั่วไป
| | |-+  * กำเนิดและพัฒนาการพุทธศิลป์พระทรงเครื่องในดินแดนสุวรรณภูมิ 1 (คำเตือน ยาวมาก) *
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: * กำเนิดและพัฒนาการพุทธศิลป์พระทรงเครื่องในดินแดนสุวรรณภูมิ 1 (คำเตือน ยาวมาก) *  (อ่าน 7713 ครั้ง)
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« เมื่อ: 16 กันยายน 2007, 09:30:36 PM »

(กระตู้เก่าจาก Amuletsinthai / Post โดยคุณธนพัฒน์ ซึ่งเป็นพี่ใหญ่ใจดีในเว้ปแห่งนั้น)
ผมได้เข้าไปดูกระทู้ของคุณอรุณที่เอาพระทรงเครื่องสวยงามมากมาให้ดู เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีคำถามจากคุณ PPaul ถามว่าพระองค์นี้น่าจะเป็นพระสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งกระทู้ก่อนหน้านี้ผมได้ชมเชยพระองค์นี้ว่าเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย ทำให้ผมเกิดความคิดที่จะพูดถึงความเป็นไปของพระทรงเครื่อง ที่คนส่วนมากคิดว่าถ้าเป็นพระทรงเครื่องแล้วต้องเป็นพระรัชกาลบ้าง พระรัตนะบ้าง สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์อย่างเดียว
ไหนๆก็จะเล่าให้ฟังกันแล้วเรื่องอยุธยาตอนปลาย กับรัตนโกสินทร์นั่นเป็นปลายเหตุที่ห่างเพียงสองร้อยปี ผมเอาแบบขึ้นต้นเมื่อเกือบสองพันปีขึ้นไปถึงต้นกำเนิดเลยจะดีกว่า เพื่อนๆจะได้เข้าใจความเป็นไปแบบปรุโปร่งเลยดีกว่านะครับว่าพระทรงเครื่องเป็นมาอย่างไร



* TP_1.jpg (33.44 KB, 501x366 - ดู 2149 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #1 เมื่อ: 16 กันยายน 2007, 09:32:23 PM »

ความดีทั้งหมดที่พึงจะมีในบทความนี้ ผมขอมอบให้อาจารย์ น. ณ ปากนํ้า ปรมาจารย์ศิลป์แบบเชิงวิชาการ ที่ให้ความรู้และมุมมองใหม่ๆกับผมครับ
ผมขอข้ามเรื่อเก่าที่เคยเล่ามาแล้ว เกี่ยวกับลักษณะศิลป์ของระยะเริ่มของปฏิมากรรมพระพุทธรูป ระดับอาเคอิค (archaic) ที่เริ่มจากแบบคันธาราช แบบมธุราที่ตอนเหนือของอินเดีย ส่วนทางตะวันออกเฉียงใต้พุทธศิลป์แบบอมราวดี ที่เกิดใกล้เคียงกันช่วง ศตวรรษที่ 7-12 แบบคุปตะที่งามเป็นยอดของอินเดียในช่วง ศตวรรษที่ 10-12 ที่พัฒนาจนสูงสุดเข้าสู่ระดับคลาสิค (classic)
พุทธศิลป์แบบปาละ ที่เป็นต้นเรื่องพระทรงเครื่องที่ผมจะเริ่มต้นเล่านี้ กำเนิดที่แคว้นเบงกอล ในสมัยราชวงค์ปาละศตวรรษที่ 14-18 เป็นพุทธศิลป์รุ่นสุดท้ายของอินเดีย ที่มีคติพราหมณ์ผสมอยู่มาก เริ่มจะพุ่งความคิดไปสวรรค์ที่พยายามคิดให้จับต้องได้เป็นอนัตตา แบบมหายานบวกกับพราหมณ์ จนพระออกมารุงรัง มีการทรงเครื่อง มีซุ้มประภามณฑล พระพักตร์คมพระขนงและโอษฐ์เป็นสัน ที่ฐานพระจะดูอลังการ พระแบบนี้แหละครับที่ออกมาเป็นแม่แบบให้พระที่สร้างในยุคต่อมาใน ลังกา พม่า ชวา เขมร และไทยในที่สุด พระทรงเครื่องที่ผมจะเล่าให้ฟังก็ได้จากศิลปะเริ่มต้นความคิดจากแบบปาละ แบบนี้แหละครับ
รูปประกอบผมจะเอาพระยุคปาละให้เข้ากับเรื่อง แต่เห็นพระองค์นี้เป็นพระยุคคุปตะที่ผมว่างามนักหนา เลยอดใจไม่ใหวเอามาลงแทน เป็นพระที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์สารนาถ เมืองพาราณาสี อินเดีย จะเห็นความแตกต่างที่ผมเรียกว่าพระยุคคลาสิค แบบไม่ต้องพูดมากก็รู้ด้วยตาตัวเองว่าคลาสิค จริงๆครับ


* TP_2.jpg (37.42 KB, 295x482 - ดู 1471 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #2 เมื่อ: 16 กันยายน 2007, 09:33:54 PM »

พระยุคปาละครับ ผมจะไม่ให้ดูเลยก็จะนึกไม่ออกว่าท่านเริ่มจะมีเครื่องเคราแบบน้อยๆแล้ว เริ่มจากจีวรผิดธรรมชาติ กรองพระศอ พระมหามงกฏ และฐานบัวที่ไม่เคยปรากฏกับพระยุคแรกๆ พระองค์นี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ กัลกัตตา อินเดียครับ


* TP_3.jpg (37.32 KB, 295x339 - ดู 1514 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #3 เมื่อ: 16 กันยายน 2007, 09:35:14 PM »

ต้องนอกเรื่องพระทรงเครื่องไปสักนิดเพราะถ้าไม่แวะทวารวดีก็ไม่เห็นภาพของประวัติศาสตร์ศิลป์แบบเต็มรูปร่างครับ
พระศาสนาได้เข้าในสุวรรณภูมิครั้งแรกที่ยุคศรีวิชัย ประมาณศตวรรษที่ 13-18 แต่ก่อนหน้านั้นศาสนาฮินดูได้เข้ามาก่อนช่วง ศตวรรษที่ 12-14 ที่ทวารวดี เทวรูปต่างๆได้สร้างกันมากมาย ผู้ที่อยู่ในศาสนาฮินดู ถ้าเคารพพระนารายณ์เป็นเทพสูงสุด จัดว่าเป็นคติของไวษณพนิกาย ส่วนผู้นับถือว่าพระศิวะเป็นเทพสูงสุดจัดเป็นไศวนิกาย ศิวลึงค์ที่มีเกลื่อนเมืองก็เป็นของเจ้านี้แหละครับ ศิลปะของทวารวดีที่ปรากฏแสดงให้เห็นอายุศิลป์เก่ากว่าคุปตะ พระพุทธรูปก็เลยได้รับแบบแผนของเทวรูปไปด้วย เนื่องจากเทวรูปได้รับอิทธิพลของศิลปะอมราวดีตอนปลายที่เรียบง่าย ซึ่งในตอนนั้นศิลป์แบบปาละที่อลังการ ยังเป็นวุ้นอยู่ใหนก็ไม่รู้ เพราะยังไม่เกิด เครื่องทรงของพระพุทธรูปยังไม่โลดโผนนัก เล่นลายจีวรก็สุดสวยแล้วยัง ดังนั้นศิลปะสมัยทราวดียังไม่เด่นเหมือนศรีวิชัย ที่สุดๆเรื่องเครื่องทรงที่ได้จากศิลปะปาละโดยตรง เนื่องเรารับศิลป์และความรู้ด้านวิชาการจากอินเดียมาซึ่งเรื่องจะให้ทันฝีมืออินเดีย ที่รับจากกรีกอีกที และพัฒนาฝีมือมาเป็นร้อยปีนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ศิลปะยุคนี้ของสุวรรณภูมิยังคงเป็นไปได้เพียงยุคพริมีทีฟเท่านั้น (Primitive) ผมอยากจะเรียกว่าเป็นรุ่งอรุณแห่งศิลป์ในแหลมทอง
พระตัวอย่างใกล้ตัวมากครับ เป็นพระประธานวัดพระปฐมเจดีย์นี่เอง เป็นพระศิลาสมัยทวารวดีที่ ได้ชะลอมาจากวัดพระเมรุสมัยรัชกาลที่หกนี่เอง ท่านยังไม่ทรงเครื่องครับ



* TP_4.jpg (36.09 KB, 236x407 - ดู 1468 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #4 เมื่อ: 16 กันยายน 2007, 09:36:41 PM »

ศรีวิชัย ศตวรรษที่ 13-18 นับว่าเป็นยุคทองของศิลป์ยุคหนึ่งที่มีความอ่อนหวานและฉํ่าอารมย์เมื่อมองเห็น ความเป็นปาละแสดงออกแบบชัดเจนผสมกับศิลปะเดิมของยุคอมราวดีที่เข้าผสมจากศิลปะเก่าของทวารวดี และยุคใหม่ของขอมเมืองลพบุรีที่เรืองอำนาจไล่หลังขึ้นมา         พระทรงเครื่องได้รับแนวคิดของเทวรูปฮินดูของอินเดีย และอลังการกำยำของขอมแบบเห็นได้ชัด พระยุคนี้เกือบจะพูดได้ว่าทรงเครื่องเกือบทุกองค์ ไม่มากก็น้อย แต่ยังถือว่าทรงเครื่องน้อยมาก ระดับเด็กๆ เมื่อเทียบกับศิลปะยุคลพบุรี
พระตัวอย่างเป็นพระนาคปรกทรงเทริด วัดเวียง ไชยา สุราษฏร์ธานี ศรีวิชัยตอนปลายแล้วครับ ความอลังการของฐานและลายละเอียดของนาค คงไม่ต้องบอกว่าเรารับเอาแนวของแขกมาต่อยอดงานศิลป์ได้ดีกว่าครูเพียงใด กลิ่นขอมเมืองลพบุรีมาเยือนจางๆแล้วครับ


* TP_5.jpg (31.21 KB, 236x411 - ดู 1501 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #5 เมื่อ: 16 กันยายน 2007, 09:37:57 PM »

อีกรูปคือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ศรีวิชัยยุคกลาง เทวรูปนี้ ผมนั่งมองได้ทั้งวันครับ สมัยก่อนที่ท่านจะโดนล้อมคอก ผมต้องเข้าไปจับท่านเบาๆทุกครั้งเหมือนจับมือญาติผู้ใหญ่ ที่ไปเยี่ยมเยือนกันครับ คนสร้างเทวรูปชิ้นนี้น่าจะนั่ง Time machine มาสร้างในยุคศรีวิชัย เนื่องจากเกิดก่อนยุคที่สมควรจะเกิด ประมาณ 300-400ปี เพราะผมจะให้ท่านเป็นศิลปะยุคคลาสิคเต็มตัว ที่สร้างในยุคอาร์เคอิคของสุวรรณภูมิ หรือคิดให้ไกลขึ้นอาจจะมาจากอินเดียก็ได้เพราะศิลปะที่นั่นเป็นยุคคลาสิคแล้วตั้งนาน ก่อนทวารวดี-ศรีวิชัยจะเริ่มคลานหัดพูดจ๋าจ๊ะเสียอีก ผมเองคิดตามประสาว่าของทั้งสองชิ้นนี้เป็นต้นแบบแรงบันดาลใจของพระทรงเครื่องในยุคต่อมาครับ


* TP_6.jpg (26.07 KB, 236x339 - ดู 1442 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #6 เมื่อ: 16 กันยายน 2007, 09:39:13 PM »

ศิลปะขอมลพบุรีแสดงความเป็นมหายานแบบบ้านเราได้ชัดเจนมากครับ ช่วงศตวรรษที่ 17-19 ของ เมืองลพบุรีแนวความคิดของ การที่พระนารายณ์ทรงอวตารเป็นพระพุทธเจ้าของฮินดู ทำให้พระพุทธเจ้าต้องทรงเครื่องกษัตริย์ และเข้มแข็งแบบนักรบ พระเนตรโปน พระโอษฐ์ยื่น หน้าเหลี่ยมแบบขอม ไม่ใช่หน้ากลมแบบแขกอีกต่อไป แต่บางอย่างที่สลัดกลิ่นแขกไม่ออกก็มีครับ เช่นนั่งขัดเพชรแบบแขก ศิลปะของลพบุรีนี้มีทั้งศิลาและสำริด ซึ่งยุคต้นและปลายเกือบไม่ต่างกันมากนัก เพราะลพบุรีเป็นเมืองที่รับแนวความคิดโดยตรงจากแขกฮินดูตั้งแต่ก่อนยุคปาละ ส่งวัฒนธรรมและศิลปะออกไปเมืองข้างเคียง ไม่ใช่เป็นเมืองรับแนวคิดลูกเดียวเหมือนอาณาจักรทางเหนือและใต้ ศิลปะยุคนี้นับเป็นการวางรากฐานของพระทรงเครื่องที่เป็นแม่แบบให้ อโยธยา(ไม่ใช่อยุธยานะครับ คนละเมืองกัน) สุพรรณภูมิ และหริภุญชัยในยุคต่อมา (ตอนนั้นสุโขทัยยังเป็นป่าหญ้าอยู่เลย ยังไม่สร้างเมืองครับ ยังอีกเป็นร้อยปี) ศิลปะยุคนี้เป็นแบบผสมของ อมรวดี ปาละและช่างท้องถิ่นสกุลบายนของขอมได้แบบรวมมิตร (ขอมจริงๆไม่ใช่ขอมละโว้ครับ) แต่ไม่เสียบรรยากาศกลิ่นแกงกะหรี่แขกไปสักเท่าไรนัก แต่ความเป็นตัวของตัวเองทางศิลปะเริ่มเข้มข้นขึ้น เพราะงานช่างสลักหินของขอมมีความอหังการในฝีมือไม่เคยหลบสายตาใครครับ
พระตัวอย่างของยุคนี้เป็นพระทรงเครื่องแบบมหายานพบที่วัดศรีสวาย สุโขทัย (ตอนสร้างพระองค์นี้ยังไม่มีสุโขทัยครับ เข้าใจว่านำมาสุโขทัยสมัยหลัง) ศิลปะขอม(ละโว้) ศตวรรษที่17 ปางประทานอภัย ทรงพระมหามงกุฏที่มีกระบังหน้าและกรวยครอบอุษณีษะ ทรงจีวรบางแนบพระวรกายจนเห็นอันตรวาสกที่พับหน้านาง คาดทับด้วยปั้นเหน่งแถบกว้างลวดลายเป็นระเบียบ เครื่องประดับครบเครื่อง มีกุณฑล กรองศอ พาหุรัด และทองพระกร พระองค์นี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรามคำแหงครับ


* TP_7.jpg (31.26 KB, 189x510 - ดู 1448 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #7 เมื่อ: 16 กันยายน 2007, 09:40:49 PM »

หริภุญชัย (ศตวรรษที่ 17-19) พะเยา - เชียงแสน (ศตวรรษที่ 17-21) ผมแยกเมืองทางเหนือออกเป็นสองกลุ่ม สามสกุลช่าง แต่แบบแผนเดียวกัน ข้อแตกต่างเป็นเรื่องของกลิ่นของศิลป์เพียงอย่างเดียว สังเกตุจากหริภุญชัยได้ความจัดเจนมาจากละโว้ และนำเอามาใช้กับงานปูนปั้น พระที่เป็นศิลาและสำริดไม่ค่อยพบเห็นมากนัก ส่วนพะเยา-เชียงแสนเป็นงานศิลาส่วนใหญ่ แต่ความคิดของผมว่าทั้งหมดเป็นพระศิลา เพราะพระเชียงแสนที่เป็นพระโลหะเป็นพระโกหก คนที่อ่านกระทู้พระเชียงแสนของผมแล้วจะเข้าใจดีว่าคนเชียงแสนไม่ได้สร้างพระเชียงแสน กลับมาที่พระหริภุญชัยครับ รูปลักษณ์ศิลป์ เม็ดพระศกโตหน้ารูปไข่ออกไปทางกลม เป็นงานศิลปะแบบปาละที่เข้ามาแล้ว เรื่องปีสร้างของนครหิริภุญชัยนี้ ถ้าจะเอาตามพงศาวดาลเมือง ตามพระมหาเถระโพธิรังสีเล่าเรื่องย้อนไปสมัย ศตวรรษที่13 กล่าวถึงฤๅษีวาสุเทพสร้างเมืองแล้วเชิญพระนางจามเทวีจาก ลวปุระ(ละโว้)มาครองเมือง หลังฐานทางศิลปะยังไม่มีมายืนยันว่าเมืองเก่าขนาดนั้น นอกจากเศียรพระบางชิ้นที่เก่าย้อนไปสมัยทวารวดี แต่ถาวรวัตถุอย่างอื่นไม่มีมายืนยันเรื่องตำนานนี้ ทั้งสามเมืองนี้ไม่มีพระทรงเครื่องเหลือให้เห็นมากนัก ที่เห็นมาส่วนมากจะเป็นศิลปะแบบบากานของพม่าที่เข้ามามีผลกระทบงานศิลป์ภูมิภาคนี้เท่านั้นครับ
พระตัวอย่างของพระทรงเครื่องสมัยหริภุญชัย ที่ขณะนี้ผมเองก็ไม่ทราบว่าพระองค์จริงไปอยู่ที่ใดแล้ว ท่านมีกลิ่นพุทธศิลป์แบบปาละเต็มร้อย และทรงเครื่องส่วนบนในรูปแบบเดียวกับพระปาละในพิพิธภัณฑ์ กัลกัตตา อินเดียครับ พระองค์นี้ผมคิดถึงท่านครับ ใครรู้ว่าท่านจำวัดอยู่ที่ไหนช่วยบอกผมด้วย


* TP_8.jpg (37.06 KB, 318x393 - ดู 1552 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #8 เมื่อ: 16 กันยายน 2007, 09:42:42 PM »

เชียงใหม่ - สุโขทัย (ศตวรรษที่ 19-20) เมืองเชียงใหม่-สุโขทัย ที่เกิดภายหลังได้พัฒนาศิลป์เข้าสู่ยุคคลาสิคเต็มรูปแบบ ที่ผมเอาพระสุโขทัยและพระเชียงใหม่เข้ามาเป็นพระตระกูลเดียวกันเพราะลักษณะศิลป์พัฒนาแล้วเป็นระดับเดียวกัน คือตระกูลเชียงแสนที่คนเชียงแสนไม่ได้สร้างแต่คนสร้างคือคนเชียงใหม่ ทั้งสิงห์หนึ่ง สอง สาม ที่สุดจะสมบูรณ์ในสัดส่วนศิลป์ คาบเกี่ยวจนยุคกรุงศรีอยุธยาตอนต้น และศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ที่พระลีลาสุโขทัยท่านพริ้วเหมือนเดินได้จริงๆ พระยุคนี้เป็นพระที่ได้ต้นแบบจากพระสิงห์ ลังกา และศิลป์ที่เข้าสู่ยุคสูงสุดของสกุลช่างสุวรรณภูมิ ผมจะไม่กล่าวอะไรมากนักสำหรับพระสองเมืองนี้ เพราะได้กล่าวไว้ตั้งแต่กระทู้เรื่องพระสิงห์ ภาค 1-2 ให้กลับไปอ่านนะครับถ้ายังไม่เข้าใจดีพอ พระรัตนปัญญาเถระผู้แต่ง ชินกาลมาลีปกรณ์ ได้อธิษฐานเมื่อท่านแต่งหนังสือจบเมื่อ พศ.2060 ว่า " ขอให้เกิดญาณคติโดยง่ายเมื่อได้ฟังธรรมอันประเสริฐของพระศรีอริยเมตไตรย "
พระตัวอย่างที่ผมนำมาให้ดูนี้พระวรกายเรียบเกลี้ยงทำให้นึกถึงพระศรีอริยเมตไตรแบบสลัดไม่หลุด เพราะสังคมล้านนานิยมอธิษฐานถึงพระองค์ต่างๆกัน เช่นขอให้เกิดในยุคที่มีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ไม่มีทุกข์อันใด ในยุคที่พระองค์เสด็จมาตรัสรู้เป็นพระพุธเจ้าองค์ต่อไป แต่ท่านนั่งมารวิชัย แสดงว่าท่านเป็นพระผู้ตรัสรู้แล้วเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน พระองค์นี้เป็นพระเชียงแสนยุคหลัง (สร้างยุคเชียงใหม่เพราะพระเชียงแสนแท้เป็นศิลาไม่มีพระแบบนี้) ท่านทรงเครื่องน้อย ประทับบนปัทมาสน์ฐานโปร่ง พระพักตร์เป็นเชียงแสนทั่วไป กุณฑลยาวนั่นศิลป์ปาละแท้ๆ เครื่องประดับแบบอื่นเช่นมงกุฎรองศอ จะพบได้แต่งานศิลป์หลังศตวรรษที่21 แล้วเท่านั้น ดังนั้นผมยํ้าอีกทีว่าอย่าละเมอตามชาวบ้านไปว่าพระเชียงแสนสร้างสมัยเชียงแสน ท่านสร้างสมัยเชียงใหม่ทั้งสิ้น พระองค์นี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ครับ เป็นพระเชียงแสนที่สวยระดับหนึ่งในห้าองค์หนึ่งทีเดียว


* TP_9.jpg (35.19 KB, 347x394 - ดู 1605 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #9 เมื่อ: 16 กันยายน 2007, 09:44:18 PM »

อู่ทอง-สุพรรณภูมิ และอโยธยา(ที่ไม่ใช่อยุธยา) (ศตวรรษที่ 18-20) ในยุคนี้พระยังเป็นศิลาเสียเกือบทั้งหมด แหล่งที่ราบลุ่มภาคกลางเป็นพื้นที่วัฒนธรรมทวารวดีมาก่อน ศิลปะโดนครอบงำตามแบบทวารวดีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 และกลับเสื่อมลงช่วง ศตวรรษที่18 ระยะต่อของพุทธศิลป์ค่อนข้างคลุมเครือ แต่ที่โดดเด่นจนถึงปัจจุบันนี้เห็นแต่ศิลปะแบบอู่ทอง ศิลปะแบบอู่ทองนี้แบ่งออกตามลักษณะศิลป์ได้สามรุ่น คือ
รุ่นแรก ศตวรรษที่18 พบบริเวณ สรรค์บุรี ชัยนาท โดยมีกลิ่นขอมรุนแรง พระพักตร์เหลี่ยม นลาฏกว้าง มีไรพระศกต่อกันเป็นปีกกา เกศบัวตูม ทรงจีวรเฉียง สังฆาฏิปลายตัด ขัดราบ มารวิชัย
รุ่นที่สอง ศตวรรษที่19-20 เริ่มเอาพระแบบสุโขทัยเป็นแบบอย่างศิลป์ พระรัศมีเปลี่ยนเป็นเปลวเพลิง สังฆาฏิเป็นเขี้ยวตะขาบ พระตัวอย่างยุคนี้คือหลวงพ่อวัดพนัญเชิงที่ทุกท่านรู้จักดี นึกภาพพุทธศิลป์แบบนี้ออกแล้วใช่ไหมครับ หลวงพ่อท่านสร้างก่อนกรุงศรีอยุธยาสถาปนาตั้ง 26ปีทีเดียว
รุ่นที่สาม ศตวรรษที่ 20 กลางๆ ได้รับกลิ่นของสุโขทัยมากขึ้น พระนลาฏแคบ รูปเพรียวขึ้น พักตร์รูปไข่เต็มร้อยแบบสุโขทัย ฐานจะเรียบง่ายด้วยบัวคว่ำบัวหงายแบบไม่มีราบละเอียดมากนัก จะว่าพระรุ่นนี้เป็นอยุธยาตอนต้นก็ยังได้เพราะพบพระที่มีพุทธศิลป์แบบนี้ในพระปรางค์ประธานวัดราชบูรณะด้วย ซึ่งพระบรมราชาธิราชที่2 ทรงสร้างบรรจุไว้
พระยุคนี้ยังคงสร้างแบบสลักหินทรายกันอยู่ แต่หล่อสำริดแบบสุโขทัยก็เข้ามามีบทบาทอยู่ในตอนปลายสมัย ที่ส่งให้พระสมัยอยุธยาไม่มีพระสลักหินทรายกันแล้วโดยเด็ดขาดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ถ้าเห็นพระสลักหินทรายในกรุงศรีอยุธยาก็ให้ทราบไว้ว่าท่านสร้างก่อนสร้างกรุงหลายร้อยปีนัก
พระตัวอย่างที่ผมนำมาให้ดูเป็นพระทรงเครื่องยุคแรกของอู่ทอง ท่านเป็นพระศิลาองค์ใหญ่ที่สุดเท่าที่เราเคยสร้างกันมา อยู่ที่วัดละมุด นครชัยศรี ความจริงแล้วท่านอยู่ในวัดร้างใกล้วัดละมุด ท่านได้ถูกชะลอมาเป็นพระประธานภายหลัง ที่ต้องใช้รูปครึ่งองค์ชัดๆ ผมอยากจะให้ดูพรายพระโอษฐ์ที่เป็นศิลป์ก่อนสมัยอยุธยา และกรองพระศอแบบลูกนํ้าและไข่ปลาที่นิยมกันในปลายยุคทวารวดีและอโยธยา-สุพรรณภูมิ และ เป็นลายแบบที่ปรากฏในใบเสมายุคอโยธยาสุพรรณภูมิด้วยเช่นกัน เป็นพระแบบมหายานที่งดงามมาก



* TP_10.jpg (33.83 KB, 314x383 - ดู 1526 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #10 เมื่อ: 16 กันยายน 2007, 09:50:12 PM »

(จบตอนที่หนึ่งครับ)
ไม่ทราบว่าเนื้อหาจะหนักเชิงวิชาการเกินไปหรือเปล่า แต่โดยส่วนตัวผมคิดว่าเป็นรากเหง้าทางพุทธศิลป์ของชาติไทย ที่ควรค่าแก่การศึกษาครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
โอ๋ ชัยนาท
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,984


นะสิวัง พรหมมา มะอะอุ


« ตอบ #11 เมื่อ: 16 กันยายน 2007, 10:22:57 PM »

ชอบครับ "แฟ้มบุคคลขอปรบมือให้" คุ้น ๆ กับคำนี้จังเลย  ยิ้มกว้างๆ แก่ไปไหมครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
toi
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: 16 กันยายน 2007, 10:44:07 PM »

ยอดเยี่ยมครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
คางเครา
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,475



เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 17 กันยายน 2007, 12:26:15 AM »

ขออนุญาตเซฟไว้เป็นข้อมูลเขียนบทความนะครับ
บันทึกการเข้า

เขามีส่วนเลวบ้าง ข่างหัวเขา  จงเลือกเอาส่วนดี เขามีอยู่
เป็นประโยชน์ แก่โลกบ้าง ยังน่าดู  ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย
pichitpol
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 843



« ตอบ #14 เมื่อ: 17 กันยายน 2007, 08:03:51 AM »

ยาวกว่านี้ก็อ่าน..ชอบมาก..ชอบมาก... จุมพิต... ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
aodbu
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 791



« ตอบ #15 เมื่อ: 17 กันยายน 2007, 10:56:22 AM »

ไม่ยาวเลยครับชอบครับ ได้ความรู้ดีพี่สังขวานร ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า

หลวงพ่อโตลงมาทรงงานในโลกมนุษย์ที่สำนักปู่สวรรค์
www.poosawan.org
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #16 เมื่อ: 17 กันยายน 2007, 11:08:06 AM »

ยินดีที่มีคนชอบครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ขุนนนท์
Register Member
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 235


« ตอบ #17 เมื่อ: 18 กันยายน 2007, 05:55:21 AM »

ใครมีความรู้ทางด้านนี้มากจะดูพระบูชาได้ง่ายว่าถึงยุคไหน  ขอบพระคุณมากครับ
บันทึกการเข้า

ขอบคุณข้าวทุกเม็ด น้ำทุกหยด
    เพื่อนใหม่ คือของขวัญที่ให้กับตัวเอง
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #18 เมื่อ: 18 กันยายน 2007, 08:09:09 AM »

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.10 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!