ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน 29 มีนาคม 2024, 04:22:47 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: การใช้งานกระดานสนทนา และวิธีการโพสรูป หรือไฟล์ http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=40.0

+  กระดานสนทนา วัดโฆสิตาราม (บ้านแค) จ.ชัยนาท
|-+  ทั่วไทย
| |-+  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องเเละความรู้ทั่วไป
| | |-+  พระเครื่องพิธีใหญ่ พิธีมหาจักรพรรดิ์
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเครื่องพิธีใหญ่ พิธีมหาจักรพรรดิ์  (อ่าน 52419 ครั้ง)
None
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,404



« เมื่อ: 18 มิถุนายน 2008, 06:37:39 PM »

เพื่อนๆครับเคยอยากรู้มั๊ยครับว่ามีพระเครื่องพิธีดีๆ พิธีใหญ่ๆ กี่รุ่นบ้าง และรุ่นไหนบ้าง

ผมเปิดประเด็นนี้ขึ้นมา ก็เพื่อต้องการให้ เพื่อนสมาชิกได้ รู้ว่ายังมี พระเครื่องพิธีดังๆรุ่นไหนบ้าง ที่เกจิ ดังๆมากๆ ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษก บางที เช่นเราต้องการพระเครื่องที่ หลวงพ่อกวย ร่วมพิธีพุทธาภิเษก หรือ หลวงพ่อโม หลวงพ่อพรหมวัดช่องแค หลวงพ่อมุ่ยวัดดอนไร่ หลวงพ่อเกษมเขมโก หลวงปู่ทิม อสิริโก หลวงพ่อเชื้อ หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม หลวงพ่อ อื่นๆที่พวกเรานับถือครับ เผื่อเราจะได้ของดีราคาที่พอสะสมได้ เอาไว้เป็นมงคลแก่ชีวิตครับ อีกอย่างจะได้รู้ด้วยว่า รุ่นไหนสร้างเมื่อไหร่ พระร่วมพิธีพุทธาภิเษก กี่องค์ กี่รูป มีหลวงพ่ออะไรร่วมเสกครับ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
None
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,404



« ตอบ #1 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2008, 06:39:40 PM »

ใครรู้ หรือมีข้อมูลเกี่ยวกับพิธีไหน ช่วยกันหาข้อมูล ช่วยกันลงไว้ครับ จะได้เป็นแนวทางสะสม ครับ

บันทึกการเข้า
None
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,404



« ตอบ #2 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2008, 06:44:22 PM »


พิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก ... ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ จ.พิษณุโลก ๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ .. เมื่อวันที่ ๒๐ ม.ค.๒๕๑๕ พุทธสมาคมพิษณุโลก ได้จัดพิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" ขึ้น ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก เพื่อนำวัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นเข้าพิธีปลุกเสก .. วัตถุมงคลในรุ่นนี้มี พระพุทธชินราชจำลอง พระชัยวัฒน์ พระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ พระพิมพ์ และเหรียญมหาจักรพรรดิ์ ฯลฯ พิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก เป็นพิธีที่ใหญ่มาก ยากแก่การดำเนินการหาเจ้าพิธี ตลอดจนตำรับพระคาถา และพระภิกษุเจริญพระคาถาได้ ตามประวัติ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" นี้ ครั้งแรกได้กระทำพิธีในสมัยรัชกาลที่ ๑ และได้มีการกระทำพิธีนี้อีก เมื่อวันที่ ๒๐ ม.ค.๒๕๑๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๙ หลังนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำพิธีฯ นี้อีกเลย
รายนามเกจิร่วมเสก
สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย
พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี เป็นประธานบริกรรมปลุกเสก
รายนามเกจิร่วมเสก.................
ลพ.แดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
ลพ.หอม วัดชากหมาก ระยอง
ลพ.สุข วัดโพธิ์ทรายทอง บุรีรัมย์
ลป.ทิม วัดละหารไร่ ระยอง
ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี
ลพ.มิ่ง วัดกก ธนบุรี
ลพ.นอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
ลพ.เทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา
ลพ.เนื่อง วัดจุฬามณีสมุทรสงคราม
ลพ.แพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
ลพ.เกษม สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
ลพ.พรหม วัดช่องแค นครสวรรค์
ลพ.โอด วัดจันเสน นครสวรรค์
ลพ.กวย วัดโฆษิตาราม ชัยนาท
ลพ.สด วัดหางน้ำ ชัยนาท
ลพ.พริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
ลพ.มุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี
ลพ.ถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
ลพ.กี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี
ลพ.ขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี
ลพ.อุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี
ลพ.ผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนเเก่น
ลพ.สงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร
พระอาจารย์นำเเก้วจันทร์ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
ลพ.กรับ วัดโกรกกราก จ.สมุทรสาคร
ลพ.เปลี่ยน วัดใต้ จ.กาญจนบุรี
ลพ.เต๋ คงทอง จ.นครปฐม
ลพ.เผือก วัดสาลีโข จ.นนทบุรี
ลพ.จ้อย วัดศรีอุทุมพร จ.นครสวรรค์
ลพ.เเจ่ม วัดวังเเดงเหนือ จ.อยุธยา
ลพ.คง วัดบ้านสวน จ.พัทลุง
ลพ.โต๊ะ วัดเกตุชัยโย จ.อ่างทอง
ครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
ลพ.ปี้ วัดลานหอย จ.สุโขทัย
ลพ.เกตุ วัศรีเมือง จ.สุโขทัย
ครูบาตัน วัดเชียงทอง จ.ตาก
ลพ.เกตุ วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันต์
ลพ.เส็ง วัดกัลยาณ์ ธนบุรี
ลพ.ลมูล วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี
ลพ.บุญ วัดวังมะนาว จ.ราชบุรี
ลพ.ชื่น วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี
ลพ.เจริญ วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี
ลพ.ชื่น วัดคุ้งท่าเลา จ.ลพบุรี
ลพ.ผัน วัดราษฏ์เจริญ จ.สระบุรี
พระครูสนิทวิทยาการ วัดท่าโขลง จ.ลพบุรี
ลพ.เย็น วัดโคกสะท้อน จ.พัทลุง
ลป.จันทร์ วัดสำราญ จ.อุบลราชธานี
พระอาจารย์พวง วัดสว่างอารมณ์ จ.สุโขทัย
พระอาจารย์ฉลอง วัดสว่างอารมณ์ จ.สุโขทัย
ลพ.เปรื่อง+พระอาจารย์พิมพ์ วัดคูหาสวรรค์ จ.พิษณุโลก
ลพ.เฉลิม+ลพ.เปรื้อง วัดโพธิญาณ จ.พิษณุโลก
ฯ ล ฯ
บันทึกการเข้า
None
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,404



« ตอบ #3 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2008, 06:50:16 PM »

 พระร่วงยุทธหัตถี พ.ศ.2513 วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จ.สุพรรณบุรี สร้างพร้อมกับกริ่งยุทธหัตถีและเหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาพุทธาภิเศกโดยพระเกจิอาจารย์ทั่วฟ้าเมืองไทย
ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2513 วันกองทัพไทย โดยมีสมเด็จพระสังฆราช ทรงจุดเทียนชัยเวลา 11.00 น. มหาพุทธาภิเษกโดยคณาจารย์ 108 รูปดังมีรายนามต่อไปนี้
1 พระราชสุพรรณาภรณ์ (เปลื้อง) วัดสุวรรณภูมิ สุพรรณบุรี
 2 พระราชธรรมาภรณ์ (เงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
3 พระราชปัญญาโสภณ (สุข) วัดราชนัดดา กรุงเทพ ฯ
4 พระราชพุทธิรังษี (เจียม) วัดโสธรวราราม ฉะเชิงเทรา
5 พระโพธิวรคุณ (ฑูรย์) วัดโพธินิมิตร ธนบุรี
6 พระเมธีธรรมสาร (ไสว) วัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี
7 พระพุทธมนต์วราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศน์ กรุงเทพ ฯ
8 พระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร สุพรรณบุรี
9 พระครูสุตาธิการี (ทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร
10 พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลาง อยุธยา
11 พระครูศีลพรหมโสภิต (แพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
12 พระครูภาวนากิตติคุณ (น้อย) วัดธรรมศาลา นครปฐม
13 พระครูสถาพรพุทธมนต์ (สำเนียง) วัดเวฬุวนาราม นครปฐม
14 พระครูวิริยะกิตติ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี
15 พระครูพิทักษ์วิหารกิจ (สา) วัดราชนัดดา กรุงเทพ ฯ
16 พระครูโสภนกัลยาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี
17 พระครูพินิจสมาจารย์ (โด่) วัดนามตูม ชลบุรี
18 พระครูปัญญาโชติวัตร (เจริญ) วัดทองนพคุณ เพชรบุรี
19 พระครูประสาทพุทธิคุณ วัดคุ้งวารี สุโขทัย
20 พระครูเอนกคุณากร (แขก) วัดหัวเขา สุพรรณบุรี
21 พระครูสุวรรณวรคุณ (คำ) วัดหน่อพุทธางกูร สุพรรณบุรี
22 พระครูสุนทรานุกิจ (กริ่ง) วัดสามชุก สุพรรณบุรี
23 พระครูสุวรรณวิสุทธิ (เจริญ) วัดธัญญวารี สุพรรณบุรี
24 พระครูสุวรรณโพธิวัฒน์ (เพรียว) วัดโพธิทองเจริญ สุพรรณบุรี
25 พระครูนนทกิจวิมล (ชื่น) วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
26 พระครูพินิจวิหารการ (เทียม) วัดกษัตราธิราช อยุธยา
27 พระครูศรีรัตนาภิรักษ์ (โพธิ์) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี
28 พระครูใบฎีกาเติม วัดไร่ขิง นครปฐม
29 พระครูประภัศร์ธรรมาภรณ์ (แต้ม) วัดพระลอย สุพรรณบุรี
30 พระครูวิจิตรวิหารการ (เจิม) วัดกุฎีทอง สุพรรณบุรี
31 พระครูสุนทรธรรมจารี (อ๊อด) วัดพระธาตุ สุพรรณบุรี
32 พระครูอโศกสันติคุณ (สงัด) วัดดอนหอคอย สุพรรณบุรี
33 พระครูอุภัยภาดาทร (ขอม) วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี
34 พระครูวิมลสังวร (สังวร) วัดแค สุพรรณบุรี
35 พระครูสังฆรักษ์สัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง สุพรรณบุรี
36 หลวงพ่อมิ วัดสิงห์ ธนบุรี
37 พระครูปลัดสงัด วัดพระเชตุพนวิมังคลาราม กรุงเทพ ฯ
38 พระอาจารย์ไสว วัดราชนัดดา กรุงเทพ ฯ
39 พระอาจารย์สมคิด วัดเลา ธนบุรี
40 พระอาจารย์หลวงพ่อผ่อง วัดจักรวรรดิ กรุงเทพ ฯ
41 พระอาจารย์หลวงพ่อกก วัดดอนขมิ้น กาญจนบุรี
42 พระอาจารย์หลวงพ่อเณร วัดพรพระร่วง กรุงเทพ ฯ
43 พระอาจารย์หลวงพ่อหอม วัดซากหมาก ระยอง
44 พระอาจารย์หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี
45 พระครูฉาย วัดชนะสงคราม กรุงเทพ ฯ
46 พระอาจารย์สร้อย วัดเลียบราษฎร์บำรุง กรุงเทพ ฯ
47 พระอธิการคำ วัดพระรูป สุพรรณบุรี
48 พระอาจารย์เผื่อน วัดพระรูป สุพรรณบุรี
49 พระธรรมธรทองดี วัดพระรูป สุพรรณบุรี
50 พระอาจารย์พล วัดนิเวศน์ธรรมาราม สุพรรณบุรี
51 พระอธิการทอง วัดประตูสาร สุพรรณบุรี
52 พระครูวิบูลย์คุณวัตร (หล่อ) วัดน้อย อ่างทอง
53 พระอาจารย์เกลื่อน วัดรางสงวน อ่างทอง
54 พระครูศีลโสภิต วัดทองพุ่มพวง สุพรรณบุรี
55 ท่านองสรพจนสุนทร วัดกุศลสมาคร กรุงเทพ ฯ
56 พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (มุ่ย) วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี
57 พระครูปรีชาวุฒิคุณ (ฮวด) วัดดอนโพธิ์ทอง สุพรรณบุรี
58 พระครูประสาทวรคุณ (พริ้ง) วัดโบสถ์ ลพบุรี
59 พระสมุห์จำลอง วัดท่าสว่างศรีไพฑูรย์ อุดรธานี
60 พระครูวิเศษมงคลกิจ วัดกก กรุงเทพ ฯ
61 พระมหาต่วน วัดมเหยงคณ์ สุพรรณบุรี
62 พระครูสุนทรวิริยานุวัตร วัดกุฎีทอง สุพรรณบุรี
63 พระครูศรีปทุมรักษ์ วัดศรีบัวบาน สุพรรณบุรี
64 พระครูอาทรศาสนกิจ วัดวังพระนอน สุพรรณบุรี
65 พระครูมงคลนิวิฐ วัดนิเวศน์ธรรมาราม สุพรรณบุรี
66 พระอาจารย์นุรัตน์ วัดนางพญา พิษณุโลก
67 พระครูปลัดพวน วัดท่าพระยาจักร์ สุพรรณบุรี
68 พระอาจารย์ธีระ วัดท่าพระยาจักร์ สุพรรณบุรี
69 พระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ วัดพันอ้น เชียงใหม่
70 พระครูศาสนกิจจาภิรมย์ วัดไผ่เดี่ยว สุพรรณบุรี
71 พระครูวาทีธรรมคุณ วัดลานคา สุพรรณบุรี
72 พระครูพินิตสุวรรณภูมิ วัดยุ้งทลาย สุพรรณบุรี
73 พระใบฎีกาทวน วัดอุทุมพราราม สุพรรณบุรี
74 พระมหาบุญ วัดพันตำลึง สุพรรณบุรี
75 พระใบฎีกาบุญชู วัดไตรรัตนาราม สุพรรณบุรี
76 พระครูสุนทรศีลคุณ วัดนางในธรรมิการาม อ่างทอง
77 พระครูวิเศษสุตกิจ วัดสำโรง อ่างทอง
78 พระครูถาวรธรรมนิเทศ วัดหลวง อ่างทอง
79 พระครูธรรมธรศรีรัตน์ วัดวิเศษ อ่างทอง
80 พระครูวรพรตศีลขันธ์ วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี ...ฯลฯ
 พระร่วงยุทธหัตถีรุ่นนี้เป็นหนึ่งในพระพิมพ์พระร่วงที่ออกแบบพิมพ์ได้สวยงามเข้มขลัง อีกทั้งพิธีมหาพุทธาภิเศกใหญ่โดยยอดคณาจารย์ พุทธคุณสูงทางด้านคงกระพันชาตรี
 แคล้วคลาดป้องกันภัยภยันตราย ว่ากันว่าพระพิมพ์พระร่วงนี้เหมาะสำหรับบูชาคู่กายชายชาตรี พระร่วงยุทธหัตถีรุ่นนี้เป็นหนึ่งในพระพระดีมีคุณค่าน่าบูชาสะสมมากครับ.

บันทึกการเข้า
None
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,404



« ตอบ #4 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2008, 09:24:47 AM »

อันนี้ขออนุญาติ พี่ chet008 ก็อปปี้ข้อมูลของพี่มา น่ะครับ ผมรวบรวมข้อมูลเพื่อให้เพื่อนๆ มีแนวทางในการสะสมของดีราคาถูกครับ

ที่มาเนื้อหานี้ก็อปจากข้อมูลพี่ chet008 ในกระทู้ข้างล่างครับ

http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=2443.0

เนื้อหาเกี่ยวกับพระหูยานองค์นี้มีดีงนี้
พระหูยานศิลปะลพบุรี เป็นพระที่วงการ ให้ความนับถือว่า ผู้มีบุญวาสนาขั้นสูง เท่านั้นที่จะได้ครอบครอง


หูยาน จปร ปืนแตก เป็นพระเครื่องที่ สร้างล้อพิมพ์จาก “พระหูยานศิลปะลพบุรี” ได้จัดสร้างเพื่อเป็นการ ฉลอง ๑๐๐ ปีวัดราชบพิธฯ โดยมีการสร้างเป็นเนื้อ นวโลหะ และเนื้อทองแดง ซึ่งทั้งสองเนื้อ นายช่างเกษม มงคลเจริญ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลชุดนี้ เล่าว่า ได้ทำการเจือ โลหะ ที่ได้จาก พิธีเททอง ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯเททอง ผสมกับ ชนวนโลหะวัตถุมงคลรุ่นเก่า ๆ ของวัดราชบพิธฯ รวมกับ แผ่นยันต์ลงอักขระของพระเกจิ ผู้ทรงพุทธาคม จากทั่วประเทศ ๑๐๘รูป ในวัตถุมงคล ทั้งเนื้อนวโลหะ และเนื้อทองแดงโดยทั่วถึงกันอย่างพิถีพิถัน


พิธีพุทธาภิเษก 3 วัน 3 คืน ณ.พระอุโบสถวัดราชบพิธ ระหว่างวันที่ 29-30-31 มกราคม พ.ศ. 2514 โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณา ธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี “จุดเทียนชัย” ในวันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2514 โดยทางวัดได้อาราธนา พระเกจิ ผู้ทรงวิทยาคุณ ล้วนเเต่ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านพุทธคมในยุคนั้น โดยผลัดเปลี่ยนกันมาร่วมพิธีในเเต่ละวัน ทั้ง 108 รูป อาทิ

ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
ลพ.เงิน วัดดอนยายหอม
ลป.เทศก์ เทศก์รังษี
หลวงตา มหาบัว
ลพ.เทียม วัดกษัตริยาธิราข
พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
ลป.หิน วัดระฆัง
ลพ.ทูรย์ วัดโพธิ์นิมิต
ลพ.ทองอยู่
ลพ.กี๋ วัดหูช้าง
ลพ.ขอม วัดไผ่โรงวัว
ลพ.โชติ ระลึกชาติ
ลพ.นอ วัดท่าเรือ

เป็นต้น



หลังพิธีพุทธาภิเษก ได้มีบรรดานายทหารจาก กรมรักษาดินแดน และ กระทรวงกลาโหม ซึ่งอยู่ใกล้กับ วัดราชบพิธฯ ได้ มาบูชาไปเป็นจำนวนมาก โดยนายทหารที่บูชาไปในสมัยนั้น ได้มีการนำพระรุ่นนี้ไป เลี่ยมพลาสติกแล้วไปแขวนกับ ธงชาติ จากนั้นจึงได้ชักธงชาติระดับเหนือศีรษะ แล้วทำการ “ทดลองยิง”

ปรากฏว่า ปืนยิงไม่ออกในนัดแรก บรรดาผู้ทดลอง จึงทำการตรวจสอบปืนใหม่แล้วยิงอีกนัด คราวนี้ปรากฏว่าเกิดเสียงระเบิด ดังขึ้น และพอสิ้นเสียงระเบิด ปรากฏ ปากกระบอกปืนที่ใช้ทดลองยิงแตกเป็นรอยร้าว จึงเรียก พระรุ่นนี้ว่ารุ่น “ปืนแตก”


นอกจากนี้ พระหูยานรุ่นปืนแตกนี้ ได้ปรากฏปาฏิหาริย์ ช่วยเหลือ บรรดาทหารที่อาสาสมัครไปร่วมรบ ในสมรภูมิเวียดนามรอดชีวิตกลับมาเป็นที่ร่ำลือว่า บรรดาเซียนพระหลายราย ก็มีการบอกเล่ากันต่อ ๆ มาว่า พระหูยาน จ.ป.ร. นี้ มีพุทธคุณเข้มขลัง มาก


บันทึกการเข้า
None
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,404



« ตอบ #5 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2008, 05:55:46 PM »

 ประวัติการสร้างวัตถุมงคลชุดนี้น่าสนใจมากเพียงแต่คนจะทราบรายละเอียดค่อนข้างน้อยทำให้หลายคนมองข้ามของดีในพิธีนี้ไปอย่างน่าเสียดายครับ ประวัติมีอยู่ว่าเนื่องจากนายเรียน นุ่มดี ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่ดู่ วัดสะแก) ในสมัยนั้นท่านกำลังใกล้จะเกษียณอายุราชการและจะกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่บ้านเกิดที่อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี แต่เนื่องด้วยวัดเขาใหญ่ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่และเป็นวัดใกล้บ้านเกิดนั้นมีสภาพทรุดโทรม เสนาสนะก็ไม่ได้รับการบูรณะมานานมาก ดังนั้นนายเรียนจึงมีความตั้งใจที่จะหารายได้จำนวนหนึ่งไปปฏิสังขรณ์วัดเขาใหญ่ให้สวยงาม พร้อมทั้งสร้างวิหารจตุรพิธพรชัยขึ้นใหม่ จึงได้นำความมาปรึกษากับหลวงปู่ดู่ท่านว่าจะทำอย่างไรดี หลวงปู่ดู่ท่านจึงได้เมตตาแนะนำและให้คำปรึกษาในการจัดสร้างวัตถุมงคลตลอดจนการนิมนต์ครูบาอาจารย์มาร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลในพิธีนี้อย่างละเอียด โดยพิธีพุทธาภิเษกถูกหนดขึ้นที่วัดรัตนชัย (วัดจีน) อ.เมือง จ.อยุธยา เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ส่วนพระเกจิอาจารย์ที่รับนิมนต์มาร่วมพิธีมีทั้งหมด 16 รูปคือ

1. พระครูสังวรวิมล (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี อ.บางกอกใหญ่ จ.กรุงเทพฯ

2. พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา

3. พระรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเรไรย์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

4. พระโบราณคณิสสร (หลวงพ่อใหญ่) วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา

5. พระครูประสาทวรคุณ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู อ.เมือง จ.ลพบุรี

6. พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดบ้านช้าง อ.วังน้อย จ.อยุธยา

7. พระครูกัลยานุกูล (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร อ.ธนบุรี จ.กรุงเทพฯ

8. หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท

9. พระครูอดุลวรวิทย์ (หลวงพ่อไวทย์) วัดบางซ้าย อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา

10. หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา

11. พระราชสุวรรณโสภณ วัดพนัญเชิง อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา

12. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี

13. พระครูสังฆรักษ์ (หลวงพ่อเฉลิม) วัดพระญาติการาม อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา

14. พระครูภัทรกิจโกศล (หลวงพ่อหวล) วัดพุทไธสวรรค์ อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา

15. หลวงพ่อโปร่ง วัดขุนทิพย์ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา

16. หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ (ศิษย์ก้นกุฎิของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค มาในนามของท่าน)

ส่วนวัตถุมงคลที่ปลุกเสกในพิธีนี้มีอยู่ 4 ประเภท (ไม่นับรวมของฝากในพิธีนี้) คือ

1. เหรียญ 9 พระอาจารย์ - จัดสร้าง 5,599 เหรียญ แบ่งออกเป็นอีกสองเนื้อคือ เนื้อเงิน (มีเพียงบางพระอาจารย์เท่านั้น) และเนื้อทองแดง มีทั้งแบบที่บรรจุในกล่องกำมะหยี่และที่ออกให้บูชาแบบเดี่ยว ๆ ที่นิยมเรียกว่า "เหรียญ 9 พระอาจารย์" นั้นเพราะว่าทางคณะกรรมการจัดทำเป็นเหรียญรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ที่ด้านหน้า และประทับยันต์ครูของท่านที่ด้านหลัง รวม 9 แบบ คือ หลวงพ่อนอ วัดกลาง หลวงพ่อถิร วัดป่าเรไรย์ หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู หลวงพ่อออด วัดบ้านช้าง หลวงพ่อไวทย์ วัดบางซ้าย หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม โดยเมื่อปั๊มเหรียญเสร็จจากโรงงาน คณะกรรมการได้นำเหรียญของแต่ละพระอาจารย์ไปมอบให้ที่วัดเพื่อให้ท่านปลุกเสกเหรียญของท่านล่วงหน้า 1 เดือนก่อนพิธีพุทธาภิเษกใหญ่

2. พระสมเด็จ 9 ชั้น - จัดสร้างเป็นเนื้อผงแก่น้ำมัน จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุ ตามประวัติกล่าวว่าพระชุดนี้หลวงปู่ดู่ท่านตั้งใจออกแบบพิมพ์และมวลสาร เพื่อถวายให้หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาคเป็นกรณีพิเศษ โดยด้านหน้าจะล้อพิมพ์พระสมเด็จวัดไชโย ด้านหลังเป็นยันต์ครูของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค และมีคำว่า "วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี" ประทับอยู่ใต้ยันต์ครู โดยหลวงปู่ดู่ท่านได้มอบผงมหาจักรพรรดิ์จำนวนหนึ่งไปผสมเป็นมวลสาร จากนั้นนายเรียนจึงนำเรื่องนี้ได้กราบเรียนหลวงปู่สีทราบ ซึ่งท่านก็อนุโมทนาและอนุญาตตามนั้นและได้มอบผงวิเศษของท่านมาอีกจำนวนหนึ่ง สุดท้ายหลังจากได้มวลสารและกดพิมพ์เป็นองค์พระเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ดู่ท่านได้บอกให้นายเรียนนำพระสมเด็จชุดนี้กลับไปให้หลวงปุ่สีท่านปลุกเสกเป็นปฐม ซึ่งหลวงปู่ท่านก็เมตตาปลุกเสกให้เป็นกรณีพิเศษ 1 เดือน (เป็นพระอีกชุดหนึ่งของสายนี้ที่ปลุกเสกนานมาก) เสร็จแล้วจึงให้นายเรียนมารับกลับไปเพื่อรอเข้าพิธีพุทธาภิเษกใหญ่

3. พระแก้ว 3 ฤดู - จัดสร้างเป็นเนื้อผงและมีการลงสีเขียวที่พระวรกาย ปิดทองที่เครื่องทรง เฉกเช่นเดียวกับพระแก้วมรกตที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.กรุงเทพฯ จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุไว้ มีทั้งแบบบรรจุกล่อง (ครบ 3 ฤดู) และที่ออกให้บูชาแบบเดี่ยว ๆ ด้านหน้าเป็นรูปพระแก้วมรกตทรงเครื่องตามฤดู (ร้อน / ฝน / หนาว) ด้านหลังประทับยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ (นะโมพุทธายะ) และมีคำว่า "วัดรัตนชัย (จีน) อยุธยา"



4. พระสามสมัย - จัดสร้างเป็นเนื้อผงโดยแบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ คือ เชียงแสน สุโขทัย อู่ท่อง ขนาดจะเล็กประมาณพระของขวัญ วัดปากน้ำ จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุไว้ ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธรูปและที่ใต้พระพุทธรูปจะมีคำอธิบายศิลปะของพระพุทธรูปไว้ด้วย คือ เชียงแสน หรือ สุโขทัย หรือ อู่ทอง ด้านหลังประทับยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ (นะโมพุทธายะ) และมีคำว่า "วัดเขาใหญ่ สุพรรณบุรี"

เกล็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เล่าขานมาสืบมาเกี่ยวกับพิธีจตุรพิธพรชัย ว่ากันเป็นประเด็นเล็ก ๆ น้อย ๆ ดังนี้


ครูบาอาจารย์หลายรูปรวมถึงหลวงพ่อกวยกล่าวกับศิษย์ของท่านว่า "พิธีนี้ศักดิ์สิทธิ์มาก"



พิธีนี้หลวงปู่ดู่ท่านให้นายเรียนนิมนต์หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาคมาร่วมพิธีพุทธาภิเษก แต่ขณะนั้นท่านอายุ 126 ปีเข้าไปแล้ว ท่านจึงมอบหมายให้พระอาจารย์สมบูรณ์ ศิษย์ก้นกุฎิและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในขณะนั้นไปร่วมพิธีในนามของท่าน แต่จะว่าไปแล้วเรื่องที่คนคิดไม่ถึงก็คือ หลวงปู่สีท่านก็ได้เดินญาณมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกเช่นเดียวกัน เพราะท่านถือว่าท่านได้รับรับนิมนต์หลวงปู่ดู่ไว้แล้ว



พิธีนี้ว่ากันว่า นอกจากหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค เดินญาณมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ยังมีอีกรูปหนึ่งที่เดินญาณมาร่วมพิธีเหมือนกัน ซึ่งก็คือ หลวงปู่ดู่ วัดสะแก เพราะท่านรับปากนายเรียนว่าจะช่วยปลุกเสกอย่างเต็มที่



ลูกศิษย์ท่านหนึ่งของหลวงพ่อกวยเคยถามว่า "หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค เป็นใคร ทำไมถึงมีเหรียญของท่านในชุดเหรียญ" หลวงพ่อกวยท่านตอบว่า "ท่านเป็นพระอรหันต์.."[/b]



หลังจากพุทธาภิเษกเสร็จ มีนักเลงพื้นที่พูดคุยกันว่า "จะขลังแค่ไหน.." ปรากฎว่าคำพูดนี้ได้ยินไปถึงนายเรียน ทำให้นายเรียนนำความนี้เข้าปรึกษาครูบาอาจารย์ในพระอุโบสถว่า "จะทำอย่างไรดี.." เพราะเป็นที่ทราบกันว่าสมัยนั้นการลองของประเภทจะ ๆ นิยมกันมาก เช่น เอาปืนยิง เพราะต้องการทดสอบพุทธคุณในวัตถุมงคลนั้น ๆ ว่าดีจริงเพียงใด ถ้าสมมติว่า "ยิงออกหรือเหรียญโดนยิงทะลุ" ทุกอย่างที่ทำมาเป็นอันจบกัน ซึ่งในเวลานั้นครูบาอาจารย์ที่พรรษาน้อยไม่กล้าออกความเห็นจึงสงบนิ่งเพื่อให้ท่านที่พรรษาสูงกว่าปรึกษาและตัดสินใจกัน ระหว่างนั้นหลวงพ่อกวย ท่านได้ขออนุญาตครูบาอาจารย์ทุกรูปว่า "กระผมอาสา.." หลังจากนั้นท่านจึงนำเหรียญรูปเหมือนของท่านติดตัวไปด้วยหนึ่งเหรียญออกไปนอกพระอุโบสถ แล้วพูดขึ้นว่า "ใครจะเอาไปลองบ้าง" ปรากฎว่านักเลงคนหนึ่งขออาสาเป็นผู้ทดสอบ และได้นำเหรียญดังกล่าวไปยิงที่หลังพระอุโบสถ ปรากฎว่า "แชะ ๆ ๆ.." และได้นำเหรียญมาคืนหลวงพ่อกวยท่านพร้อมขอขมาท่าน พอชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวก็ประจักษ์ในพุทธคุณและเริ่มบอกปากต่อปากไปในวงกว้าง ส่วนหลวงพ่อกวยท่านจึงกลับเข้าไปในพระอุโบสถพร้อมกับกล่าวว่า "เรียบร้อย.."



ก่อนพระเกจิอาจารย์ทั้งหมดจะเดินทางกลับวัด ทางคณะกรรมการได้มอบวัตถุมงคลในพิธีนี้จำนวนหนึ่งให้แก่พระเกจิอาจารย์ทุกรูป เพื่อให้ท่านนำกลับไปแจกลูกศิษย์ลูกหาที่วัด ทำให้วัตถุมงคลในพิธีนี้กระจายในหลายพื้นที่
     มหาพิธีพุทธาภิเษก วัตถุมงคลจตุรพิธพรชัย ที่วัดรัตนชัย เมื่อปี พ.ศ. 2518 นั้น หลวงพ่อกวยท่านพบอภินิหารของพระคณาจารย์ผู้ร่วมพิธีปลุกเสกหลายรูปด้วยกัน เมื่อท่านเดินทางกลับมาถึงวัดโฆสิตาราม ได้เล่าให้คณะศิษย์ฟังว่า พระวัดกลาง อ.ท่าเรือฯ (หมายถึงหลวงพ่อนอ) มีคุณวิเศษในทาง มหาอุดเป็นเลิศ พระวัดบ้านช้าง อ.วังน้อยฯ (หมายถึงหลวงพ่อออด) มีความเข้มขลังทางคงกระพันชาตรี เวลาปลุกเสก ตัวเฑาะว์จะหลุดลอยออกมาจากในปาก พระวัดโบสถ์ ลพบุรี (หมายถึงหลวงพ่อพริ้ง) มีดีทางแคล้วคลาด กำบังภัยอย่างยอดเยี่ยม


ต้องขออนุญาติก็อปปี้ภาพของ พี่หนุ่มแปดริ้ว มาโพสน่ะครับ  ด้วยความเคารพ ครับ


* 00003.jpg (148 KB, 1100x667 - ดู 25907 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
None
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,404



« ตอบ #6 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2008, 06:04:51 PM »

จากคำพูด ของหลวงพ่อกวย ถึงหลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุนนาค

ลูกศิษย์ท่านหนึ่งของหลวงพ่อกวยเคยถามว่า "หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค เป็นใคร ทำไมถึงมีเหรียญของท่านในชุดเหรียญ" หลวงพ่อกวยท่านตอบว่า "ท่านเป็นพระอรหันต์.."

เพื่อนๆเคยคิดมั๊ยครับ ว่าสื่อถึงอะไร

พระอรหันต์ เท่านั้น ถึงจะรู้ ว่าใครเป็นพระอรหันต์ จริงๆครับ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
None
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,404



« ตอบ #7 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2008, 06:38:49 PM »

นำมาให้ศึกษาและเก็บความรู้กันครับว่ามีท่านใดบ้างในพิธีนี้
ข้อมูลอ้างอิง->พิธีการสร้างและปลุกเสกยิ่งใหญ่มาก โดยมีจุดประสงค์เพื่อแจกจ่ายแก่ญาติโยมที่ร่วมบูรณะวัดประสาทฯหลังจากเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่และนำทองแดงทองเหลืองมาร่วมหล่อพระประธาน(ไม่รับเงิน)
แม้จะบูรณะวัดและหล่อพระประธานเสร็จแล้วก็ยังแจกเป็นทานแก่ผู้ที่มาขอไปบูชาไม่ได้เปิดให้จำหน่ายแต่อย่างใดและทำให้เกิดประสบการณ์มากมายจนเป็นที่เลื่องลือ และแบ่งพระอีกจำนวนหนึ่งเป็นจำนวน84000องค์เพื่อบรรจุในเจดีย์สืบทอดพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ต่อไป

เจตนาการสร้างดี มวลสารดีมีผงสมเด็จบางขุนพรหมที่แตกหักเป็นจำนวนมากๆอีกทั้ง พิธีใหญ่ โดยนิมนต์พระดังทุกวัดในประเทศไทยขณะนั้นมาร่วมปลุกเสกอันได้แก่

อาจารย์ทิม วัดช้างให้
ลพ.คล้าย วัดสวนขัน
ลพ.ดิษฐ์ วัดปากสระ
ลพ.น้อย วัดธรรมศาลา
ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
ลพ.แดง วัดเขาบันไดอิฐ
ลพ.มุ่ย วัดดอนไร่
ลพ.เงิน วัดดอนยายหอม
ลพ.กวย วัดโฆสิตาราม
ลพ.พรหม วัดช่องแค
ลพ.ทบ วัดชนแดน
ลป.ทิม วัดระหารไร่
ลป.เขียว วัดหรงบน
ลพ.จง วัดหน้าต่างนอก
ลป.ดู่ วัดสะแก
ลป.สี วัดสะแก
ลพ.แพ วัดพิกุลทอง
ลป.นาค วัดระฆังฯ
ลป.หิน วัดระฆังฯ
ลพ.โบ๊ย วัดมะนาว
พระอ.นำ วัดดอนศาลา
ลพ.เส่ง วัดกัลยา
ลพ.ถิร วัดป่าเลไลย์
ลพ.เต๋ วัดสามง่าม
ลพ.หน่าย วัดบ้านแจ้ง
ลพ.บุญมี วัดเขาสมอคอน
ลพ.เหรียญ วัดบางระหงส์
ลป.เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
ลพ.ครื้น วัดสังโฆ
ลพ.แช่ม วัดนวลนรดิษฐ์
ลพ.นอ วัดกลางท่าเรือ
ลพ.ผล วัดเทียนดัด
ลพ.โด่ วัดนามะตูม
ลพ.ชื้น วัดญาณเสน
ลพ.สุด วัดกาหลง
ลพ.เนื่อง วัดจุฬามณี
ลพ.กี๋ วัดหูช้าง
ลพ.แก้ว วัดช่องลม
ลพ.กัน วัดเขาแก้ว
ลพ.ทองอยู่ วัดใหม่หนองพระองค์
ลพ.ฑูรย์ วัดโพิ์นิมิตร
เจ้าคุณเจีย วัดโพธิ์
เจ้าคุณประหยัด วัดสุทัศน์
ลพ.ดี วัดเหนือ
ลพ.แขก วัดหัวเขา
ลพ.ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด
ลพ.ทองสุข วัดสะพานสูง
ลพ.มิ่ง วัดกก
ลพ.เฮี้ยง วัดป่าฯ
ลพ.จวน วัดหนองสุ่ม
ลพ.อั้น วัดพระญาติ
ลพ.เทียม วัดกษัตราธิราช
ลพ.สอน วัดสิงสาง
ลพ.แทน วัดธรรมเสน
ลพ.เทียน วัดโบสถ์
ลพ.นิล วัดครบุรี
ลพ.ทองอยู่ วัดท่าเสา
ลพ.บุดดา วัดกลางชูศรี
ลพ.เมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา
และเกจิย์ท่านอื่นๆอีก รวมแล้วกว่า200รูป


อ้างอิง หนังสือมหาโพธิ์ ฉบับพิเศษวัดประสาทฯ เล่มที่33,ตำนานพระเครื่องวัดประสาท

รู้อย่างนี้แล้วจะไม่รีบเก็บกันอีกหรือครับ ฮิฮิ

ที่มา ก็อปปี้ มาจากข้อความ ของคุณ natppe  ครับ

ต้องขออนุญาติ คุณ nattpe ด้วยความเคารพ ครับ


http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=4233.0

บันทึกการเข้า
somsak
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,013


« ตอบ #8 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2008, 09:22:37 AM »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีเช่นนี้ครับ
บันทึกการเข้า
None
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,404



« ตอบ #9 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2008, 05:54:14 PM »

พระแก้วมรกต บ้านโป่ง ข้อมูลดีๆ จาก คุณ Top56 ครับ

http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=5600.0

ลองเข้าไปดูข้อมูลครับ พระพิธีใหญ่ๆ น่าสนใจ น่าสะสม ครับ

 ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
None
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,404



« ตอบ #10 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2008, 09:53:11 AM »

เข้าไปดูตามลิงค์นี้ครับ พี่ KODANG ให้ข้อมูลดีมากๆ

http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=2432.0
บันทึกการเข้า
None
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,404



« ตอบ #11 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2008, 10:02:56 AM »

ข้อมูล การจัดสร้างพระเครื่องวัดกัลยา ที่ป๋า Toi ให้ข้อมูลไว้ดีมากๆ ครับ

http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=327.0[/b]]http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=327.0[/color]
บันทึกการเข้า
None
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,404



« ตอบ #12 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2008, 10:04:19 AM »

ข้อมูลของป๋าต้อย ดีมากๆครับ

http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=327.0
บันทึกการเข้า
mungon
Full Member
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 185



เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2008, 09:12:30 PM »

พิธี 25 พุทธศตวรรษด้วยสิครับ
เสกกันหลายวันหลายคืน กลางท้องสนามหลวงโดยเกจิเก่งทั่วประเทศเลย
บันทึกการเข้า
None
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,404



« ตอบ #14 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2008, 05:46:00 PM »

พิธี 25 พุทธศตวรรษด้วยสิครับ
เสกกันหลายวันหลายคืน กลางท้องสนามหลวงโดยเกจิเก่งทั่วประเทศเลย

ยังหาข้อมูลไม่ได้เลยพี่มังกร ถ้าพี่มังกรมี รบกวนช่วยกันลงครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
chet008
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,085



« ตอบ #15 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2008, 07:32:26 PM »

พระเครื่องพิธี25พุทธศตวรรษ เปิดไปตามลิ้งค์นี้เลยครับ
    http://www.soonphra.com/topic/25century/
บันทึกการเข้า
chet008
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,085



« ตอบ #16 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2008, 07:38:50 PM »

ยังมีอีกลิ้งค์ครับ ลองเข้าไปดู
      http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=dvshow&id=861
บันทึกการเข้า
chet008
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,085



« ตอบ #17 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2008, 07:52:50 PM »

ประวัติการจัดสร้าง

เมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้มีพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเม ืองไทยและเป็นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกด้วยและนอกจากนี ้ยังได้มีการสร้างพระพุทธลีลา สูง 2,500 นิ้ว (62.50 ม.) บนเนื้อที่ 2,500 ไร่ ที่ตำบลศาลายา อ.นครปฐม(พุทธมณฑลปัจจุบัน) กับได้สร้าง พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ทั้งหลายขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดในการจัดสร้างดังต่อไปนี้

• คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
• นายพลตำนวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการ

คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
มีหน้าที่จัดสร้างพระเครื่องเพื่อเป็นที่ระลึกในงานฉ ลอง 25 พุทธศตวรรษ เพื่อแจกจ่ายและสมนาคุณ
แก่ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงิน สมทบทุนในการสร้างพุทธมณฑล

รูปแบบ มวลสาร และพิธปลุกเสกพระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษ

พระเนื้อชิน พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปแบบนูน สร้างขึ้นด้วยเครื่องปั๊ม ขนาดความกว้าง ๑.๘ เซนติเมตร สูง ๔.๗ เซนติเมตร หนา ๒ มิลลิเมตร ทรงใบข้าว ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล ปางลีลา ประทับยืนบนฐานบัวชั้นเดียว ภายในกรอบซุ้มเส้นลวด ทั้งส่วนบนและส่วนล่างของขอบมีรอยหยักทั้งสองข้าง ด้านหลัง ไม่มีเส้นขอบซุ้ม พื้นผนังมีรูปยันต์แบบยันต์ประทับหลัง หรือยันต์รูปใบพัด และมีอุณาโลม ๓ ตัว ด้านล่างใต้รูปยันต์ลงมามีรอยปั๊มลึกลงไปมีรูปลักษณะ เหมือนเมล็ดงาอยู่ ๑ แห่ง

วัสดุที่ใช้สร้าง ประกอบด้วย พลวง ดีบุก ตะกั่วดำ แผ่นทองแดง แผ่นตะกั่ว แผ่นเงิน ที่คณะกรรมการส่งไปให้พระอาจารย์ต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรลงเวทย์ยันต์คาถา เศษชนวนหล่อพระในพิธิแห่งอื่นๆ และนวโลหะ มาผสมหล่อเข้าด้วยกัน

พระเนื้อดินผสมผงเกสร หรือพระผง(ดิน) พระเครื่องเนื้อผง(ดินเผา) ก็เรียก พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปแบบนูน สร้างขึ้นด้วยเครื่องปั๊มมี ๒ พิมพ์ คือ
1) พิมพ์เขื่อง มีขนาดกว้าง ๑.๖ เซนติเมตร สูง ๔.๒ เซนติเมตร หนา ๖ มิลลิเมตร ทรงใบขี้เหล็ก ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล ปางลีลา ประทับยืนบนฐานบัวชั้นเดียว เหมือนพระเนื้อชิน ภายในกรอบพื้นผนัง ขอบพื้นผนังโดยรอบเป็นร่องลึก ด้านหลัง พื้นผนังมีพระคาถาตัวอักขระขอมอยู่ ๓ ตัว คือ อะอุมะ ขอบของพื้นผนังโดยรอบเป็นร่องลึก และมีช่วงกว้างกว่าร่องของด้านหน้า
2) พิมพ์ย่อม มีขนาดกว้าง ๑.๔ เซนติเมตร สูง ๓.๙ เซนติเมตร หนา ๔ มิลลิเมตร รูปทรงและลักษณะด้านหน้า ด้านหลัง เป็นแบบเดียวกันกับพิมพ์เขื่อง ต่างกันเพียงมีขนาดย่อมกว่ากันเล็กน้อยเท่านั้น

วัสดุที่ใช้สร้างพระเนื้อดินผสมผงเกสรทั้ง ๒ พิมพ์ ประกอบด้วยเนื้อดินที่ขุดจากฝั่งทะเลสาบ ตำบลเกาะยอ จังหวัดสงขลา เพราะดินบริเวณนั้นมีลายเป็นพรายน้ำในตัว มีสีเหลืองนวล ดินละเอียดคล้ายกับพระเครื่องสมัยโบราณ คือพระเครื่องบึงสามพัน คนทำปลอมได้ยาก นอกจากนี้ ยังมีส่วนผสมอื่นๆ อีก คือ ผงเกสรดอกไม้ ๑๐๘ อย่าง ว่านใบไม้ที่นิยม ดินหน้าพระอุโบสถของจังหวัดต่างๆ ดินบริเวณที่จะสร้างพระพุทธรูป ณ พุทธมณฑล ดินจากปูชนียสถาน ๔ แห่ง จากประเทศอินเดีย คือจากที่ประสูติ ตรัสรู้ ที่แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน ผงวิเศษจากพระอาจารย์ต่างๆ ผงจากพระเครื่องสมัยโบราณต่างๆ ที่ชำรุด เช่น ผงสมเด็จ พระขุนแผน นางพญา พระรอด และผงนวโลหะ

พระเนื้อดินผสมผงเกสรนี้ เมื่อสร้างเสร็จและนำเข้าเตาเผาออกมา ปรากฏว่ามีสีต่างๆ กัน เช่น สีดำ เทา ขาวนวล พิกุลแห้ง หม้อใหม่ ครีม ชมพู น้ำตาลไหม้ ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีเนื้อนวโลหะที่สร้างขึ้นสำหรับผสมลงในเนื้อพระเ ครื่องฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ทั้ง ๓ ชนิด เป็นเนื้อของดีตามแบบตำราการสร้างพระกริ่งของสมเด็จพ ระสังฆราช (แพ ติสฺสเทว) วัดสุทัศนเทพวราราม ประกอบด้วย ชินหนัก ๑ บาท เจ้าน้ำเงินหนัก ๒ บาท เหล็กละลายตัวหนัก ๔ บาท บริสุทธิ์หนัก ๔ บาท สังกะสีหนัก ๖ บาท ทองแดงหนัก ๗ บาท เงินหนัก ๘ บาท (ใช้เงินตรายันต์) และทองคำหนัก ๙ บาท

อัตราการให้เช่าบูชา ในช่วงงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ พระเนื้อดินผสมผงเกสรและพระเนื้อชิน ให้เช่าบูชาองค์ละ ๑๐ บาท ส่วนพระทองคำ เช่าบูชาองค์ละ ๒,๕๐๐ บาท

จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้จัดให้มีพิธีพุทธาภิเษก ๒ ครั้ง

ครั้งแรก ระหว่างวันที่ ๙-๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกสรรพสิ่งของบรรจุพุทธาคมที่ในพร ะอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม โดยอารธนาสมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ ๒๕ รูป เจริญพระพุทธมนต์ พระคณาจารย์จากจังหวัดต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักรจำนวน ๑๐๘ รูป นั่งปรกปลุกเสกบรรจุพุทธาคม ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อพระพุทธรูปทองคำแบบพุท ธลีลา และทรงทรงพิมพ์พระเครื่องฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษเป็นปฐมฤกษ์ เพื่อให้การจัดสร้างอยู่ในปริมณฑลพิธีหรือในเขตพระอา รามโดยตลอด คณะกรรมการจัดสร้าง ได้สร้างโรงงานให้ผู้รับจ้างพิมพ์พระได้ทำงานอยู่ในบ ริเวณวัดสุทัศน์ฯ ใช้เวลาสร้างพระเครื่อง ๓ เดือนเศษ จึงแล้วเสร็จ และได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกอีกเป็นครั้งที่ ๒

ครั้งที่สอง เป็นพิธีปลุกเสกบรรจุพุทธาคม และพิธีพุทธาภิเษก ที่พระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ ระหว่างวันที่ ๒-๕ พฤษภาคม ๒๕๐๐ พระคณาจารย์ ๑๐๘ รู) นั่งปรกปลุกเสกบรรจุพุทธาคมตลอดทั้งคืน

รายนามคณาจารย์ที่ร่วมปลุกเสก

1. พระครูอาคมสุนทร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
2. พระครูสุนทรสมาธิวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
3. พระญาณาภิรัต อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
4. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
5. พระครูสุนทรศีลาจารย์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
6. พระครูพิศาลสรกิจ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
7. พระมหาสวน อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
8. พระอำนวย อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
9. พระปลัดสุพจน์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
10. พระครูวิสิษฐ์วิหารการ อ.พระนคร วัดชนะสงคราม จ.พระนคร
11. พระสุธรรมธีรคุณ (หลวงพ่อวงษ์) วัดสระเกศ จ.พระนคร
12. พระอาจารย์สา อ.พระนคร วัดชนัดดาราม จ.พระนคร
13. พระปลัดแพง อ.พระนคร วัดมหาธาตุฯ จ.พระนคร
14. พระวิสุทธิสมโพธิ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
15. พระวรเวทย์คุณาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
16. พระครูฐาปนกิจประสาท อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
17. พระอินทรสมาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
18. พระครูวินัยธรเฟื่อง อ.พระนคร วัดสัมพันธ์วงศ์ จ.พระนคร
19. พระครูภักดิ์ อ.พระโขนง วัดบึงทองหลาง จ.พระนคร
20. พระครูกัลญาณวิสุทธิ อ.ยานนาวา วัดดอนทวาย จ.พระนคร
21. พระอาจารย์มี อ.ยานนาวา วัดสวนพลู จ.พระนคร
22. พระอาจารย์เหมือน อ.บางเขม วัดโรง**บ จ.พระนคร
23. พระหลวงวิจิตร อ.ดุสิต วัดสะพานสูง จ.พระนคร
24. พระอาจารย์หุ่น อ.มีนบุรี วัดบางขวด จ.พระนคร
25. พระราชโมลี อ.บางกอกน้อย วัดระฆัง จ.ธนบุรี
26. หลวงวิชิตชโสธร วัดสันติธรรมาราม จ.ธนบุรี
27. พรครูโสภณกัลญานุวัตร วัดกัลญาณมิตร จ.ธนบุรี
28. พระครูภาวนาภิรัต อ.บางขุนเทียน วัดหนัง จ. ธนบุรี
29. พระครูทิวากรคุณ อ.ตลิ่งชัน วัดตลิ่งชัน จ.ธนบุรี
30. พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ วัดโพธินิมิตร จ.ธนบุรี
31. พระครูญาณสิทธิ์ อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
32. พระอาจารย์มา อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
33. พระอาจารย์หวน อ.ตลิ่งชัน วัดพิกุล จ.ธนบุรี
34. พระมหาธีวัฒน์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
35. พระอาจารย์จ้าย อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
36. พระอาจารย์อินทร์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
37. พระครูกิจจาภิรมย์ อ.บางกอกใหญ่ วัดอรุณราชวราราม จ.ธนบุรี
38. พระครูวินัยสังวร อ.ธนบุรี วัดประยูรวงศวาส จ.ธนบุรี
39. พระสุขุมธรรมาจารย์ อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนราม จ.ธนบุรี
40. พระครูพรหมวินิต อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนาราม จ.ธนบุรี
41. พระอาจารย์อิน อ.คลองสาน วัดสุวรรณอุบาสิการ จ.ธนบุรี
42. พระครูวิริยกิจ อ.คลองสาน วัดประดู่ฉิมพลี จ.ธนบุรี
43. พระปรีชานนทมุนี อ.บางบัวทอง วัดโมลี จ.นนทบุรี
44. พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง) อ.ปากเกร็ด วัดศรีรัตนาราม จ.นนทบุรี
45. พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) อ.ปากเกร็ด วัดบางจาก จ.นนทบุรี
46. พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากระเหรี่ยง จ.ราชบุรี
47. พระอาจารย์แทน อ.เมือง วัดธรรมเสน จ.ราชบุรี
48. พระครูบิน อ.บางแพ วัดแก้ว จ.ราชบุรี
49. พระอินทร์เขมาจารย์ อ.เมือง วัดช่องลม จ.ราชบุรี
50. พระธรรมวาทีคณาจารย์ อ.เมือง วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
51. พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
52. พระอาจารย์สำเนียง อ.บางเลน วัดเวทุนาราม จ.นครปฐม
53. พระอาจารย์เต๋ อ.กำแพงแสน วัดสามง่าม จ.นครปฐม
54. พระอาจารย์แปลก อ.เมือง วัดสระบัว จ.ปทุมธานี
55. พระครูปลัดทุ่ง อ.เมือง วัดเทียมถวาย จ.ปทุมธานี
56. พระครูบวรธรรมกิจ อ.เมือง วัดโบสถ จ.ปทุธานี
57. พระครูโสภณสมาจารย์ อ.เมือง วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี
58. พระครูวิสุทธิรังษี อ.เมือง วัดเหนือ จ.กาญจนบุรี
59. พระมุจจรินโมฬี อ.หนองจิก วัดมุจจริน จ.ปัตตานี
60. พระครูรอด อ.เมือง วัดประดู่ จ.นครศรีธรรมราช
61. พระครูวิศิษฐ์อรรถการ อ.ฉวาง วัดสวนขวัญ จ.นครศรีธรรมราช
62. พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี) อ.เมือง วัดโศกการาม จ.สมุทรปราการ
63. พระอาจารย์บุตร อ.เมือง วัดใหม่บางปลากด จ.สมุทรปราการ
64. พระอาจารย์แสวง อ.พระประแกง วัดกลางสวน จ.สมุทรปราการ
65. พระครูศิริสรคุณ อ.เมือง วัดท้ายหาด จ.สมุทรสงคราม
66. พระครูสมุทรสุนทร อ.เมือง วัดพวงมาลัย จ.สมุทรสงคราม
67. พระสทุธิสารวุฒาจารย์ อ.อัมพวา วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม
68. พระอาจารย์อ๊วง อ.อันพวา วัดบางคณาทอง จ.สมุทรสงคราม
69. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง) อ.กระทุ่มแบน วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
70. พระครูวิเศษสมุทรคุณ อ.กระทุ่มแบน วัดดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร
71. พระครูสักขิตวันมุนี อ.เมือง วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
72. พระอาจาย์แต้ม อ.เมือง วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
73. พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) อ.เมือง วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี
74. พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) อ.เมือง วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี
75. พระครูสำฤทธิ์ (เอี้ยง) อ.เมือง วัดอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
76. พระวรพจน์ปัญญาจารย์ องเมือง วัดอรัญญิการาม จ.ชลบุรี
77. พระครูธรรมาวุฒิคุณ อ.เมือง วัดเสม็ด จ.ชลบุรี
78. พระครูธรรมธร (หลาย) อ.เมือง วัดราศฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
79. พระอาจารย์บุญมี อ.บางละมุง วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
80. พระพรหมนคราจารย์ อ.พรหมบุรี วัดแจ้งพรหมนคร จ.สิงห์บุรี
81. พระครูศรีพรหมโศกิต (แพ) อ.พรหมบุรี วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
82. พระชัยนาทมุนี อ.เมือง วัดบรมธาตุ จ.ชัยนาท
83. พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) อ.เมือง วัดชากหมาก จ.ระยอง
84. พระอาจารย์เมือง อ.แม่ทา วัดท่าแพ จ.ลำปาง
85. พระครูอุทัยธรรมธานี อ.เมือง วัดท้าวอุ่ทอง จ.ปราจีนบุรี
86. พระครูวิมลศีลจารย์ อ.ประจันตคาม วัดศรีประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
87. พระครูสนุทรธรรมประกาศ อ.ปากพลี วัดโพธิ์ปากพลี จ.นครนายก
88. พระครูบาวัง อ.เมือง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
89. พระครูสวรรควิริยกิจ อ.เมือง วัดสวรรคนิเวส จ.แพร่
90. พระครูจันทร (อ.ชุมแสง จ.นครสวรรหลวงพ่อจันทร์) วัดคลองระนง ค์
91. พระครูสีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติฯ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
92. พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
93. พระครูเล็ก วัดบางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยา
94. พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อ.เสนา จ.อยุธยา
95. พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
96. พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
97. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา
98. พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไพร จ.อยุธยา
99. พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อ.เสนา จ.อยุธยา
100. พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
101. พระสุวรรณมุนี (ชิต) วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.อยุธยา
102. พระครูศุข วัดดตนดหลวง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
103. พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
104. พระครูทบ (หลวงพ่อทบ) วัดส่วางอรุณ อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
105. พระสวรรคนายก วัดสุวรรคคาราม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
106. พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี จ.สุโขทัย
107. พระครูปี้ วัดกิ่งลานหอย กิ่ง อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย
108. พระครูวิบูลย์สมุทร วัดเสด็จ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม


บันทึกการเข้า
fluke.
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,006



« ตอบ #18 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2008, 08:42:14 PM »

 ยิ้มเท่ห์ กระทู้นี้ยอดเยี่ยมครับ
บันทึกการเข้า
None
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,404



« ตอบ #19 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2008, 11:43:30 PM »

ขอบคุณพี่ chet008 มากครับสำหรับข้อมูลดีๆอย่างนี้ครับ

และขอบคุณ คุณ f  ที่เยี่ยมชม

 ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.10 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!