ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน 27 เมษายน 2024, 12:10:21 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: การใช้งานกระดานสนทนา และวิธีการโพสรูป หรือไฟล์ http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=40.0

+  กระดานสนทนา วัดโฆสิตาราม (บ้านแค) จ.ชัยนาท
|-+  ทั่วไทย
| |-+  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องเเละความรู้ทั่วไป
| | |-+  *** พระพิมพ์นางพญาสมาธิเล็ก หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ***
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 3 พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: *** พระพิมพ์นางพญาสมาธิเล็ก หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ***  (อ่าน 36507 ครั้ง)
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« เมื่อ: 21 กันยายน 2007, 11:31:39 PM »

(ย่อจาก ลานโพธิ์ 969 เดือนกุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งเขียนโดย... คุณสุธน ศรีหิรัญ)


* Boon_1.jpg (103.69 KB, 450x682 - ดู 14353 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #1 เมื่อ: 21 กันยายน 2007, 11:46:03 PM »

     พระเครื่องเนื้อดินเผาของหลวงปู่บุญ  สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2456 นับเป็นพระเครื่องชุดแรกๆ ที่หลวงปู่สร้างขึ้น  ขณะนั้น อายุของหลวงปู่ราว 65 ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว และเป็นเจ้าคณะหมวดปกครอง คณะสงฆ์แล้ว “พ.ศ.2456” ซึ่งกล่าวว่าเป็นปีซึ่งสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผานี้ได้รับคำยืนยันจากหลวงปู่เพิ่ม  ซึ่งเล่าว่าขณะนั้นหลวงปู่เพิ่มบวชได้ราว 7-8 พรรษา ได้ช่วยสร้างพระเครื่องเนื้อดินดังกล่าวโดยเป็นคนกรองดินจากตุ่มหมักดิน ซึ่งเมื่อเทียบ พ.ศ. แล้วจะตรงกับ พ.ศ.2456 พอดี และเมื่อผู้เขียนสอบถามจากนายซ้ง ทยาพัชร ก็ได้รับคำยืนยัน พ.ศ.สร้างตรงกัน 
     เมื่อนำมาประกอบพิจารณาจากบาตรดินเผา ซึ่งมีเนื้อดินเหมือนเนื้อพระทุกประการ และใช้บรรจุพระเครื่องไว้ในเพดานมณฑป ที่บาตรดินดังกล่าวนั้นเขียนไว้ว่า “พ.ศ.2456” จากหลักฐานคำบอกเล่าจากผู้มีชีวิตทันร่วมสร้างพระเครื่องดังกล่าว  และหลักฐานจากข้อความที่จารึกไว้ที่บาตรบรรจุพระ จึงพอจะยืนยันได้อย่างแน่นอนว่า พ.ศ. ซึ่งสร้างพระเครื่องเนื้อดินของหลวงปู่บุญนั้นเป็นปี พ.ศ.2456 ซึ่งนับถึงปีปัจจุบัน (2550) ก็รวมอายุพระเนื้อดินของหลวงปู่บุญได้ 94 ปีแล้ว นับว่ามีอายุการสร้างมานานไม่น้อย
     สภาพพระเนื้อดินของหลวงปู่บุญ เคยมีผู้สงสัยว่าวรรณะทำไมจึงแลดูสดใสไม่ปรากฏคราบกรุหรือคราบความเก่าปรากฏอยู่เลย จึงขอชี้แจงไว้ในส่วนแรกนี้เพื่อขจัดความสงสัยดังกล่าวนั้นเสียก่อนพระเนื้อดินเผา หลวงปู่ ปรากฏพบอยู่ตามบ้านคนทั่วไป ซึ่งเก็บเอาไว้บนหิ้งบูชาอย่างดี พระดังกล่าวผู้ได้รับไปได้รับสมัยหลวงปู่มีชีวิตอยู่มอบให้ไป จึงเก็บรักษาบูชาไว้อย่างดีสภาพพระที่อยู่ตามบ้านชาวนครชัยศรีจึงอยู่ในสภาพสมบูรณ์ทุกประการ
บันทึกการเข้า
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #2 เมื่อ: 21 กันยายน 2007, 11:47:24 PM »

     พระเครื่องเนื้อดินเผาซึ่งปรากฏออกจากกรุครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2501 โดยเด็กวัด (รวมทั้งผู้เขียนเองด้วย) เล่นฟุตบอลไปกระแทกซุ้มประตูมณฑป ด้านหน้าซึ่งชำรุดอยู่แล้วแผ่นปูนส่วนหน้าแตก พระเครื่องที่บรรจุไว้ภายในทะลักออกมา พระเครื่องซึ่งแตกออกมา คราวนั้นเป็นเนื้อดินเผาทั้งหมด และมีอยู่เพียงพิมพ์เดียวคือ “พิมพ์ปรกโพธิ์ใหญ่” ด้านหลังเป็นยันต์ปั๊มสี่เหลี่ยม มีอักขระปรากฏในช่องตารางสี่ช่องทั้งหมด และไม่เคยเห็นมีด้านหลังจารอักขระด้วยมือแม้แต่องค์เดียว  เด็กๆ ได้นำพระไปคนละองค์ สององค์ ความทราบถึงหลวงปู่เพิ่ม ท่านมอบให้พระปลัดใบ คุณวีโร ไปนำพระมาเก็บไว้โดยนำใส่บาตรพระได้ประมาณ 5 บาตร แล้วนำไปเก็บไว้บนหอสวดมนต์  เมื่อพิจารณาจากสภาพกรุบนซุ้มประตูมณฑปแล้วจะเห็นว่าภายในเป็นห้องสี่เหลี่ยมโบกปูนสนิทแน่นทุกด้าน ไม่มีโอกาสที่น้ำจะไหลหรือซึมเข้าไปได้แม้แต่น้อย ดังนั้น สภาพพระจึงคงสภาพ ปกติสมบูรณ์ทุกประการนอกจากแสดงออกแห่งความแกร่งของเนื้อเท่านั้น
     พระเครื่องเนื้อดินเผา ปรากฏออกจากกรุอีกครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ.2516 ขโมยเข้าโจรกรรมพระบูชาภายในมณฑปไปเป็นจำนวนมาก และพยายามจะปีนขึ้นไปบนเพดานด้านบนแต่สุดวิสัยจะทำได้ พระภายในวัดได้พบร่องรอยถูกงัดในตอนเช้าจึงนำความไปบอกหลวงปู่เพิ่ม ท่านจึงมอบให้พระปลัดใบ คุณวีโร ไปนำพระเครื่องซึ่งใส่บาตรเดินเผา  ซึ่งบรรจุไว้บนเพดานมณฑป จำนวน 22 บาตร ลงมาทั้งหมด ซึ่งในครั้งนี้ปรากฏว่าในบาตรดินเผาเหล่านั้นเป็นพระเครื่องหลายเนื้อด้วยกัน มีทั้งเนื้อดินเผาและเนื้อผงผสมว่าน  เนื้อโลหะมากมายหลายแบบหลายพิมพ์
บันทึกการเข้า
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #3 เมื่อ: 21 กันยายน 2007, 11:49:22 PM »

     การพบกรุพระทั้งสองคราวนั้น หลวงปู่เพิ่มเล่าว่า  ท่านรู้เพราะว่าหลวงปู่บุญเป็นผู้ให้ท่านไปร่วมสวดบรรจุด้วยทุกครั้งที่มีการบรรจุกรุพระเครื่องในสมัยหลวงปู่บุญ  ที่บริเวณวัดกลางบางแก้ว ดังนั้นท่านจึงยืนยันได้โดยทั้งสิ้นว่าพระเครื่องเหล่านั้นเป็นพระที่หลวงปู่บุญสร้างขึ้น
     อายุของดินเผา 81 ปี โดยไม่มีการได้รับความชื้น  หรือฝังอยู่ในดินแช่อยู่ในน้ำ  ย่อมมีสภาพสมบูรณ์สดใส   ข้อนี้สามารถพิสูจน์ได้แน่นอน ท่านคงเคยเห็นอิฐซึ่งเป็นดินเผา สมัยอยุธยาก็ดีหรือต้นรัตนโกสินทร์ก็ตาม ซึ่งมีอายุนับ 100 ปี ซึ่งถูกฉาบปูนทับไว้เมื่อหักดูแล้วสภาพของดินเผาที่ยังคงสดใสเฉกเช่นกัน
หลวงปู่เพิ่มเคยเล่าเรื่องการสร้างพระเนื้อดินเผาของหลวงปู่บุญให้ผู้เขียนฟังครั้งหนึ่ง ต่อมา นายกาญจน์ สายกัลยา ได้เล่าว่าทราบจากญาติผู้ใหญ่เล่าว่าหลวงปู่บุญสร้างพระเครื่องอย่างไร เนื้อความที่เล่านั้นมีความตรงกันเป็นส่วนมาก จึงขอนำความนั้นมาเขียนไว้เพื่อเป็นหลักฐานต่อไป
     - นายสุน หูตึง เป็นผู้งมดินเหนียว จากริมตลิ่งแม่น้ำนครชัยศรีขึ้นมาส่วนหนึ่ง
     - ตาทุยและตามุ้ย บางกระเบา เป็นผู้ไปหาดินขุยปูรูอุดตัน จากทุ่งนามาผสม
     - พระสิน เป็นผู้ร่อนทรายเสกและเม็ดแร่บด 
     - พระเพิ่ม (หลวงปู่เพิ่ม) เป็นผู้กรองดินจากตุ่มหมักดินกับน้ำ เพื่อให้ได้เนื้อดินละเอียด
     บรรดาพระภายในวัดช่วยกันนวดดิน โดยมีหลวงปู่บุญนำผงมาผสมลงในเนื้อดิน กรรมวิธีการนวดดินใช้ไม้ไผ่ตอ ท่อนยาวประมาณ 2 วา ผูกปลายไว้ด้านหนึ่งด้วยหวายก็คันรับช่วงต้นทำเป็นโก่งแล้วคนนวดดินถือปลายอีกด้านหนึ่งกดลงกับดินซึ่งวางไว้ใต้คานไม้มีคนคอยปัดดินเข้าหากัน  คนถือปลายไม้ก็มีหน้าที่โก่งกดนวดไปเรื่อยๆ จนได้ดินเหนียวได้ที่แล้วจึงช่วยกันกดพิมพ์
บันทึกการเข้า
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #4 เมื่อ: 21 กันยายน 2007, 11:51:04 PM »

     ตามที่กล่าวมานั้นเป็นคำบอกเล่าเรื่องวิธีการสร้างพระของหลวงปู่  เมื่อกดแม่พิมพ์แล้ว จึงปล่อยให้เนื้อดินแห้งสนิท จากนั้นจึงนำไปเผา สถานที่เผา  คือใต้ต้นสมอพิเภกด้านหน้าวิหาร โดยขุดหลุมลงไปในพื้นดินแล้วสุมด้วยแกลบ เพื่อปลุกเสกโดยเดินกสิณลงไปในด้านเตโชธาตุ โดยเฉพาะยามกลางคืนท่านจะเดินจงกรมรอบเตาเผาซึ่งสุมไว้ข้ามคืน จนพระสุกดีแล้วจึงนำขึ้น
     หลวงปู่เพิ่มเล่าว่า พระที่นำขึ้นมาแล้วนั้น หลวงปู่ท่านให้ใส่บาตรเดินเอาไปไว้บนหอสวดมนต์ แล้วท่านจะปลุกเสกอยู่ทุกวัน หลังจาก สวดมนต์แล้วเป็นประจำนานหลายปีติดต่อกันมาโดยไม่มีใครสนใจ  พระเครื่องเหล่านั้น คงเป็นด้วยสมัยนั้นความนิยมพระเครื่องยังมีน้อยก็เป็นได้ ขณะพิมพ์พระเครื่องเนื้อดินนั้น หลวงปู่เพิ่มเล่าว่า หลวงปู่บุญท่านมาคุมอยู่ตลอดเวลา บางครั้งท่านก็หยิบพระที่พิมพ์แล้วมาลงจารด้านหลัง บางทีพระที่เผาแล้วท่านก็จาร ซึ่งจะพบว่าพระเนื้อดินบางองค์มีจารอักขระลายมือ งดงามหลายแบบต่างๆ กัน และนั่นก็คือ ลายมือจารของหลวงปู่บุญนั่นเอง
     ประมาณว่าพระเนื้อดินนี้หลวงปู่บุญปลุกเสกอยู่ได้ประมาณ 20 ปีติดต่อกัน เพราะพระเครื่องจากหอสวดมนต์ทั้งหมด หลวงปู่ให้นำไปบรรจุกรุที่มณฑปเมื่อปี พ.ศ. 2476 เมื่อรื้อหอสวดมนต์เก่าสร้างซ่อมแซมใหม่ทั้งหลัง จึงได้เคลื่อนย้ายพระเครื่องจากหอสวดมนต์ไปตลอดเวลา 20 ปีนั้น หลวงปู่ท่านสวดมนต์บนหอสวดมนต์ประจำ เช้า-เย็น และปลุกเสกอยู่เป็นประจำ  นับเป็นพระเครื่องที่มีการปลุกเสกนานที่สุดก็เป็นได้ ถือว่าเป็นพระเครื่องของหลวงปู่บุญที่น่าใช้ที่สุด เพราะท่านปลุกเสกนาน
บันทึกการเข้า
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #5 เมื่อ: 21 กันยายน 2007, 11:53:57 PM »

(ภาพประกอบจาก พระเครื่องสุโขทัย www.osomchit.com)


* Boon_4.jpg (53.39 KB, 499x454 - ดู 16282 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #6 เมื่อ: 21 กันยายน 2007, 11:55:00 PM »

 ตกใจ


* Boon_5.jpg (57.94 KB, 498x514 - ดู 28373 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #7 เมื่อ: 21 กันยายน 2007, 11:56:42 PM »

     พระพิมพ์นางพญาสมาธิเล็ก ของพระพุทธวิถีนายก (หลวงปู่บุญ) วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เป็นอีกพิมพ์หนึ่งซึ่งสร้างเป็นจำนวนน้อย  จึงเป็นพิมพ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมสูง มีทั้งเนื้อดินเผา และเนื้อผงผสมว่าน ในปัจจุบันนี้ มีของปลอม ออกมาทำให้วงการปั่นป่วนพอสมควร
     พระพิมพ์นางพญาสมาธิเล็ก ของหลวงปู่บุญ องค์นี้ เป็นพระที่เจ้าของเดิมท่านเก็บรักษามาเป็นอย่างดี ผิวพระยังอยู่ในสภาพเดิมๆ มีสีผิวผ่าน (สีดินเผาบางส่วนถูกความร้อนมากจึงเป็นสีดำ) จากประวัติการสร้างที่คุณสุธนเล่ามา  นับได้ว่าพระเนื้อดินเผาเป็นพระเครื่องที่น่าใช้ที่สุดของหลวงปู่บุญ พระเถระผู้เป็นหนึ่งในลุ่มน้ำนครชัยศรี


* Boon_2.jpg (18.36 KB, 340x492 - ดู 19589 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #8 เมื่อ: 21 กันยายน 2007, 11:58:37 PM »

หมายเหตุ: หลวงปู่บุญท่านเป็นพระรุ่นราวคราวเดียวกันกับหลวงปู่ศุข วัดอู่ทองปากคลองมะขามเฒ่า
     หลวงปู่บุญ ชาตะปี 2391 มรณะปี 2478
     หลวงปู่ศุข ชาตะปี 2390 มรณะปี 2466


* Boon_3.jpg (15.07 KB, 339x493 - ดู 13379 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
คางเครา
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,475



เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 22 กันยายน 2007, 01:21:27 AM »

ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า

เขามีส่วนเลวบ้าง ข่างหัวเขา  จงเลือกเอาส่วนดี เขามีอยู่
เป็นประโยชน์ แก่โลกบ้าง ยังน่าดู  ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย
sidwat
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,483


« ตอบ #10 เมื่อ: 22 กันยายน 2007, 08:10:14 AM »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
aodbu
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 791



« ตอบ #11 เมื่อ: 22 กันยายน 2007, 04:12:30 PM »

ชุดนี้เล่นหากันแพงมั้ยครับพี่สังขวานร ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า

หลวงพ่อโตลงมาทรงงานในโลกมนุษย์ที่สำนักปู่สวรรค์
www.poosawan.org
toi
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: 22 กันยายน 2007, 06:21:21 PM »

เฉพาะชื่อท่านก็กินไปกึ่งนึงแล้วครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
pichitpol
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 843



« ตอบ #13 เมื่อ: 22 กันยายน 2007, 08:05:15 PM »

ผมชอบแววตาของหลวงปู่บุญมากๆครับพี่สังขวานร...  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #14 เมื่อ: 22 กันยายน 2007, 09:28:35 PM »

ขอขอบคุณทุกแรงใจที่เข้ามาทักทายครับ  ยิงฟันยิ้ม

ผมไม่ได้ตามราคามาหลายปีครับคุณ aodbu เมื่อราวๆ 5 ปีที่แล้ว พระสภาพทั่วๆไป พิมพ์ที่มีมากหน่อย เช่นพิมพ์ซุ้มแหลม พิมพ์ซุ้มเว้า ก็จะถูกกว่าพิมพ์อื่นๆ ราคาหลักพันกลางๆ ส่วนพิมพ์ตระกูลสะดุ้งกลับ ได้แก่ นางพญาสะดุ้งกลับ เศียรโล้นสะดุ้งกลับ อยู่ที่หลักหมื่นต้นๆ แต่หากมีจารและสภาพสวย ราคาจะแพงขึ้นเป็นเท่าตัวครับ ได้ยินแว่วๆว่าพระนางพญาสะดุ้งกลับเนื้อดินองค์แชมป์ ถูกบุกเมื่อปีกลายด้วยราคาแสนปลาย ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
prim
Sr. Member
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 364



« ตอบ #15 เมื่อ: 23 กันยายน 2007, 12:02:48 AM »

ข้อมูลเยี่ยมครับพี่ อ่านมันส์
บันทึกการเข้า
tongn005
Administrator
Hero Member
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,222


singhakhakha@hotmail.com


« ตอบ #16 เมื่อ: 23 กันยายน 2007, 05:12:33 AM »

อยากปักหมุดทุกกระทู้ของคุณเลยจริงๆครับ ข้อมูลมีคุณค่ามากๆ
พระลีลาตะลุง ไขว่ห้าง ของหลวงปู่บุญ หลวงพ่อกวยก็เอามาถอดสร้างเป็นเนื้อดินด้วยครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า

อะปะจะคะ ปะจะคะอะ จะคะอะปะ คะอะปะจะ
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #17 เมื่อ: 23 กันยายน 2007, 10:50:49 AM »

อ้างถึง
ข้อมูลเยี่ยมครับพี่ อ่านมันส์
ยิ่งได้ส่องของจริงยิ่งมันส์ครับคุณ prim  ยิงฟันยิ้ม

ราว2ปีที่ผ่านมา วงการพ่อค้าพระทำให้กระแสพระหลวงปู่เพิ่มแรงมาก ผมเองเคารพรักหลวงปู่เพิ่มมาก มีเบี้ยแก้ท่านติดเอวมาตั้งแต่เริ่มสะสมเครื่องราง แต่การที่พระหลวงปู่เพิ่มราคาเบียดพระหลวงปู่บุญแบบหายใจรดต้นคอดูไม่เป็นธรรมชาติเลย มีพระหลวงปู่เพิ่มเนื้อว่าน(บางพิมพ์) ราคาสูงกว่าพระหลวงปู่บุญ เนื้อดิน (บางพิมพ์) ซึ่งหากไตร่ตรองดูแล้วจะพบว่าเป็นกระแสความนิยมที่ไม่น่าเกิดขึ้นได้แต่ก็เป็นไปแล้ว นะครับคุณ tongn005 อีกสักหน่อยพระหลวงพ่อเจือราคาก็อาจเบียดพระหลวงปู่เพิ่มก็เป็นได้ หากวงการพ่อค้าพระเห็นว่ามีโอกาสแสวงผลกำไร จากพวกเราๆ ท่านๆ นักสะสมตาดำๆ ที่เป็นผู้บริโภคข้อมูล  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
tew.2007
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,110



« ตอบ #18 เมื่อ: 24 กันยายน 2007, 04:37:09 PM »

พี่สังขวานร ช่วยเมตตา ลงพระหลวงปู่บุญเป็นวิทยาทานหลายๆพิมพ์ นะครับ  ปัจจุบันอะไรก็ตีเป็นหลวงปู่บุญหมดเลย  เรื่องราคาพระหลวงปู่เจือรุ่นแรกประมาณปี47 เหรียญละประมาณ 500 - 600 แต่ ปี50 ปรับราคาใหม่ 4000 -6500 แต่ก็น่าแปลก ผมตามเก็บมาหลายปี ยังไม่เจอเหรียญแท้เลยมีแต่เหรียญหลวงปู่จารให้แต่ไม่ใช่( คล้ายๆ) ส่วนเบี้ยไม่ต้องคุยกัน กรรมจริงๆ (เพี่อนผมโดนหน้ากุฎิเต็ม ๆ )
บันทึกการเข้า
สังขวานร
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 806


« ตอบ #19 เมื่อ: 24 กันยายน 2007, 09:00:25 PM »

พระเนื้อดินของหลวงปู่ต้องแม่นพิมพ์ แม่นเนื้อครับ คุณtew.2007  โดยเฉพาะด้านหลังพระมักจะมีเม็ดแร่ใสๆ (แร่ควอต์ซ) ลอยปริ่มผิวอยู่ไม่มากก็น้อย ต้องเคยเห็นของจริงครับ ดูจากรูปหลังนางสมาธิเล็กที่ผมนำมาลงก็ได้ครับ ที่น่ากลัวคือตระกูลผงยาจินดามณี มีทั้งเก๊ และยัดวัด หากมีเวลาวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ลองแวะไปที่พิพิธภัณฑ์วัดกลางบางแก้วดูนะครับ อาจารย์สุธน ศรีหิรัญ ปีนี้ท่านเกษียณจากราชการแล้ว ท่านมักมาช่วยเป็นวิทยากรที่พิธภัณฑ์ คุยกับท่านจะได้ความรู้ชัดเจนมากครับ ท่านคุยสนุก และใจดีมากครับ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.10 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!