ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน 29 มีนาคม 2024, 04:59:51 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: เชิญบูชาล็อกเก็ตหลวงพ่อกวย บรรจุมวลสารพิเศษ http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=8540.0

+  กระดานสนทนา วัดโฆสิตาราม (บ้านแค) จ.ชัยนาท
|-+  ทั่วไทย
| |-+  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องเเละความรู้ทั่วไป
| | |-+  โรงหล่อพระ "ที่กำลังจะเป็นตำนาน"
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: โรงหล่อพระ "ที่กำลังจะเป็นตำนาน"  (อ่าน 15985 ครั้ง)
1_MAN_U
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,226



« เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2009, 01:34:42 PM »

พอได้อ่านช่าวนี้ รู้สึก เสียดาย ว่า ทำไม  คนไทยไม่รู้คุณค่า  ของเก่า ที่ทรงคุณค่า ผมเคยไปมาแล้ว คุณลุงจ่าทวี  ใจดีมากๆ 

ท่านใด อยากได้ พระบูชา พระพุทธชินราช มาบูชา ที่บ้าน  ที่ทำงาน  เชิญ จองได้ เลยนะครับ

เป็นการช่วย ให้ โรงหล่อ ที่มี ประวัติศาสตร์  อันยาวนาน ได้  มีลม หายใจได้ต่อ

อย่างน้อย  หลวงปู่กวย  ของพวกเรา ทุกคน  ก็เคยได้ไปร่วม ปลุกเษก พระพุทธชินราช มาแล้ว และเป็น รุ่น ที่ คุณลุงจ่าทวี  เป็นผู้ สร้างสรรค์ ผลงาน รุ่นนั้นด้วยตนเอง เหมือน

กับ รุ่น นี้ ที่กำลัง รอผู้ที่ ศรัทธา ใน องค์พระพุทธชินราข ได้ ร่วมทำบุญ ช่วย  "โรงหล่อพระ  คุณลุงจ่าทวี"



พระพุทธชินราช รุ่นบูรณะพิพิธภัณฑ์ ของดี "จ่าทวี บูรณเขตต์"

โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช




 
พิพิธภัณฑ์จ่าทวีแย่แล้ว อาจจะอยู่ได้ไม่เกินเมษาฯนี้!

ฟังเพียงนั้นใจก็หายวาบ

เป็นที่รู้กันว่า พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี (จ่าสิบเอก ทวี-พิมพ์ บูรณเขตต์) ที่ผ่านมาได้จนทุกวันนี้อยู่ในสภาพไม่ต่างจากเรือลำน้อยที่ลอยอยู่กลางน้ำในสภาพที่ใกล้จะจมมิจมแหล่ เพราะการจัดการพิพิธภัณฑ์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย

หลายต่อหลายคราที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เซซวน ล้มลงแล้ว แต่กลับกัดฟันลุกขึ้นสู้...อีกครั้ง

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี บนถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 โดย จ่าสิบเอก ทวี บูรณเขตต์ หรือ ลุงจ่า เห็นเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านถูกทิ้งขว้าง บ้างถูกทำเป็นเชื้อฟืน นึกเสียดายจึงขอซื้อมาเก็บรักษาไว้ในบ้าน นานๆ เข้าด้วยความที่อยากให้คนรุ่นหลังได้รู้จักเครื่องมือเครื่องใช้เดิมๆ ที่บอกเล่าถึงวิถีทำกินของคนพื้นบ้าน จึงจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านขึ้น

เป็นเวลานานถึง 20 ปี ที่พิพิธภัณฑ์จ่าทวีเปิดให้เข้าชมฟรี ด้วยเหตุผลที่ว่า เพื่อจุดกระแสให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นที่รู้จัก

มาเริ่มเก็บค่าเข้าชมได้เพียง 5 ปี โดยผู้ใหญ่เก็บ 50 บาท เด็ก 10 บาท เพื่อนำมาเป็นค่าบำรุงพิพิธภัณฑ์ ค่าน้ำค่าไฟ รวมทั้งค่าแรง แต่กระนั้นรายรับก็ได้ไม่ครอบคลุมรายจ่าย ที่คิดสรตะแล้วตกเดือนละ 60,000 บาท

ร้านขายของที่ระลึกจึงถูกเลือกเป็นตัวหลักที่ พรศิริ บูรณเขตต์ ทายาทที่รับช่วงดูแลพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ นำมาช่วยหารายรับ โดยเจ้าตัวนอกจากทำหน้าที่นำชมพิพิธภัณฑ์ เขียนงานด้านวิชาการ ยังใช้เวลาว่างที่เหลือ ออกแบบสินค้าทุกชิ้นด้วยตนเอง แล้วจ้างให้ชาวบ้านในพื้นที่ช่วยกันผลิตขึ้นมาวางจำหน่ายตั้งแต่ราคาชิ้นละ 5 บาท 10 บาท ไปจนถึงชิ้นละ 200 กว่าบาท เช่น โคมไฟทำจากกะลามะพร้าว ฯลฯ

แต่ทว่า...

"มันเกินกำลังประชาชนค่ะ" พรศิริบอกเล่าความในใจ

"จริงๆ พ่อรู้สึกว่าคนไทยมีของที่ดีอยู่ เราไม่ทำก็ได้ค่ะ ไม่ทำก็ไม่ลำบาก แต่นักวิชาการที่เคยมาดูที่นี่ไม่ยอม เพราะเห็นว่าเราทำจริง อย่างอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม บอกว่า พิพิธภัณฑ์ที่นี่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

ถึงนาทีนี้ กรรมการมูลนิธิจ่าทวี บูรณเขตต์ จึงต้องร่วมกันระดมสมองเพื่อระดมทุนก้อนโตราว 20 ล้าน เพื่อว่านอกจากจะช่วยปลดภาระ ณ ปัจจุบัน ยังมีเงินสำหรับจัดตั้งเป็นกองทุนสำหรับการเบิกจ่ายเป็นค่าน้ำค่าไฟ ค่าบำรุงพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งจัดจ้างคนมาช่วยนำชมพิพิธภัณฑ์ ทำให้การจัดการพิพิธภัณฑ์สามารถดำเนินงานต่อไปได้ในอนาคต
(ซ้ายบน) พระพุทธชินราช (จำลอง) (ขวาบน) ขั้นตอนการหล่อพระ (ขวาล่าง) จ.ส.อ.ทวี บูรณเขตต์

 


อาศัยที่ "จ่าทวี" เป็นที่ศรัทธาของคนในแวดวงพระเครื่องพระบูชา ในฐานะช่างหล่อพระฝีมือดี ที่ไม่เพียงได้รับพื้นฐานความรู้สืบทอดมาจากผู้เป็นพ่อซึ่งเป็นครูสอนศิลปะ มีความรู้ในเชิงช่างแทบทุกสาขา ผสานกับความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดมาจากอาจารย์ที่เป็นทั้งพระไทยพระพม่า แล้วยังมีโอกาสได้ศึกษางานกับอาจารย์ศิลป์ พีระศรี อาจารย์เขียน ยิ้มศิริ อาจารย์สนั่น ศิลากร เมื่อครั้งที่เป็นทหารและทางกองทัพส่งไปฝึกปรือวิชาการหล่อโลหะที่โรงหล่อ กรมศิลปากร ที่นครปฐม

โครงการจัดสร้างพระพุทธชินราช (จำลอง) รุ่นบูรณะพิพิธภัณฑ์ จึงตั้งต้นขึ้นเพื่อต่อลมหายใจให้กับพิพิธภัณฑ์จ่าทวี

ความพิเศษของพระรุ่นบูรณะพิพิธภัณฑ์คือ พระทุกองค์ได้รับส่วนผสมจากชนวนพระและเนื้อโลหะที่รวบรวมไว้จากพระรุ่นสำคัญๆ ซึ่งล้วนเป็นผลงานของจ่าสิบเอก ทวี บูรณเขตต์ ที่ผ่านพุทธาภิเษกพิธีแล้ว

ได้แก่ พระรุ่นวัดจุฬามณี ปี 2511 พระรุ่นหลวงพ่อพระครูประพันธ์ศีลคุณ วัดเขาสมอแครง และพระพุทธชินราช (พระบูชา) รุ่นต่างๆ ได้แก่ รุ่นวัดพุทธบูชา แขวงบางมด กทม. ปี 2512 รุ่นวัดนางพญา ปี 2514 รุ่นพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก พุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก ปี 2515 รุ่นวัดท่ามะปราง ปี 2516 รุ่น ภ.ป.ร. กองทัพภาคที่ 3 ปี 2517 รุ่น ม.ว.ก. วัดเบญจมบพิตร ปี 2519 รุ่นพระมาลาเบี่ยง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ปี 2520 รุ่น ภ.ป.ร. ปฏิสังขรณ์ (รุ่นแรก) ปี 2530 รุ่นพุทธศรัทธา ปี 2551

นอกจากนี้ ยังมีแผ่นทองลงเลขยันต์ที่จารและปลุกเสกโดยพระคณาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมกว่า 200 รูปทั่วประเทศ ที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานให้ใช้ในการหล่อพระบูชาพระพุทธชินราช รุ่นพุทธศรัทธา ปี 2551

ทั้งนี้ พระพุทธชินราช (จำลอง) ที่จะจัดสร้างขึ้น มีขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว ให้เช่าบูชาในราคา 14,900 บาท ขนาด 5.9 นิ้ว 7,900 บาท และเหรียญหล่อโบราณ ขนาดสูง 3 เซนติเมตร รูปหยดน้ำ ด้านหน้ารูปพระพุทธชินราช หลังพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งทักษิโณทก เนื้อนวโลหะ 999 บาท เนื้อทองสัมฤทธิ์ 599 บาท
(ขวา) เรียนรู้การหล่อพระ

 


"ช่วงนี้ยังไม่ได้เปิดสั่งจองอย่างเป็นทางการ แต่มีคนที่พอรู้ว่าพ่อจะทำก็มาสั่งจองกันกว่า 200 คนแล้ว" พรศิริเล่าให้ฟังถึงความคืบหน้าของโครงการจัดสร้างพระพุทธชินราช (จำลอง) รุ่นบูรณะพิพิธภัณฑ์

"สิ่งที่คนศรัทธาคือ ศรัทธาในความเป็นลุงจ่า ศรัทธาในความเป็นคนซื่อสัตย์ เป็นคนจริง เวลาที่คนสั่งหล่อพระ 2,000 องค์ พ่อจะทำ 2,000 องค์ ไม่มีการทำเกิน

"ในหนังสือสุดยอดพระที่เป็นพระพิษณุโลกเกือบทั้งหมดเป็นฝีมือช่างทวี บางองค์ยังไม่ออกจากโรงงานด้วยซ้ำ องค์ละ 20,000 บาท ซื้อขายใบจองกันองค์ละ 50,000-70,000 บาท"

พรศิริไขที่มาของความเป็นช่างในตัวลุงจ่าว่า มาจากปู่ คือ นายทิว หรือครูทิว

"ปู่เป็นครูสอนศิลปะ สอนความรู้หลายอย่างที่เป็นกับการหากินในทางศิลป์ แล้วยังเรียนกับพระไทยบ้าง พระพม่าบ้าง แล้วพ่อก็โตมากับงานศิลปะ จนรู้สึกว่างานศิลปะหากินได้ และประเทืองความรู้สึก ออกไปอยู่กับชาวบ้านไปเจอเครื่องมือดักสัตว์ เพราะรับจ้างวาดรูปด้วย ไปกับบริษัทที่ทำป้ายโฆษณา

"และโชคดีที่พ่อไปเป็นทหาร เป็นแค่นายสิบ แต่กองทัพส่งไปฝึกงาน เป็นการฝึกงานนอกรอบ ทำให้ได้ฝึกงานกับอาจารย์ศิลป์ พีระศรี อาจารย์เขียน ยิ่มศิริ อาจารย์สนั่น ศิรากร แล้วก็เอาความรู้นั้นมาพัฒนากับสิ่งที่มีโดยพื้นฐานครอบครัว ก็เริ่มปั้นนั่นปั้นนี่ คนก็มาศรัทธาและจ้างปั้น ก็กลายเป็นว่าพ่อมีงานหลักคือ การปั้นพระ"

ทางด้านจ่าทวี วันนี้ในวัย 77 ปี ย้อนเล่าถึงวันคืนเก่าๆ เมื่อครั้งที่เริ่มปั้นพระพุทธชินราชว่า ตอนนั้นเพิ่งแต่งงานได้ไม่นาน ยังเช่าบ้านอยู่ที่ริมแม่น้ำน่าน ข้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร วันเสาร์-อาทิตย์พอหยุดงาน จะทำหน้าที่เป็นคนเลี้ยงลูก ซึ่งส่วนมากจะพาลูกมาบนวิหารคด ดูพระต่างๆ และไหว้หลวงพ่อเป็นประจำ กระทั่งจำใบหน้าของพระพุทธชินราชได้ จึงเริ่มลงมือปั้น

"เพราะเรามีความรู้ทางนี้ เราต้องหาทางให้มีบ้านอยู่ ให้ลูกได้เรียนหนังสือกันทุกคน เพราะเราเรียนมาน้อย ไม่ได้ปรารถนาอะไรนอกจากให้ลูกได้เรียนหนังสือ ตอนนี้ลูกทั้ง 6 คน 3 คนจบปริญญาตรี อีก 3 คนจบปริญญาโท

"เวลาจะปั้นพระพุทธรูป ผมแค่ทำใจให้สบายแล้วลืมเรื่องอะไรๆ ให้หมด

ทำอะไรถ้าให้บริสุทธิ์ใจ ซื่อสัตย์สุจริต และตั้งใจให้ดี ทำอะไรให้ดีที่สุด ถ้าเรายังไม่พอใจ เราต้องทำให้พอใจจึงจะให้เขาไป พ่อผมบอกว่าทำอย่างนี้อดตายเหมือนปู่ คนจะให้เงินก็ไม่เอา ทำอยู่นั่น

"...พระรุ่นเก่าๆ ผมไม่ได้เก็บเลย มาเก็บตอนหลังๆ พระเก่าอย่างรุ่นพุทธศรัทธา ปี 15 ยังไม่ทันออกจากโรงงาน คนซื้อใบจองกันหมดแล้ว ขายไปเกือบ 2 แสนบาท"

ลุงจ่ายังเล่าถึงชีวิตช่วงหนึ่งที่มีโอกาสได้เรียนวิชากับอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ว่า

"กับอาจารย์ศิลป์ ผมไม่ได้ไปฝึกกับท่านหรอก เขาส่งผมไปฝึกการหล่อโลหะที่โรงหล่อ กรมศิลปากร อาจารย์ศิลป์บางทีท่านก็เข้าไปปั้นหุ่นในโรงหล่อ บางทีก็เป็นอาจารย์พิมาน มูลประมุข อาจารย์สนั่น ศิลากร อาจารย์ท่านก็มาชี้ให้ช่างทองหล่อทองเหลืองขัดตรงนั้นตรงนี้ ผมก็เดินตามไปเรื่อย ท่านยังบอกเลยว่าต้องการอะไรบอกนะ คือไม่ได้เรียนจริงหรอก เรียนนอกทำเนียบ อยากรู้อะไรก็ถาม

"เราอยู่ในนั้นแค่ 3 เดือน แต่เราเป็นคนสนใจ มองแวบเดียวก็รู้แล้ว เพราะเราเป็นช่างมันอยู่ในสายเลือด ถือเป็นโชคดีที่ได้มีโอกาสพบอาจารย์หลายคน ก็คอยถามคอยไถ่ แบบครูพักลักจำ"

สำหรับการจัดสร้างพระพุทธชินราช (จำลอง) รุ่นบูรณะพิพิธภัณฑ์นั้น ลุงจ่าบอกว่า มวลสารสำคัญที่จะใช้ในการหล่อหลอมรวมเข้าไปในองค์พระเป็น "ชนวน" ศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดจากการปลุกเสกของพระเกจิชื่อดังหลายสิบรุ่น เท่าที่ลุงจ่าได้หล่อพระมากับมือ

"ชนวน" ที่ว่าก็คือ โลหะที่ติดกับองค์พระ เป็นชนวนเชื่อมให้น้ำทองไหลเข้าไปในองค์พระ

"ถือเป็นชนวนศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่มีใครมี แต่ทั้งหมดนั้นได้นำมาหลอมรวมในองค์พระพุทธชินราช รุ่นบูรณะพิพิธภัณฑ์ เรียกว่าเป็นรุ่นเดียวที่รวมชนวนจากพระทุกรุ่นที่ผมหล่อมา"

แล้วตบท้ายด้วยเสียงเตือนเบาๆ จากลุงจ่าเอง...

"ใครพลาดจะเสียใจ อดได้ของดี..."



...การเช่าบูชาพระพุทธชินราช (จำลอง) รุ่นบูรณะพิพิธภัณฑ์ สามารถชำระโดย เงินสด (รับชำระที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี ที่เดียวเท่านั้น) หรือชำระโดยเช็คธนาคาร สั่งจ่าย มูลนิธิจ่าสิบเอก ทวี บูรณเขตต์ บัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาพิษณุโลก บัญชีสะสมทรัพย์ เลขที่ 263-512-003-9 ธนาคารกรุงไทย สาขาพิษณุโลก บัญชีสะสมทรัพย์ เลขที่ 601-0-50057-5

เมื่อโอนเงินเข้าบัญชีแล้ว กรุณาส่งโทรสารไปที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี หมายเลข 055-212749 (อังคาร-อาทิตย์ 08.30-16.30 น.)...
บันทึกการเข้า

หลวงปู่กวยพูดกับศิษย์ "จะให้กูทิ้งพวกมึงไปได้ยังงัย"
1_MAN_U
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,226



« ตอบ #1 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2009, 01:47:55 PM »

 จุมพิต


* index6.jpg (73.95 KB, 600x858 - ดู 5338 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

หลวงปู่กวยพูดกับศิษย์ "จะให้กูทิ้งพวกมึงไปได้ยังงัย"
1_MAN_U
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,226



« ตอบ #2 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2009, 01:49:28 PM »

 จุมพิต


* index1.jpg (99.42 KB, 600x801 - ดู 5320 ครั้ง.)

* index2.jpg (47.64 KB, 500x670 - ดู 5347 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

หลวงปู่กวยพูดกับศิษย์ "จะให้กูทิ้งพวกมึงไปได้ยังงัย"
1_MAN_U
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,226



« ตอบ #3 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2009, 01:50:48 PM »

 จุมพิต


* index4.jpg (77.6 KB, 896x600 - ดู 5278 ครั้ง.)

* index7.jpg (57.35 KB, 600x896 - ดู 5272 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

หลวงปู่กวยพูดกับศิษย์ "จะให้กูทิ้งพวกมึงไปได้ยังงัย"
1_MAN_U
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,226



« ตอบ #4 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2009, 01:51:46 PM »

 จุมพิต


* index8.jpg (88.03 KB, 600x900 - ดู 6428 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

หลวงปู่กวยพูดกับศิษย์ "จะให้กูทิ้งพวกมึงไปได้ยังงัย"
1_MAN_U
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,226



« ตอบ #5 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2009, 01:52:18 PM »

 จุมพิต


* index9.jpg (93.31 KB, 800x533 - ดู 5293 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

หลวงปู่กวยพูดกับศิษย์ "จะให้กูทิ้งพวกมึงไปได้ยังงัย"
1_MAN_U
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,226



« ตอบ #6 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2009, 01:53:36 PM »

 จุมพิต


* index10.jpg (51.31 KB, 600x402 - ดู 5240 ครั้ง.)

* index17.jpg (20.61 KB, 600x402 - ดู 5238 ครั้ง.)

* index18.jpg (30.59 KB, 600x896 - ดู 5215 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

หลวงปู่กวยพูดกับศิษย์ "จะให้กูทิ้งพวกมึงไปได้ยังงัย"
1_MAN_U
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,226



« ตอบ #7 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2009, 01:55:20 PM »

มวลสารในการหล่อ ครัง้นี่ เป็นมวลสาร เก่าๆๆๆ มากๆๆๆๆ ครับ


* index11.jpg (21.71 KB, 500x334 - ดู 5195 ครั้ง.)

* index12.jpg (92.08 KB, 900x602 - ดู 5327 ครั้ง.)

* index13.jpg (27.24 KB, 800x876 - ดู 5269 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

หลวงปู่กวยพูดกับศิษย์ "จะให้กูทิ้งพวกมึงไปได้ยังงัย"
1_MAN_U
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,226



« ตอบ #8 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2009, 01:57:23 PM »

มวลสารในการหล่อ ครัง้นี่ เป็นมวลสาร เก่าๆๆๆ มากๆๆๆๆ ครับ

นอกจากที่ลงให้ชมนี้ ยังมีมวลสารเก่า อีกหลายอย่าง ครับ


* index14.jpg (51.5 KB, 800x536 - ดู 5193 ครั้ง.)

* index15.jpg (22.57 KB, 800x536 - ดู 5133 ครั้ง.)

* index16.jpg (31.38 KB, 800x536 - ดู 5138 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

หลวงปู่กวยพูดกับศิษย์ "จะให้กูทิ้งพวกมึงไปได้ยังงัย"
1_MAN_U
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,226



« ตอบ #9 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2009, 01:58:18 PM »

แบบฟอร์ม การจองพระพุทธชินราช  ครับ


* index5.jpg (68.17 KB, 491x722 - ดู 5190 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

หลวงปู่กวยพูดกับศิษย์ "จะให้กูทิ้งพวกมึงไปได้ยังงัย"
1_MAN_U
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,226



« ตอบ #10 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2009, 10:27:26 AM »

 จุมพิต

องค์พระที่ เทขี้ผึ้ง แล้วนำมาแต่ง รายละเอียด  ให้เรียบร้อย


* index19.jpg (27.77 KB, 400x597 - ดู 5081 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

หลวงปู่กวยพูดกับศิษย์ "จะให้กูทิ้งพวกมึงไปได้ยังงัย"
1_MAN_U
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,226



« ตอบ #11 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2009, 02:28:38 PM »

 จุมพิต


* index20.jpg (34.67 KB, 600x896 - ดู 5158 ครั้ง.)

* index21.jpg (40.53 KB, 600x672 - ดู 5052 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

หลวงปู่กวยพูดกับศิษย์ "จะให้กูทิ้งพวกมึงไปได้ยังงัย"
1_MAN_U
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,226



« ตอบ #12 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2009, 02:29:24 PM »

ตัวอย่างเหรียญหยดน้ำ หล่อโบราณ
ทิ้งไว้อีกสักหน่อยจะกลับดำ


* index22.jpg (39.44 KB, 896x600 - ดู 5037 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

หลวงปู่กวยพูดกับศิษย์ "จะให้กูทิ้งพวกมึงไปได้ยังงัย"
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.10 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!