ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน 24 เมษายน 2024, 03:49:50 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: การบริจาคเงินเข้าวัดโฆสิตาราม (สำคัญโปรดอ่าน) http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=204.0

+  กระดานสนทนา วัดโฆสิตาราม (บ้านแค) จ.ชัยนาท
|-+  ทั่วไทย
| |-+  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องเเละความรู้ทั่วไป
| | |-+  พระพุทธมงคลมหาลาภ (สมเด็จพระมงคลมหาลาภ)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธมงคลมหาลาภ (สมเด็จพระมงคลมหาลาภ)  (อ่าน 9070 ครั้ง)
jirang
Register Member
Jr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 67



« เมื่อ: 13 สิงหาคม 2008, 03:54:07 PM »



การปลุกเสกที่วัดสัมพันธวงศ์ คุณประถมได้กล่าวถึงการปลุกเสกที่วัดสัมพันธวงศ์ไว้ในหนังสือพลังเหนือโลกซึ่งมาจากบันทึกของอาจารย์คุณประถมคือพระอริยคุณาธาร เป็นลักษณะที่พิสูจน์ยากเพราะเป็นเรื่องของการพิจารณาด้วยตาทิพย์ คนธรรมดามองไม่เห็น นำมาลงให้พิจารณาไตร่ตรองกันเอง

ในพิธีที่วัดสัมพันธวงศ์มีผู้เก่งกาจอยู่มากมายอาทิ โยคีโยฮาเล็บ คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม เป็นต้นแต่ทุกคนต่างเห็นตรงกันว่าพระอริยคุณาธาร ท่านมีความรู้กว้างขวางที่สุดจนโยคีโยฮาเล็บ ขนานนามท่านว่า โยคีสันตจิตจึงเชิญท่านมาช่วยตรวจสอบการอัญเชิญพรหมชั้นต่างๆจริงเท็จอย่างไร

การปลุกเสกพระที่พระอุโบสถ วัดสัมพันธวงศ์ เจ้าการพิธีได้จัดให้มีการอัญเชิญพรหม เสด็จลงทำการปลุกเสกพระ และนิมนต์พระสงฆ์( ตามที่กล่าวถึงในเรื่องมวลสารการสร้างพระแล้วนั้น) ปลุกเสกซ้ำอีกครั้งหนึ่ง โยคีโยฮาเล็บ (อาจารย์ชื่น จันทร์เพ็ชร) บ้านพรานนก และ พ.ต.ท.ชลอ อุทกภาชน์ เป็นเจ้าพิธีอัญเชิญพระพรหม พระอริยคุณาธารได้เข้าร่วมในงานพิธีนี้ และเพื่อสอบว่าพระพรหม รับอัญเชิญมาประกอบพิธีหรือไม่

พิธีเริ่มตอนบ่าย 4 โมงโดยมีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ต่อจากนั้นโยคีโยฮาเล็บและ พ.ต.ท. ชลอฯได้ทำพิธีอัญเชิญพระพรหมเป็นภาษาปากฤตเป็นภาษาเก่าแก่ที่สุดของชมพูทวีป เก่ากว่าบาลี-สันสกฤต เมื่ออัญเชิญเสร็จแล้ว ปรากฏมีรัศมีสว่างรุ่งเรืองมาจากเบื้องบน แล้วลงมาปรากฏที่แท่นบูชาตามตำแหน่งที่เจ้าพิธีจัดไว้ สักครู่เจ้าพิธีอัญเชิญพระกาลซึ่งเป็นพรหมสูงสุดประทับทรงในร่างทรงที่เตรียมมา ต่อนั้นอัญเชิญพระพรหมอื่นๆลงมาประทับร่างทรงที่เตรียมไว้ภายใต้การบงการของพระพรหมสูงสุด(คือพระกาล)แล้วกระทำการปลุกเสกประมาณครึ่งชั่วโมง คำบริกรรมที่เหล่าพระพรหมใช้ในการบริกรรมปลุกเสกทราบจากเจ้าพิธีว่าเป็นภาษาคูโบ๊ส ซึ่งเป็นภาษาเก่าแก่ สำเนียงคล้ายภาษาแขก พระพรหมผู้ทำการปลุกเสกนั้นทราบว่าเป็นโสฬสมหาพรหมทั้งสิ้น มีพระกาลเป็นประธานในการปลุกเสก นอกจากนั้นเจ้าพิธีได้อัญเชิญพระพรหมนารอทมาประทับ ณ แท่นบูชามุมตะวันออกเฉียงเหนือของพระอุโบสถ ทำหน้าที่พิทักษ์ป้องกันภยันตรายจากมารที่จะมาทำลายพิธีการ พระพรหมองค์นี้เมื่อครั้งเป็นมนุษย์เป็นชาวลพบุรีก่อนสมัยพุทธกาล วัยชราท่านได้ออกบวชเป็นฤาษีพร้อมพะสหายคือพญาตาไฟ บำเพ็ญพรตอยู่เขาวุ้ง(สมอคอน)ลพบุรี นี่เป็นส่วนหนึ่งในบันทึกของพระอริยคุณาธารซึ่งก็มรณภาพไปแล้ว จริงเท็จเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ท่านผู้อ่านพิจารณากัน

มวลสารในการสร้างพระ จากบทความของคุณประถม( จากเรื่องฤาษี สันตจิต เส็ง ปสฺโส) กล่าวว่าท่านเจ้าคุณพระรัชมงคลมุนี ท่านทำอะไรจะต้องใหญ่และมีจำนวนมากดังนั้นการลบผงจึงทำไม่ทันแน่ ท่านจึงให้ พ.ต.อ.ชลอ อุทกภาชน์ สิทธิวิหาริกไปดำเนินการ พ.ต.อ.ชลอ อุทกภาชน์จึงไปหารือกับโยคีโยฮาเล็บ ผู้เป็นอาจารย์ฝ่ายพรหมศาสตร์ ท่านโยคีโยฮาเล็บจึงประยุกต์โดยการนำว่านเกสร ดินสอพอง ปูนขาว มาเป็นจำนวนมากขนาดต่อลังไม้ขนาดยาวบรรจุมวลสารดังกล่าว แล้วอัญเชิญวิญญาณพรหมฤาษีชั้นสูงประทับทรงร่ายมนตร์เสกเป่าคุ้ยกันจนฟุ้งไปหมด ส่งภาษาคูโบ๊สกันลั่นบ้าน และในบริเวณปริมณฑลพิธีมีฝ่ายสงฆ์ประกอบพิธีอีกแรงหนึ่ง ดังในหนังสือมังคลามหานุภาพ กล่าวว่า บรรจุพระพุทธมนต์ลงในน้ำ และผงที่จะสร้างพระโดยนิมนต์อาจารย์จากหลายวัดเข้าพิธีปลุกเสกเช่น พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)วัดบวรนิเวศวิหาร พระวรเวทย์คุณาจารย์ (เมี้ยน ปภสฺสโร)วัดพระเชตุพนวิมลมัคลาราม พระสะอาด อภิวฒฺฒโน วัดสัมพันธวงศ์ พระครูนอ วัดกลางท่าเรือ พระอาจารย์บุ่ง วัดใหม่ทองเสน พระชอบ สัมมารี วัดอาวุธวิกสิตารามเป็นต้น และยังมีผงจากพระอาจารย์ต่างๆ ว่าน108 อย่าง ดอกไม้บูชาพระ 108 ผงที่ทำด้วยดินจากท่าน้ำ7 ท่า สระ7 สระ ผงจากคัมภีร์และใบลานเก่า ผงจากดินสังเวชนียสถาน 4 แห่ง และดินจากสถานที่สำคัญในพุทธศาสนาอีก 9 แห่ง ผงปูนขาวหินจากราชบุรี ผงปูนซิเมนต์ขาว ดินเหนียวอย่างดีสีเหลือง และน้ำอ้อย นำมาประสมกับผงที่ทำใหม่บดให้ละเอียด กรองด้วยผ้าป่าน ผสมน้ำมนตร์ที่ทำไว้พิมพ์เป็นรูป พระมงคลมหาลาภบ้าง สมเด็จบ้าง ส่วนพิมพ์อื่นๆสร้างด้วยดินผสมผงเผาแล้วนำมาเข้าพิธีปลุกเสกในคราวเดียวกัน

อาจารย์ประถมเขียนสรุปรายละเอียดการปลุกเสกไว้เพิ่มเติมว่า เมื่อโยคีโยฮาเล็บ เจ้าพิธี สร้างผงวิเศษด้วยวิธีประยุกต์ของท่านแล้วอัญเชิญพรหมชั้นโสฬสมาทำการปลุกเสกผง เสร็จพิธีแล้ว ท่านพ่อลี วัดอโศการามเข้าไปเดินดูในโบสถ์ว่าทำอะไรกัน ก็ยื่นมือไปหมายผัสสะดูก็สะดุ้งโหยง" เฮ้ยหยังแรงจังซี้ "ก็เลยขอผงไป 1 บาตร เพื่อสร้างพระพุทธจักรของท่านที่วัดอโศการาม ต่อจากนั้นทางวัดก็จัดหาว่าน เกษรดอกไม้ ผงต่างๆ ตามที่ได้เขียนรายละเอียดไปแล้ว นำไปให้อาจารย์ชอบ วัดอาวุธเป็นแม่งานจัดสร้าง เพราะมีฝีมือทางนี้ น่าเสียดายที่เนื้อพระแก่ปูนทำให้เนื้อหามวลสารไม่สะดุดตา ต่อมาก็ให้โหรวางลัคนาฤกษ์ปลุกเสกตรงกับเพชรฆาตฤกษ์คือถือว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในระหว่างเพชรฆาตฤกษ์ เป็นฤกษ์ชนะมาร แต่ทางโหราศาสตร์ถือเป็นฤกษ์ที่เหมาะแก่การยาตราทัพ ฤกษ์ตีค่าย นับว่าเป็นฤกษ์แข็ง ที่หลวงพ่อพระอริยคุณษธาร บันทึกว่าปลุกเสกพระ น่าจะเป็นวาระสอง หลังการสร้างผงวิเศษ การทำพิธีก็แปลก ใช้เบ็ญจาห้าชั้นถึง1,500ต้น สำหรับประดิษฐานพระเครื่องห่อหุ้มด้วยแพรเขียว 1,500 ห่อใหญ่ๆ และถวายพระนามว่า พระมงคลมหาลาภ ( แต่มิได้ประกอบด้วยมหัทโนฤกษ์ ) อาจารย์ชั้นเยี่ยมถูกนิมนต์เข้าร่วมพิธีเป็นส่วนใหญ่ รวมระยะเวลาปลุกเสก 1 ชั่วโมงครึ่ง โดยเริ่มต้นพร้อมกัน ฝ่ายพรหมช่วยเสก 1 ชั่วโมงก็กลับ ส่วนพระสงฆ์เสกต่ออีก 1 ชั่วโมงโยคีโยฮาเล็บ กับพระอริยคุณาธารก็ลงมือเสกด้วย คุณประถมบอกว่าเสียดายช่วงนั้นอยู่ชายแดนไม่งั้นอาจได้พระงดงามกว่านี้ ต่อจากนั้นก็ได้นำพระมงคลมหาลาภไปที่วัดสารนาถธรรมาราม เพื่อเข้าพิธีพุทธาภิเษกพระประธาน โดยนิมนต์พระสายท่านอาจารย์มั่น ภิริทัตโต ประมาณ 30 รูป เสกกัน 18 วัน 18 คืน สวดลัคขีคือห้องพระพุทธคุณ อิติปิโสภควา เล่นกันแสนจบทีเดียว เป็นพระที่ตรวจพบว่าอยู่ในชั้นนพปดลเสวตฉัตรเช่นเดียวกับพระหลวงปู่ใหญ่พระครูโลกอุดร แต่รังสีไม่ใช่ทองคำเป็นสีเขียว เรื่องแคล้วคลาดอย่าบอกใครด้วยฤาษีนารอทท่านนั่งมองอยู่ ไม่ต้องเที่ยวแสวงหาพระรอดมหาวันให้เหนื่อยยาก คุณประถมกล่าวอีกว่าตัวท่านเองใช้พระครูโลกอุดร สมเด็จวัดระฆัง พระมงคลมหาลาภห้อยคอบูชา

ข้อมูลจากเว็บ g-pra โดยคุณโต้งบุรีรัมย์ครับ
บันทึกการเข้า
jirang
Register Member
Jr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 67



« ตอบ #1 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2008, 03:56:33 PM »

ข้อมูลจากเว็บวัดสัมพันธวงศ์ (วัดเกาะ) ก.ท.ม.
พระมหารัชชมังคลาจารย์
เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์
(บันทึกตามฉบับเดิมไม่เปลี่ยนแปลง)

เป็นพระสมเด็จแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ พระแบบสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ พระพุทโธเล็ก พระวัดตะไกร และพระแบบวัดนางพระยา ฯลฯ

พระเครื่องเหล่านี้สร้างเป็น ที่ระลึกในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี ซึ่งสร้างที่วัดสัมพันธวงศ์ พระนครแล้วเชิญไปประดิษฐานเป็นพระธาน ณ วัดสารนาถธรรมราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา เมื่อวันที่ ๕-๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๙ นั้น บางท่านยังไปทราบประวัติที่ควรทราบ ซึ่งเป็นเหตุจะจงใให้เกิดความเลื่อมใสสัทธา เพื่อได้เคารพบูชาให้แน่บแน่นสมกับเป็นปูชนียวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลเหตุเครื่องเจริญอายุ วรรณะ สุขะ พละ แลลาภยศ สรรเสริญ สมบัติเกียรติศักดิ์ แลคุณธรรม คือเป็นสือสำคัญที่จะให้ใจเข้าถึงอิฐผลนั้นๆ อันนับว่าเป็นกำลังอันยิ่งใหญ่สำหรับชีวิต สามารถให้ถึงภาวะอันเป็นอิสสระเต็มที่ มีความเกษมนิรันดร

เมื่อสร้างแจ้งให้ทราบแต่การประกอบพิธีบันจุพุทธมนต์เป็นพิเศษที่ยิ่งใหญ่โดยสังเขป ซึ่งยังไม่เคยเห็นทำที่ไหน คือจัดที่บูชาพร้อมเครื่องสังเวยต่างๆ มีเทียนธูป ข้าวตอก ดอกไม้ ๗ สี แลอาหารผลไม้ถึงอย่างละ ๓๗๕ ที่มีเบญจา มีเสวตฉัตร ๙ ชั้น สูง ๖ ศอก ๘ ต้น บายศรีเงิน บายศรีทอง ๙ ชั้น สูง ๖ ศอก อย่างละ ๘ ต้น บันจุพระพุทธมนต์ลงไปในน้ำ และผงที่จะสร้างพระนั้น โดยนิมนต์อาจารย์ผู้มีชื่อเสียงหลายวัดทำพิธีประจุมนต์ เข้าพิธีปลุกเศกมี

พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) วัดบวรนิเวศวิหาร
พระวรเวทย์คุณาจารจย์ (เมี้ยน ปภสสโร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
พระมหารัชชมังคลาจารย์
พระครูวินัยธรเฟื่อง (ญาณปปทีโป)
พระสอาด อภิวฒฒโน วัดสัมพันธวงศ์
พระครูนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
พระอาจารย์บุ่ง วัดใหม่ทองเสน
พระชอบ สัมมาจารี วัดอาวุธวิกสิตาราม ธนบุรี
เป็นต้น

พร้อมด้วยบันจุ เทพมนต์พรหมมนต์ โดยเชิญเทพแลพรหมผู้มีชื่อเสียงเก่าๆ มาเข้าทรงประกอบพิธีอธิษฐานบันจุมนต์ลงด้วย และบันจุมนต์โยคีโดยโยคีฮาเร็บ (อาจารย์ชื่น จันทรเพ็ชร) ผู้มีชื่อเสียงและ พ.ต.อ.ชะลอ อุทกภาชน์ ผู้เป็นศิษย์เป็นผู้ทำพิธีบรรจุ เสร็จพิธีแล้ว จึงได้ใช้ผงประสมทำเป็นองค์พระได้มงคลฤกษ์ จึงได้ทำพิธีปลุกเศกพระเครื่องนั้นอีกครั้งหนึ่ง

พระเครื่องที่จะทำพิธีปลุกเศกนั้น ห่อด้วยผ้าขาว ๗ ชั้น ผ้าเขียว ๗ ชั้น พิธีนอกนั้นเหมือนเมื่อบันจุมนต์ลงในผงแลน้ำที่จะสร้างพระ ตั้งน้ำมนต์สำหรับแจกผู้ต้องการซึ่งมาร่วมพิธี ๔๐ ตุ่ม แต่ไม่ได้กล่าวถิ่นผงที่นำมาประสมสร้างพระนั้นว่ามีอะไรบ้าง มีผู้สนใจต้องการทราบอยู่เป็นจำนวนมา จึงสมควรเขียนประวัติ เนื่องด้วยผงที่นำมาประสมสร้างพระเครื่องนั้น ให้ท่านทราบไว้ด้วย ดังต่อไปนี้

๑. ผงขอจากพระอาจารย์ต่างๆ ที่ท่านทำและรวบรวมไว้หลายวัด เช่นวัดพระเชตุพน วัดตรีทศเทพ วัดสัมพันธวงศ์ ฯลฯ ผงแป้งที่ทำแลผงจากพระของเก่าบ้าง
๒.ผงพระที่ทำด้วยว่านต่างๆ ที่นิยมว่าเป็นมงคลศักดิ์สิทธิ์ ๑๐๘ อย่าง ทำจากดอกไม้บูชาพระต่างๆ ๑๐๘ อย่าง
๓. ผงที่ทำด้วยดินจากท่าน้ำ ๗ ท่า และจากสระน้ำ ๗ สระ
๔. ผงที่ทำด้วยเอาคัมภีร์เก่าๆ ทั้งใบลานแลสมุดข่อยมาเผาบด ตั้งแต่หมายเลข ๑ ถึง ๕ นี้ประสมสร้างพระผงรุ่นก่อน แล้วเอาบดผสมเข้ากัน กับผงใหม่ที่นำมาเข้าพิธีนี้ด้วย
๕. ผงที่ได้จากดินที่สังเวชนียสถาน แห่งในอินเดียคือ ๑ ดินที่ลุมพินีระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และเทวทหะ ซึ่งเป็นที่ประสูดของพระพุทธเจ้า ๒ ดินที่มหาโพธิพุทธคยาที่ตรัสรู้ ๓ ดินทีสารนาถ มฤคทายวัน เมื่องพาราณสี ซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักร ๔ ดินที่กุสินนาราซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
๖. ดินจากสถานที่สำคัญอีก ๙ แห่ง คือดินจากสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จเสวยวิมัติสุข ๗ แห่ง ปริเวณพุทธคยา มีที่รัตนะจงกลม แลที่สระมุจลินเป็นต้น แลดินที่พระคัณธกุฏีที่ประทับของพระพุทธเจ้าบนเขาคิชกูฏ (เมืองราชคฤห์) ๑ ดินที่พระคันธกุฏีที่ประทับในเมืองสาวัตถี ๓ ซึ่งพระครูสุภารพินิจ (โทน สุขพโล) วัดสัมพันธวงศ์ ได้ไปนมัสการปูชนียสถานนั้นๆ และได้นำมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ผู้ที่มีพระเครื่องแบบพุทธมงคลมหาลาภ พระแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นต้นไว้บูชา เป็นอันได้ระฃึกถึงแลบูชา สังเวชนัยสถานด้วย
๗. ผงปูนขาวหินราชบุรี
๘. ผงปูนซิเมนต์ขาว และนอกจากนี้ ก็ยังมีดินเหนียวอย่างดี สีเหลือง แลน้ำอ้อยเป็นต้น

ผงเหล่านี้นั้น ประสมกันมากบ้างน้อยบ้าง แล้วบดให้ละเอียดแร่งกรองด้วยผ้าป่าน สำเร็จเป็นผงที่จะสร้างพระเครื่อง ใช้น้ำมนต์ที่ทำไว้นั้นประสมกับของที่จะทำพระให้พระมีคุณภาพดี สวยงามทนทาน ศักดิ์สิทธิ์ต่อไป ประสมผงพิมพ์เป็นรูป พระพุทธมงคลมหาลาภ บ้างสมเด็จบ้าง

ส่วนพระเครื่องอื่นสร้างด้วยดินประสมผงเผาแล้วนำมา เข้าพิธีปลุกเศกในคราวเดียวกันกับพระพุทธมงคลมหาลาภเสร็จพิธีแล้วแจกจ่ายในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี พร้อมด้วยพระอัครสาวก ในการต่อมา พระเครื่องเหล่านี้ เมื่อแจกจ่ายแก่ผู้จำนงในงานผูกพัทธสีมา อุโบสถวัดสารนาถธรรมารามแล้ว ก็จะได้จัดการทำพิธีบันจุในอุโบสถ หรือเจดีย์ตามควร เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่วัดสารนาถธรรมาราม อันเป็นมหาปูชนียสถานในกาลต่อไปฯ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.10 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!