ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน 02 พฤษภาคม 2024, 03:10:32 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: การใช้งานกระดานสนทนา และวิธีการโพสรูป หรือไฟล์ http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=40.0

+  กระดานสนทนา วัดโฆสิตาราม (บ้านแค) จ.ชัยนาท
|-+  เพื่อการกุศล
| |-+  เช่า-บูชา-บริจาค-ประมูล เพื่อการกุศล
| | |-+  ประวัติหลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ เจ้าของวิชาเบี้ยแก้ พระอาจารย์หลวงปู่รอด วัดนายโรง
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติหลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ เจ้าของวิชาเบี้ยแก้ พระอาจารย์หลวงปู่รอด วัดนายโรง  (อ่าน 20265 ครั้ง)
aviro
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 57


« เมื่อ: 25 ธันวาคม 2007, 06:15:43 PM »

เบี้ยแก้เป็นเครื่องรางที่ใช้ติดตัวเมื่อเดินทางไปในป่าในดงเพื่อป้องกันไข้ป่า ภูตผีไพรต่างๆ และยังป้องกันคุณไสย มนต์ดำ ป้องกันยาพิษยาสั่ง สัตว์เขี้ยวงาทุกชนิด ป้องกันและแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
ได้ผลชะงัดและยังถือว่าเป็นเครื่องรางเมตตามหานิยมอีกด้วย และเบี้ยแก้นั้นปรากฎหลักฐานว่ามีการสร้างมา
ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แล้ว
การทำเบี้ยแก้นั้นหากจะแยกก็พอที่จะแยกออกเป็น 3 สายคือ วัดกลางบางแก้ว วัดนายโรง และ
สายวัดโบสถ์ จังหวัดอ่างทอง โดยสายวัดกลางบางแก้วเท่าที่มีการสืบค้นพบว่ามีหลวงปู่ทอง พระอาจารย์หลวงปู่บุญเป็นผู้สร้างเบี้ยแก้แล้วสืบต่อมายังหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ผู้เป็นศิษย์แล้วตกทอดมายังหลวงปู่เพิ่ม พระอาจารย์ใบ คุณวีโร พระอาจารย์เซ็ง และหลวงปู่เจือ ส่วนสายวัดนายโรง  เท่าที่สืบค้นพบว่ามีหลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ ย่านบางกอกน้อยเป็นผู้สร้างเบี้ยแก้แล้วสืบต่อมายังหลวงปู่รอด  วัดนายโรง  และหลวงปู่รอดได้ถ่ายทอดวิชาทำเบี้ยให้แก่หลวงพ่อม่วง และหลวงพ่อทัต วัดคฤหบดี นอกจากนี้ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
ท่านก็รับถ่ายทอดได้วิชาทำเบี้ยแก้สายหลวงปู่รอดเช่นกันแต่ท่านมิได้ทำแพร่หลาย ส่วนวัดโบสถ์ นั้นพระอาจารย์
ใหญ่สายนี้น่าจะเป็นหลวงพ่อพักตร์ วัดโบสถ์ และสืบต่อมายังหลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน จังหวัดอ่างทอง
และหลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ

เมื่อพิจารณาลักษณะของเบี้ยแก้สายวัดกลางบางแก้ว และสายวัดนายโรง พบว่า การสร้างเบี้ยแก้ของ
สายวัดกลางบางแก้ว และสายวัดนายโรง นั้นคล้ายคลึงกันมากเนื่องจากจะใช้หอยเบี้ยใหญ่ ที่มีฟันแถวละ 16 ซี่
รวม 32 ซี่ กรอกปรอทหนัก 1 บาท อุดด้วยชันโรง หุ้มตะกั่วแล้วลงยันต์แล้วถักด้ายหุ้มอีกทีหนึ่ง เพียงแต่ของ
วัดนายโรงนั้นมีทั้งถังหุ้มทั้งตัวและถักแบบเปิดหลังเบี้ยไว้ ส่วนของวัดกลางบางแก้วถักด้ายหุ้มทั้งตัวแล้วชุบรัก
หรือเปลือยตะกั่ว  ส่วนเบี้ยแก้ของสายหลวงพ่อพักตร์ จะต่างออกไปเนื่องจากใช้หอยเบี้ยขนาดเล็ก กรอกปรอทจำนวนพอประมาณไม่จำกัดน้ำหนัก การกรอกปรอทใช้ตะกั่วชิ้นเล็กๆใส่ในตัวหอยเพื่อล่อปรอท อุดด้วยชันโรงใต้ดินแล้วใช้แผ่นตะกั่วหรือแผ่นทองเหลืองเล็กๆ ลงยันต์ปิดทับชันโรง ทำให้เชื่อได้ว่า ตำราการสร้างเบี้ยแก้ทั้ง
ของหลวงปู่บุญ และหลวงปู่รอด น่าจะมาจากแหล่งเดียวกัน
ปัจจุบันสายวัดกลางบางแก้ว หลวงปู่เจือ ปิยสีโล ยังคงสร้างเบี้ยแก้อยู่ ส่วนสายหลวงปู่รอด นั้น
เมื่อหลวงพ่อม่วงได้มรณภาพลงแล้วก็ไม่ปรากฎการทำเบี้ยแก้อีก ส่วนสายอ่างทองนั้น ก็ยังคงการทำเบี้ยแก้
อยู่เช่นเดียวกัน
บันทึกการเข้า
aviro
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 57


« ตอบ #1 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2007, 06:17:08 PM »

ประวัติหลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ
หลวงปู่แขก (มรณภาพประมาณปี พ.ศ. 2466 อายุขณะมรณภาพประมาณ 80 ปี) เป็นอดีตเจ้าอาวาส รุ่นที่ ๒
ต่อจากสมภารพราหมณ์(หรือพรหม)วัดบางบำหรุ กรุงเทพมหานคร วัดบางบำหรุเป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่
ตำบลบางบำหรุ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ด้านฝั่งธนบุรี (อยู่หลังเซ็นทรัลปิ่นเกล้า) วัดนี้มีมาตั้งแต่
สมัยอยุธยาตอนปลายเคยมีการขุดพบพระเครื่องจากเจดีย์ใกล้วิหารเก่าเป็นพระเครื่องเนื้อดินเผาศิลปะ
สมัยอยุธยาตอนปลายทั้งสิ้น บริเวณวัดอยู่ต่อกับวัดสุวรรณคีรี (วัดขี้เหล็ก) และใกล้วัดนายโรง
หลวงปู่แขก นั้นเป็นพระเกจิยุคเก่าที่แก่กล้าในพระเวทย์ วิทยาคม และโด่งดังในแถบย่านบางบำหรุและท่านเป็นพระอาจารย์ของสมภารฉาย (เจ้าอาวาสลำดับต่อจากหลวงปู่แขกและสมภารฉายเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อรัตน์ สุมโน) หลวงปู่แขกเป็นพระร่วมสมัยเดียวกับพระปลัดทองซึ่งพระอาจารย์ของหลวงปู่บุญ
วัดกลางบางแก้ว แต่เนื่องจากประวัติของหลวงปู่แขก นั้นมีการจดบันทึกไว้น้อยมากประกอบกับท่านสร้างวัตถุ
มงคลไว้ไม่มากและไม่ได้แพร่หลายไปยังพื้นที่ต่างๆ ประวัติของท่านจึงถูกลืมเลือนไปตามกาลสมัยที่ผ่านมา
ยาวนาน ทำให้ปัจจุบันมีผู้ทราบประวัติและรู้จักท่านน้อย
จากคำบอกเล่าของพระครูธรรมวิจารณ์ (ชุ่ม) อดีตเจ้าอาวาส วัดศรีสุดาราม (วัดชีปะขาว)
เขตบางกอกน้อย ซึ่งเล่าไว้เมื่อปี พ.ศ. 2517 ขณะท่านอายุ 97 ปี พรรษา 71 ว่า หลวงปู่รอด วัดนายโรง
(ปรมาจารย์ทางเบี้ยแก้อันโด่งดัง) ได้เล่าให้ท่านฟังว่า หลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ เป็นพระที่มาจากนครชัยศรี
จังหวัดนครปฐม และหลวงปู่รอดได้ศึกษาวิชาเบี้ยแก้จากหลวงปู่แขก ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางบำหรุ
ขณะที่หลวงปู่แขกมาอยู่ที่วัดบางบำหรุนั้น ท่านเป็นพระมาแล้วโดยได้ธุดงค์มาจากนครชัยศรี พื้นเพหลวงปู่แขก
เป็นชาวอยุธยาเป็นสหายกับพระปลัดปาน วัดตุ๊กตา (พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว)
และพระปลัดทอง วัดกลางบางแก้ว (วัดคงคาราม) จังหวัดนครปฐม (พระกรรมวาจาจารย์และพระอาจารย์
ซึ่งสอนวิชาการต่างๆ และวิชาอาคมให้หลวงปู่บุญ) ส่วนหลวงปู่แขกจะมาธุดงค์มาจากวัดตุ๊กตา หรือ
วัดกลางบางแก้วนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด พระปลัดปาน พระปลัดทองและหลวงปู่แขกนั้นเป็นสหายกันหรืออาจเป็น
ศิษย์ร่วมสำนักเดียวกัน


* pra.jpg (84.75 KB, 400x480 - ดู 10290 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
aviro
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 57


« ตอบ #2 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2007, 06:27:51 PM »

หลวงปู่รอด มีชาติภูมิเป็นชาวบางพรหม อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี เดิมหลวงปู่รอด อุปสมบทที่วัดเงิน (วัดรัชฏาธิษฐาน ) ในคลองบางพรม เข้าใจกันว่า ก่อนที่จะย้ายไปอยู่วัดนายโรง
(วัดสมัชชผล) หลวงปู่รอดได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบางบำหรุด้วย และท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่
แขก เพื่อศึกษาสรรพวิชาต่างๆ และที่โดดเด่นคือวิชาเบี้ยแก้ต่อมาหลวงปู่รอด จึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดนายโรง จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ของวัดนายโรง และเป็นพระ
อุปัชฌาย์ได้ทำการอุปสมบทให้แก่กุลบุตร นับแต่ชั้น พ่อ ลูก หลาน ของแต่ละตระกูลในแถบ
ย่านคลองบางกอกน้อย คลองชักพระ ตลิ่งชัน บางระมาด บางพรม บางกรวย บางใหญ่ บางคูเวียง
จึงมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมาก
   หลวงปู่รอดเป็นพระเถระที่สำคัญองค์หนึ่งในย่านคลองบางกอกน้อย เป็นพระเถระ
ที่เชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนาธุระ และมีเกียรติคุณเป็นพิเศษในทางพุทธาคมและเวทย์วิทยาคม
โดยเฉพาะวิชาเบี้ยแก้ซึ่งมีการเล่าขานกันว่าวิชาอาคมของท่านสามารถเสกเบี้ยแก้ให้คลานเองได้
และบริกรรมคาถาให้ปรอทเดินเข้าไปในเบี้ยแก้ได้เองโดยไม่ต้องใช้แรงคนกรอกเข้าไปเลย

ภาพถ่ายหลวงปู่รอด วัดนายโรง


* rod1.jpg (27.84 KB, 277x322 - ดู 6328 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หลานศิษย์
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 955



« ตอบ #3 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2007, 06:32:01 PM »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ แต่น่าจะย้ายไปหมวดความรู้

เปลี่ยนชื่อรูปเป็นอังกฤษด้วยครับ ถึงจะลงได้
บันทึกการเข้า

โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน ไม่ควรอ่านเกินวันละสองครั้ง เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรอ่านตามลำพัง  ^L^
aviro
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 57


« ตอบ #4 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2007, 06:58:14 PM »

เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2550 ทางวัดบางบำหรุได้มีการปรับพื้นที่เพื่อจะจัดงานเจริญพระพุทธมนต์
ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2550 ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุ
ครบ 80 พรรษา ขณะปรับพื้นที่ได้รื้อฐานเจดีย์เก่าแก่ที่หักมานานแล้วออกพบช่องสี่เหลี่ยมมีช่อง
ที่ฐานเจดีย์พบพระเครื่องขนาดเล็กคลุกอยู่กับดินในช่องสี่เหลี่ยมดังกล่าวเมื่อนำพระออกจากกรุ
ทั้งหมดได้พระจำนวนมากแต่ส่วนใหญ่ชำรุดแตกหักคงเหลือสภาพดีประมาณ 1,000 กว่าองค์
ตามหลักฐานของเจดีย์ปรากฏว่าเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยหลวงปู่แขก พระเครื่องนี้มีลักษณะ
เป็นพิมพ์ตุ๊กตาขนาดเล็ก (พิมพ์คล้ายพระวัดพลับ) ซึ่งหลวงปู่แขกสร้างบรรจุไว้ก่อนปี พ.ศ. 2466
พระเครื่องที่พบมี 3 พิมพ์คือ เล็ก กลาง ใหญ่ แต่พิมพ์กลางมีน้อยมาก เนื้อที่พบส่วนใหญ่จะเป็นสีดำ
ส่วนที่เป็นเนื้อสีแดงมีจำนวนน้อย วัดบางบำหรุจึงนำออกทำบุญเฉพาะเนื้อสีดำ พิมพ์ใหญ่ประมาณ 800 กว่าองค์ บุชา องค์ละ 999 บาท พิมพ์เล็กประมาณ800 กว่าองค์เช่นกันบูชาองค์ละ 599 บาท วัตถุประสงค์ที่เปิดให้บูชาเพื่อรวบรวมจตุปัจจัยบูรณะปฏิสังขรณ์อุโบสถวัดบางบำหรุ
บูชาได้ที่วัดบางบำหรุ หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดกับวัดบางบำหรุ
ได้ที่ เบอร์โทร. 02 4244486 และ081 9811319

ภาพพระกรุ หลวงปู่แขก พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่


* pratukta.jpg (89.12 KB, 500x375 - ดู 7080 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
aviro
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 57


« ตอบ #5 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2007, 07:20:01 PM »

พระกรุ หลวงปู่แขก พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก


* 35.jpg (147.78 KB, 600x450 - ดู 5738 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
aviro
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 57


« ตอบ #6 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2007, 07:24:54 PM »

ขณะนี้เหลือให้บูชาที่วัดบางบำหรุ จำนวนไม่มาก แล้วครับ ของดีเช่นนี้หาได้ยากมากครับและจะหาไม่ได้อีกแล้ว
จึงนำมาบอกกล่าวให้ทราบ ได้ทั้งของดีและได้ทำบุญกับวัดด้วยครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.10 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!